คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน ?
อยากรู้ไหมคะว่า “คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน” ตั้งแต่แบบเผด็จการผู้เข้มงวด แบบเอาใจใส่แต่พอดี แบบอะลุ่มอล่วยตามใจ ไปจนถึงพ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย วันนี้ Motherhood จะมาแจกแจงให้คุณดูว่ารูปแบบการเลี้ยงดู การเป็นพ่อแม่ทั้ง 4 ประเภทนั้น คุณเป็นแบบไหนกันอยู่
ลองดูรอบ ๆ สนามเด็กเล่นแล้วคุณจะสังเกตเห็นรูปแบบการเลี้ยงดูที่หลากหลาย ในช่วงทศวรรษที่ 1960 Diana Baumrind นักจิตวิทยาพัฒนาการได้อธิบายถึงประเภทของการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน 3 ประเภท และข้อที่สี่ถูกเพิ่มเข้ามาทีหลังโดยนักวิจัย โดยอ้างอิงกับความต้องการของผู้ปกครองและการตอบสนองต่อเด็ก ติดตามบทความนี้ต่อ เพื่อเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูหลัก 4 ประการเหล่านี้ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทย่อยยอดนิยมอื่น ๆ
สไตล์การเลี้ยงดู 4 แบบของ Baumrind
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian parenting style)
รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเผด็จการมุ่งเน้นไปที่กฎระเบียบที่เข้มงวด การเชื่อฟัง และระเบียบวินัย พ่อแม่เหล่านี้มีความคาดหวังสูงและไม่ลังเลที่จะลงโทษเมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพวกเขา ผู้ปกครองที่มีความเผด็จการยังมีอำนาจในการตัดสินใจโดยแทบไม่ได้อธิบายเหตุผลที่ทำหรือแทบจะไม่อธิบายเลย เช่นเดียวกับจ่าทหาร ผู้ปกครองประเภทนี้ไม่ได้มีการเลี้ยงดูอย่างผ่อนปรนหรือเปิดโอกาสให้เด็กสื่อสารความต้องการที่แท้จริงได้
ผลกระทบต่อเด็ก: เมื่อได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่ชอบใช้อำนาจแล้ว เด็ก ๆ มักจะทำตัวดีเมื่ออยู่บ้าน ซ่อนความก้าวร้าวเอาไว้ พวกเขาอาจกบฏเมื่ออยู่กับเพื่อนร่วมชั้นหรือเพื่อนจากที่อื่น พวกเขาอาจต่อสู้กับความมั่นใจในตนเอง บางคนแก้ไขสถานการณ์ยากลำบากในชีวิตไม่ได้ ไม่สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร เพราะที่ผ่านมาพ่อแม่จัดการให้หมด ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง มีผลการเรียนที่ต่ำลง และแม้แต่มีการใช้สารเสพติด
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative parenting style)
Baumrind ถือว่านี่คือรูปแบบการเลี้ยงดูที่เป็น “มาตรฐานอย่างดี” กลุ่มนี้เป็นแม่และพ่อที่มีอำนาจให้ลูกอย่างมีขอบเขต แต่พวกเขายังให้อิสระกับลูกในการตัดสินใจ พวกเขามองว่าความผิดพลาดเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ และมีการลงโทษที่สมเหตุสมผล แต่พวกเขาก็มีความคาดหวังที่ชัดเจนสำหรับลูก ๆ พวกเขาเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น และยังปลูกฝังความสำคัญของความรับผิดชอบและระเบียบวินัยให้ลูกด้วย
