Site icon Motherhood.co.th Blog

ทอนซิลอักเสบ เด็ก ๆ ก็เป็นได้เหมือนกันนะ

ต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก

เมื่อลูกทอนซิลอักเสบ พ่อแม่ควรดูแลเขาอย่างไร

ทอนซิลอักเสบ เด็ก ๆ ก็เป็นได้เหมือนกันนะ

เพราะเด็ก ๆ เป็นวัยที่ตอบสนองต่อเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ไว อาการ “ทอนซิลอักเสบ” จึงเกิดขึ้นมาหลังจากที่ต่อมทอนซิลต้องรับบทหนักเพื่อต่อต้านเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายของเจ้าตัวน้อย แต่กลับเป็นอาการที่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ อาจจะมองข้ามไปว่าเด็กน้อยก็มีอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน วันนี้ Motherhood จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปรู้จักกับอาการทอนซิลอักเสบในเด็กให้ดีขึ้นค่ะ

ต่อมทอนซิลอักเสบคืออะไร?

ต่อมทอนซิลคือต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีอยู่ 2 ข้างในลำคอ คอยทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำคอหรือทางการหายใจ การที่มันอักเสบขึ้นมาเป็นเพราะเกิดการอักเสบและติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลเสียเอง

สาเหตุส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไรรัส

อาการในเด็กเกิดจากอะไร?

เกิดจากการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิล  เช่น Adenovirus, Influenza virus, Parainfluenza virus, Epstein-Barr virus นอกจากนี้สามารถเกิดจากการคิดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Group A beta hemolytic streptococcus, Mycoplasma pneumoniae และ Chlamydia pneumoniae ส่วนในเด็กภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว อาจจะเกิดจากเชื้อรา

ต่อมทอนซิลมีหน้าที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในร่างกายด้วยการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาต่อสู้กับเชื้อโรค และเนื่องจากเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรก ต่อมทอนซิลจึงเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อได้เช่นกัน

สาเหตุส่วนใหญ่ของทอนซิลอักเสที่พบในเด็กสุขภาพดีตามปกติ มากกว่า 50% มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยไวรัสทั้งหลายที่ก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมทอนซิลยังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นด้วย รวมไปถึงการได้รับเชื้อจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสต่อไปนี้ อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลได้เช่นกัน

ส่วนทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดจากเชื้อสเต็ปโตคอคคัสกลุ่มเอ (Group A Streptococcus) ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ นอกจากนี้แบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ก็พบว่าเป็นสาเหตุได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า

โรคต่อมทอนซิลมักพบได้บ่อยในช่วงเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนกลาง โดยทอนซิลอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียพบได้บ่อยในช่วงอายุ 5-15 ปี ขณะที่ทอนซิลอักเสบที่เกิดจากไวรัสจะพบในเด็กเล็กมากกว่า ส่วนวัยผู้ใหญ่มีโอกาสเกิดได้น้อย เพราะเด็กวัยเรียนมักมีการสัมผัสและอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อน จึงทำให้ต้องเผชิญกับเชื้อโรคมากมายและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่า

เด็กจะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนลำบาก

เด็กจะมีอาการอย่างไร?

เด็กที่มีอาการจะเริ่มจากการเจ็บคอ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และอาจมีอาการปวดหูเพราะหูอักเสบตามมาได้ หากไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย จะเห็นว่าต่อมทอนซิลมีลักษณะแดงและบวมโต โดยมักโตทั้งสองข้าง เด็กบางรายอาจมีจุดสีขาวอมเหลืองคล้ายเป็นหนองกระจายอยู่ทั่วไป หากแพทย์ตรวจคอเพิ่มเติมก็อาจพบอาการต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีอาการ?

หากอาการเกิดในเด็กเล็ก เขาอาจไม่สามารถอธิบายได้ว่ามีอาการอย่างไร ผู้ปกครองอาจสังเกตจากสัญญาณบ่งบอกต่อไปนี้

มีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่?

สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ตั้งแต่ภาวะที่ไม่รุนแรงมาก เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไปจนถึงภาวะที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ฝีรอบต่อมทอนซิล ฝีด้านหลังผนังคอ ซึ่งอาจมีอาการมากจนต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด นอกเหนือจากการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ หากเกิดอาการเพราะติดเชื้อแบคทีเรียสเต็ปโตคอคคัส (Streptococcus) แต่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วได้รับยาไม่ครบกำหนด อาจะทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคไข้รูมาติคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจได้

ทำการรักษาอย่างไร?

หากเกิดจากไวรัส มักจะรักษาให้หายได้ภายใน 7-10 วันโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อาการจะดีขึ้นได้ด้วยการดูแลรักษาตัวเอง รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้คอชุ่มชื้น โดยเลือกเครื่องดื่มที่ช่วยให้สบายคอ สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไปอาจอมยาอมเพื่อบรรเทาอาการระคายคอ และควรให้เด็กหลีกเลี่ยงสารที่ก่อความระคายเคืองที่คอ เช่น ควันบุหรี่ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดกลิ่นฉุนต่าง ๆ

ส่วนการรักษาการที่เกิดจากแบคทีเรียนั้นใช้เวลานานกว่า และอาจต้องใช้วิธีการรักษาทางแพทย์ ได้แก่ การรับประทานยาปฏิชีวนะ โดยมากมักให้ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือยาอิริโธรมัยซิน (Erythromycin) รับประทานเป็นเวลา 7-10 วัน ซึ่งการรับประทานยาปฏิชีวนะควรต้องรับประทานให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด

หากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนมาก แพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัด

อาการแบบไหนที่ต้องผ่าตัด?

การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออกเป็นวิธีรักษาทอนซิลอักเสบที่เป็นซ้ำหลายครั้ง อักเสบเรื้อรัง หรืออักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเท่านั้น โดยสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจใช้การผ่าตัดทอนซิลในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ยากจะรักษาตามมา เช่น

สามารถป้องกันโรคให้ลูกได้อย่างไร?

หลักการป้องกันสำหรับเด็กก็จะเหมือนกับการป้องกันโรคจากการติดเชื้อในทางเดือนหายใจทั่วไป เพราะเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบนั้นสามารถแพร่กระจายได้ง่าย การป้องกันการติดเชื้อและอักเสบที่ดีที่สุดจึงทำได้ด้วยการรักษาสุขอนามัย และเนื่องจากโรคนี้มักพบได้ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนลูกให้ป้องกันจากการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ดังนี้

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th