Site icon Motherhood.co.th Blog

แบบไหนคือความเสี่ยงต่อ “ครรภ์เป็นพิษ”

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

แม่ตั้งครรภ์ควรรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษหรือไม่

แบบไหนคือความเสี่ยงต่อ “ครรภ์เป็นพิษ”

ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจจะต้องเผชิญกับภาวะที่ชวนให้กังวลใจ โดยเฉพาะ “ครรภ์เป็นพิษ” ที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ทั่วโลก แต่เราจะสามารถเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร และหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ ทางออกมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ

อะไรคือภาวะครรภ์เป็นพิษ?

ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) คือ ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย เพราะทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวปะปนอยู่ในปัสสาวะ ไตทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอื่นๆ โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา อาจทำให้เกิดอาการชักขณะตั้งครรภ์หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆตามมาได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการของครรภ์เป็นพิษ

ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป ซึ่งมักไม่ค่อยพบอาการแสดงอย่างชัดเจน หรืออาจมีอาการเล็กน้อย โดยอาการที่พบได้บ่อยของภาวะครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้

สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ

มีการบันทึกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ อริสโตเติลผู้เป็นนักปราชญ์และแพทย์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุในร่างกายทำให้มีน้ำคั่ง และเชื่อว่าเกิดจากมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุที่ส่งผลร้ายต่อตับ กระเพาะ ม้าม และปอด แต่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากหลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัว จึงนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง และมีปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายน้อยลง รวมทั้งเลือดส่วนที่ไหลเวียนไปยังรกด้วย จึงทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

โดยสาเหตุหรือปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่

หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัว ทำให้ความดันสูงขึ้น

การรักษาครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษรักษาให้หายได้ด้วยการคลอดท่านั้น โดยอาการป่วยต่างๆจะค่อยๆหายไปเองหลังการคลอด แต่แพทย์จะต้องพิจารณาหลายปัจจัยก่อนทำคลอด เช่น ระยะเวลาของการตั้งครรภ์ สุขภาพของผู้ป่วย หรือความรุนแรงของอาการ หากผู้ป่วยมีอายุครรภ์น้อย แพทย์อาจยังไม่สามารถทำคลอดได้ในทันที ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและประคับประคองอาการไปก่อน จนกว่าจะถึงระยะเวลาที่พร้อมคลอดได้อย่างปลอดภัย แต่หากมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดหรือผ่าคลอด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์

หากแพทย์ตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจมีวิธีการรักษาประคองอาการจนกว่าผู้ป่วยจะคลอด ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้จากภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้แก่

1. ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า เพราะมันส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดที่เชื่อมไปยังรก ทำให้รกได้รับเลือด ออกซิเจน และสารอาหารน้อยลง จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หรือทำให้ทารกคลอดออกมามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

2. คลอดก่อนกำหนด อาจต้องคลอดก่อนกำหนดเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้

3. รกลอกตัวก่อนกำหนด คือภาวะที่รกหลุดหรือลอกออกจากโพรงมดลูกก่อนทารกจะคลอด ซึ่งมีความเสี่ยงให้ผู้เป็นแม่เกิดเลือดออกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และทารกในครรภ์

4. กลุ่มอาการ HELLP ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งแม่และทารก เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดแดงแตก ค่าตับอักเสบสูงขึ้น และมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นสัญญาณของความเสียหายในอวัยวะหลายระบบ

5. ชัก บางรายอาจมีอาการป่วยรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้อาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการชัก ซึ่งไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าจะเกิดภาวะนี้เมื่อใด เพราะมักไม่พบสัญญาณเตือนล่วงหน้า และเป็นอันตรายต่อแม่กับทารกในครรภ์ ถึงขั้นที่แพทย์ต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที

6. อวัยวะได้รับความเสียหาย อาจส่งผลให้อวัยวะในหลายระบบได้รับความเสียหาย เช่น ดวงตา ตับ ไต ปอด หรือหัวใจ บางกรณีอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือกระทบกระเทือนต่อสมอง

7. โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่า 1 ครั้ง

ทางที่ดีต้องหมั่นพบแพทย์ตามนัดตรวจครรภ์เสมอ

มีทางป้องกันหรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดป้องกันการเกิดครรภ์เป็นพิษได้ แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

วิตามินบี 3 อาจช่วยได้

นักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาพบว่าวิตามินบี 3 อาจช่วยรักษาแม่ตั้งครรภ์ที่ทุกข์ทรมานจากภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยมันสามารถป้องกันอาการสโตรค (Strokes) และยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ได้ด้วย ผลการวิจัยของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ใน Proceedings of National Academy of Sciences

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Tohoku พบว่า Nicotinamide หรือที่เรียกว่าวิตามินบี 3 มีส่วนช่วยลดภาวะครรภ์เป็นพิษในหนูทดลอง ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังค้นพบว่ามันยังสามารถช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษด้วย

ทีมวิจัยหวังว่าหากวิธีรักษานี้สามารถใช้ได้จริงในมนุษย์ มันก็จะช่วยรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษและป้องกันข้อจำกัดของการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่มารดามีภาวะครรภ์เป็นพิษได้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th