ผลกระทบต่อเด็ก: โดยปกติแล้วลูก ๆ ของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ จะมีความมั่นใจ มีความสุข จิตใจดี มองโลกในแง่ดี และประสบความสำเร็จ พวกเขาได้รับความวางใจให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และมักจะตั้งความคาดหวังไว้สูงเพื่อความสำเร็จ เด็กเหล่านี้อาจทำผลงานได้ดีทั้งในด้านวิชาการและสังคม เพราะมีทักษะทางสังคมดี ปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ มีความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะรู้ว่าตนเองมีคุณค่า และมีโอกาสน้อยที่เด็กกลุ่มนี้จะใช้ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive parenting style)
บ่อยครั้งที่พ่อแม่ที่ชอบตามใจจะวางตัวเหมือนเพื่อนมากกว่าผู้มีอำนาจ พวกเขาตอบสนองความต้องการของบุตรหลานโดยไม่ต้องเน้นวินัยมากนัก ตัวอย่างเช่นพวกเขาอาจปล่อยให้ลูกดื่มน้ำอัดลมทุกมื้อหากนั่นคือสิ่งที่เด็กต้องการ พ่อแม่ที่ตามใจจะมีความผ่อนคลายและผ่อนปรน กฎของบ้านก็มีน้อยมาก พ่อแม่เหล่านี้เป็นประเภทที่ตรงกันข้ามกับพ่อแม่ที่เข้มงวด
ผลกระทบต่อเด็ก: เนื่องจากพวกเขาอยู่ในจุดสูงสุดของครอบครัว ลูก ๆ ของพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจจะคุ้นเคยกับการได้รับสิ่งที่ต้องการ เด็ก ๆ พวกนี้จะแสดงความอวดดี ดื้อรั้น ชอบเอาตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง และยังอาจมีแนวโน้มต่อต้านสังคมโดยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เด็กเหล่านี้อาจล้มเหลวในการใช้ความพยายามในการเรียน การทำงาน หรือการเข้าสังคม เพราะในท้ายที่สุดพวกเขาไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรแบบนั้นเมื่ออยู่ที่บ้าน
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (Uninvolved parenting style)
รูปแบบการเลี้ยงดูนี้ไม่ได้กำหนดโดย Diana Baumrind ในตอนแรก มันถูกเพิ่มเข้าไปในภายหลังโดยนักวิจัย Eleanor Maccoby และ John Martin โดยพื้นฐานแล้วพ่อแม่ที่ละเลยไม่สนใจลูก ทำให้ลูกต้องดูแลตัวเอง พวกเขาไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์หรือความคาดหวัง แต่ก็ไม่ได้ให้คำแนะนำแก่ลูกเมื่อจำเป็นเช่นกัน ในกรณีที่รุนแรง สวัสดิภาพของเด็กอาจได้รับผลกระทบจากการละเลยของผู้ปกครอง
ผลกระทบต่อเด็ก: หากไม่มีการชี้นำหรือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็ก ๆ ของแม่และพ่อที่ปล่อยปละละเลยมักจะแสดงความกลัวออกมา หลาย ๆ คนเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และมักต่อต้านสังคม พวกเขาอาจมีปัญหาที่โรงเรียนหรือทางกฎหมาย เมื่อโตขึ้นอาจกลายเป็นวัยรุ่นที่มักมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ติดยาเสพติด ยุ่งเกี่ยวกับอาชญากรรม พวกเขาอาจลังเลที่จะสร้างความผูกพันกับคนอื่น และโรคซึมเศร้าก็เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในเด็กกลุ่มนี้เช่นกัน แต่ก็ยังพอมีข้อดีคือ เด็กสามารถเอาตัวรอดได้ เรียนรู้ที่จะอยู่รอดด้วยตนเองไม่พึ่งคนอื่น
6 ประเภทย่อยของรูปแบบการเลี้ยงดู
แน่นอนว่ามีประเภทย่อยของสไตล์การเลี้ยงดูมากมาย แต่ทั้งหมดนี้ก็จัดอยู่ใน 4 ประเภทหลักข้างต้น นี่คือขนาดรูปแบบการเลี้ยงดูอื่น ๆ ที่คุณแม่และคุณพ่อต้องรู้
การเลี้ยงลูกแบบปล่อย (Free-range parenting)
พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบนี้มักปล่อยให้ลูกมีอิสระจากการดูแล หรือไม่ได้รับการดูแลในที่สาธารณะ พวกเขาเน้นการส่งเสริมให้ลูกมีอิสรภาพในการเรียนรู้ เด็กจำเป็นต้องอยู่เองตามลำพังโดยไม่มีพ่อแม่ ได้เรียนรู้จากการเสี่ยงภัยต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองและแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
การเลี้ยงลูกแบบปกป้องเกินเหตุ (Helicopter parenting)
หากคุณเป็นพ่อแม่ที่มีการปกป้องมากเกินไปและรู้สึกว่าจำเป็นต้องควบคุมชีวิตส่วนใหญ่ของลูก คุณน่าจะเหมาะสมกับการเป็นพ่อแม่ประเภทนี้ พ่อแม่กลุ่มนี้มักเข้ามาแทรกแซงชีวิตของเด็ก ๆ อยู่ตลอดเวลา และพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับความสำเร็จหรือความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขาต้องการปกป้องลูกจากความล้มเหลว แนวโน้มการประเมินความเสี่ยงของผู้ปกครองกลุ่มนี้มักเกิดจากความกลัวและความวิตกกังวล ซึ่งอาจขัดขวางความสามารถของเด็กในการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ความมั่นใจ และการพึ่งตัวเอง
การเลี้ยงลูกแบบป้องกันอุปสรรค (Snowplow parenting)
ผู้ปกครองที่ทำตัวเหมือนรถกวาดหิมะนี้เต็มใจที่จะทิ้งทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของบุตรหลานไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วพวกเขา “ไถ” อะไรก็ตามที่ขวางทางเด็กออกไป พวกเขามักมีเจตนาดีและไม่ต้องการให้ลูก ๆ ต้องเผชิญกับการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม นิสัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นรากฐานสำหรับความสุขในระยะยาวของเด็ก
การเลี้ยงดูแบบเฝ้าสังเกตการณ์ (Lighthouse parenting)
เป็นหนึ่งในรูปแบบการเลี้ยงดูที่มีความสมดุลที่สุด เราควรเป็นเหมือนประภาคารสำหรับลูก ๆ เป็นเหมือนแสงที่มีความเสถียรส่องไปยังชายฝั่ง เป็นแบบอย่างแก่ลูก เราควรมองลงไปที่โขดหินและตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่ชนกับพวกมัน เราควรมองลงไปในน้ำและเตรียมให้พวกเขาโต้คลื่น และเราควรไว้วางใจในความสามารถของพวกเขาที่จะเรียนรู้ที่จะรับมือกับทุกสิ่ง
การเลี้ยงดูแบบผูกพันสายใย (Attachment parenting)
การเลี้ยงดูแบบจริงจังกดดัน (Tiger parenting)
บ่อยครั้งที่แสดงลักษณะที่แข็งกร้าวออกมา พ่อแม่แบบ “เสือ” มีการเลี้ยงดูที่เข้มงวด จริงจัง และกดดัน ด้วยความคาดหวังว่าลูกจะเชื่อฟังและประสบความสำเร็จในที่สุด มีจุดเริ่มต้นในปี 2011 จาก Amy Chau อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเยล ผู้แต่งหนังสือ The Battle Hymn of the Tiger Mother โดยระบุว่าคนจีนมักจะมีแนวทางการเลี้ยงลูกด้วยความกดดัน และกวดขันลูกให้ลูกอยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด รวมทั้งไม่ค่อยมีการออกถึงความรักให้กับลูกเท่าไรนัก ในขณะที่พ่อแม่กลุ่มนี้สามารถเลี้ยงดูลูก ๆ ให้มีประสิทธิผล มีแรงบันดาลใจ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่เด็ก ๆ สามารถเกิดความวิตกกังวล หรือมีทักษะทางสังคมที่ไม่ดีได้
เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีเลี้ยงลูกแบบไหนเป็นวิธีที่ดีหรือถูกต้องที่สุด เพราะความสำคัญของการเลี้ยงลูกคือการเลี้ยงให้เด็กมีความสุขและเติบโตมาอย่างมีคุณภาพ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th