รับมือกับอาการ “ท้องผูกตอนท้อง” อย่างไรดี ?
แม่ท้องหลายคนอาจจะยังไม่ทราบมาก่อนว่า ผู้หญิงเกือบสามในสี่พบอาการ “ท้องผูกตอนท้อง” และความผิดปกติของลำไส้อื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ ความกังวลใจนี้อาจจะยังไม่หมดไปง่าย ๆ หากไม่ทราบหนทางที่จะบรรเทาอาการที่แน่ชัด และนี่คือวิธีจัดการกับมัน
หากคุณสังเกตว่าท้องของคุณขยับเขยื้อนในช่วงนี้ มันไม่ใช่ว่าทารกน้อยจะเริ่มเตะหรอกนะ แต่เป็นเพราะว่าฮอร์โมนช่วงตั้งครรภ์และมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จึงทำให้คุณรู้สึกว่าท้องป่อง อึดอัด และท้องผูกโดยทั่วไป ซึ่งอาการท้องผูกอาจนำไปสู่โรคริดสีดวงทวาร ที่เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยอีกประการหนึ่งของการตั้งครรภ์ นี่คือวิธีการจัดการและป้องกันอาการท้องผูกในขณะที่คุณตั้งครรภ์
สาเหตุของอาการท้องผูกตอนท้อง
การที่หญิงตั้งครรภ์มีอาการท้องผูกส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับสูงของฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนตัวนี้ทำให้กล้ามเนื้อในผนังลำไส้คลายตัว ยิ่งเมื่อครรภ์ของคุณแก่ขึ้น มดลูกของคุณก็จะขยายและกดลงบนลำไส้ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการขับถ่ายเป็นไปอย่างช้าลง
อีกสาเหตุหนึ่งอาจเป็นธาตุเหล็กในวิตามินก่อนคลอดหรืออาหารเสริมธาตุเหล็กที่คุณรับประทานเพื่อป้องกันโลหิตจาง หรือในท้ายที่สุด การเลิกคาเฟอีนซึ่งมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวตามปกติ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการท้องผูก
แล้วอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์มันเริ่มเมื่อไหร่กันแน่ คำตอบก็คือ มันสามารถปรากฏขึ้นประมาณเดือนที่สองหรือสาม และอาจคงอยู่จนกระทั่งทารกน้อยครบกำหนดคลอด
ความเชื่อมโยงระหว่างอาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร
การตั้งครรภ์มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการบมของเส้นเลือดดำบริเวณลำไส้ตรงของคุณอยู่แล้ว แต่ถ้าอุจจาระของคุณผ่านช่องทางไปอย่างยากลำบากและคุณกำลังพยายามที่จะให้มันออกมาให้จงได้ มันกลับจะยิ่งทำให้ริดสีดวงทวารแย่ลงไปอีก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงเพราะอาการนี้จะอยู่กับคุณไปอีกนานแสนนาน คุณสามารถป้องกันโรคริดสีดวงทวารจากการตั้งครรภ์ได้ด้วยการจัดการกับอาการท้องผูก โดยใช้เคล็ดลับด้านล่างนี้
การรักษาและป้องกันอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์
หากอาการท้องผูกเป็นปัญหาใหญ่ของคุณ มันก็มี 2-3 วิธีที่จะช่วยให้สิ่งที่ค้างอยู่ข้างในถูกปลดปล่อยออกมาได้ดียิ่งขึ้น นี่คือเคล็ดลับบางส่วนจากหนังสือคู่มือการตั้งครรภ์และการคลอดแบบเดือนต่อเดือน โดนสภาสูติแพทย์และนรีแพทย์แห่งอเมริกา
- ดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะน้ำเปล่า น้ำลูกพรุน หรือน้ำผลไม้อื่น ๆ
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผลไม้ ผัก ถั่ว ขนมปังโฮลเกรน และซีเรียล โดยตั้งเป้าหมายประมาณ 25 กรัม ในแต่ละวัน
- เดินหรือออกกำลังกายอย่างปลอดภัยทุกวัน การเดินรอบบ้านจะช่วยให้ภายในร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
- ลองแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ให้บ่อยขึ้น
- ปรึกษาแพทย์เพื่อหาตัวช่วย เช่น FiberCon ซึ่งจะช่วยเพิ่มไฟเบอร์และน้ำให้กับระบบย่อยอาหารของคุณ
ข่าวดีก็คือ ปัญหาของลำไส้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์มากเท่าไรนัก แต่ถ้าคุณใช้เวลาในห้องน้ำนานกว่าหรือน้อยกว่าปกติ อย่างน้อยคุณก็รู้ว่าคุณไม่ได้เผชิญกับปัญหานี้อยู่คนเดียว
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th