Site icon Motherhood.co.th Blog

ถุงน้ำในรังไข่ อาจสร้างโรคอันตรายให้ผู้หญิง

ภาวะถุงน้ำในรังไข่

หากถุงน้ำในรังไข่มีเพิ่มขึ้น อาจะเป็นสัญญาณของการมีบุตรยาก

ถุงน้ำในรังไข่ อาจสร้างโรคอันตรายให้ผู้หญิง

สำหรับผู้หญิงที่กำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก อาจจะกำลังสงสัยว่ามีความผิดปกติประเภทไหนเกิดขึ้นกับตัวเอง เรื่องของ “ถุงน้ำในรังไข่” อาจจะเป็นสาเหตุของปัญหาที่คุณมีก็ได้ค่ะ วันนี้ Motherhood จะพาผู้อ่านไปสำรวจว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นในรังไข่ และทำไมการมีถุงน้ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากถึงกลายมาเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ หรือ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล จึงเกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดกับรังไข่เพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ รังไข่จึงมีขนาดโตขึ้น และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก ผู้หญิงถึง 1 ใน 5 คนทั่วโลกมีอาการดังกล่าว และราว 3 ใน 4 ของผู้หญิงกลุ่มนี้ประสบปัญหามีบุตรยาก

เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดถุงน้ำเพิ่มขึ้นในรังไข่

อาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ผู้หญิงที่ป่วยเป็น PCOS มักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะมีอาการหลัก ๆ ดังนี้

สาเหตุของกลุ่มอาการ

ยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ใดที่สามารถสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด PCOS ได้ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิด PCOS

1. ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

แพทย์ยังไม่สามารถยืนยันถึงสาเหตุที่ส่งผลให้ฮอร์โมนอยู่ในภาวะไม่สมดุล แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่เอง ต่อมผลิตฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย หรือสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมฮอร์โมน รวมถึงภาวะดื้ออินซูลินที่ทำให้ฮอร์โมนมีปริมาณเปลี่ยนไป ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มักพบในผู้ป่วย PCOS คือ

2. ภาวะดื้ออินซูลิน

อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นภายในตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินยังทำหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่าเทสโทสเทอโรน ผู้หญิงที่มีภาวะดื้ออินซูลินหรือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองกับปริมาณอินซูลินตามปกติ ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากขึ้นตามไปด้วย โดยปริมาณอินซูลินและเทสโทสเทอโรนที่มากผิดปกติจะกระทบต่อการสร้างถุงน้ำในรังไข่ การตกไข่ ลักษณะทางกายภาพ และน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ดังนั้น ภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดภาวะ PCOS

3. พันธุกรรม

บุคคลที่มีคนใกล้ชิดทางสายเลือดเป็น PCOS จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น PCOS มากกว่าบุคคลอื่น ในปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาถึงยีนส์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของ PCOS แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปออกมาเป็นที่ชัดเจน

บางคนมีฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น อาจะมีขนดกหรือผมร่วง

การรักษาภาวะ PCOS

การรักษามักแตกต่างกันไปตามอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น โรคอ้วน ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือภาวะมีบุตรยาก ซึ่งวิธีหลัก ๆ ที่ใช้รักษา มีดังนี้

หากประสบปัญหามีบุตรยาก ต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การป้องกันภาวะ PCOS

ยังไม่มีวิธีที่แน่นอนในการป้องกัน PCOS เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย PCOS ควรปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังเป็นประจำ และงดสูบบุหรี่

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th