เราทุกคนล้วนต้องเคยเป็นเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีบางครั้งที่ พ่อแม่ ของเราอาจจะเผลอใช้คำพูดบางอย่างที่รุนแรงกับเราโดยไม่ได้ตั้งใจ คำพูดเป็นสิ่งที่ทรงพลังและแหลมคม คำพูดที่เผลอหลุดออกจากปากของพ่อแม่อาจจะติดอยู่ในความคิดของลูก และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเมื่อโตไปเป็นผู้ใหญ่ของเขา ทุกครอบครัวจึงควรที่จะต้องจำใส่ใจไว้เลยว่า คำคำเดียวนั้นอาจส่งผลต่อตัวของลูกในระยะยาว และกระทบกับวิธีที่เขาคิดและวิธีการใช้ชีวิตเมื่อเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่
“ก็บอกแล้ว…”
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะใช้ประโยคนี้เวลาที่บอกห้ามไม่ให้ลูกทำอะไรบางอย่าง แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะทำและก็ทำพลาดในท้ายที่สุด ลองนึกภาพเวลาที่หัวหน้าของเราใช้คำพูดแบบนี้กับเราดูซิคะคุณพ่อคุณแม่! ไม่ชอบ หงุดหงิด!? บอกเลยว่าลูกเองก็จะต้องรู้สึกแย่เช่นเดียวกับคุณ เพราะส่วนใหญ่คนที่พูดประโยคนี้มักจะแอบมีโทนเสียงที่แสดงว่าคนที่พูดต้องการที่จะแสดงความเหนือกว่ากับอีกฝ่าย ภาษากายและสีหน้าจะเป็นสิ่งที่แสดงทุกอย่างให้ลูกเห็น นั่นก็คือคุณกำลังประชดประชันหรือแสดงตัวว่าเหนือกว่าเขา
“อย่าร้อง”
การพูดแบบนี้ก็เหมือนกับเป็นการบอกให้ลูกของคุณให้เก็บอารมณ์ทุกอย่างไว้ในใจ คุณพ่อคุณแม่อยากจะให้ลูกเป็นคนที่ชินชาหรือเก็บกดหรือเปล่าคะ? แน่นอนว่าไม่ ดังนั้น ให้เขาได้อธิบายออกมาว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร และปลดปล่อยอารมณ์ที่เก็บไว้ จากนั้นคุณถึงค่อยถามเขาว่าเขาดีขึ้นหรือยัง – อย่าให้ลูกคิดว่าการร้องไห้เป็นข้อห้ามหรือเรื่องร้ายแรงเด็ดขาด
“หมดความอดทนแล้ว”
การเผลอพูดคำนี้เวลาที่คุณทะเลาะกับลูกอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะมันเหมือนกับการบอกลูกว่าคุณเลิกที่จะรักเขาแล้ว และต้องการที่จะตัดความสัมพันธ์กับเขา
“ลูกยังเด็กเกินไปที่จะรู้”
เด็กๆมักจะมีความสงสัยอยู่ในหัว ถ้าคุณเผลอพูดประโยคนี้เวลาที่ลูกถาม นั่นอาจทำให้ลูกรู้สึกว่าเขายังไม่โตและยังไม่สมควรที่จะรู้เรื่องนั้นๆ นั่นอาจทำให้ลูกพยายามทำตัวโตกว่าวัย เพื่อพยายามให้คุณยอมรับในตัวเขา แน่นอนว่าอาจมีบางคำถามที่อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับวัยของลูก พยายามใช้วิธีเบี่ยงออกจากประเด็นแทนโดยการอธิบายเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอื่นจะดีกว่า
“ลูกโอเคนะ”
สมมติว่าลูกหกล้ม คุณจะทำอย่างไร? บอกให้เขาหยุดร้องไห้แล้วถามว่า ลูกโอเคไหม อย่างนั้นหรือ? แน่นอนว่าลุกต้องไม่โอเคอยู่แล้ว แทนที่จะพูดอย่างนั้น พยายามปลอบลูก ถึงแม้นั่นจะเป็นแค่แผลเล็กๆก็ตาม
“อย่าคุยกับคนแปลกหน้า”
แน่นอนว่าเวลาที่โตขึ้น ลูกจะต้องเจอกับคนแปลกหน้ามากมายในสังคม และต้องทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ แทนที่จะพูดประโยคนี้ พยายามอธิบายสถานการณ์ที่ทั้งดีและร้ายให้ลูกได้เข้าใจ ว่าเวลาที่มีคนที่ไม่รู้จักหรือคนแปลกหน้ามอบสิ่งของหรือพูดคุยด้วย เขาควรจะต้องทำอย่างไร แทนที่จะบอกห้ามแบบเหมารวม
อย่างที่เราได้บอกไปว่าคำพูดนั้นเป็นสิ่งที่ทรงพลังและแหลมคม ดังนั้น การเลือกคำพูดที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ด้านล่าง เรามีลิสท์ประโยคที่จะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกกดดันหรือเพิ่มความเครียดให้กับเขา
“ลูกจะยกโทษให้แม่ไหม?”
“ลูกทำแบบนั้นได้ยังไงนะ? ไหนทำให้พ่อดูหน่อยซิ?”
“คุยกับคนแปลกหน้าได้ แต่จำที่แม่บอกลูกได้นะ?”
“แม่เชื่อในตัวหนูเสมอ”
“พ่อรักหนูนะ”
***
ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th
หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood