Site icon Motherhood.co.th Blog

“นั่งท่า W-sitting” ไม่อันตรายกับเด็กอย่างที่คิด

เด็กนั่งท่า w-sitting

การนั่ง W-sitting ไม่ดีต่อพัฒนาการของลูกจริงเหรอ ?

“นั่งท่า W-sitting” ไม่อันตรายกับเด็กอย่างที่คิด

เรื่องของความอันตรายจากการ “นั่งท่า W-sitting” ของเด็ก ๆ เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองในทุก ๆ ที่ หากคุณกำลังเป็นกังวลว่าการนั่งแบบนั้นของลูกจะส่งผลเสียอะไรกับเขาหรือเปล่า ไม่ว่าจะในเรื่องกระดูกหรือพัฒนาการทางการเคลื่อนไหว Motherhood อยากให้คุณได้อ่านบทความนี้ ก่อนที่จะคิดเปลี่ยนแปลงอะไรค่ะ

คุณคงเคยเห็นเด็กเล็ก ๆ นั่งท่า ‘W’ กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ เรื่องมีอยู่ว่าการนั่งในท่านี้ที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัย ตามรายงานการวิจัยบางฉบับ หากท่านี้กลายเป็นท่าที่เด็กนั่งตลอดเวลาหลังจากอายุ 2 ขวบ อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็ก ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้เด็ก ๆ เปลี่ยนท่าบ้างเวลานั่งบนพื้น

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าความคิดที่ว่าการนั่งในท่า ‘W’ อาจทำให้เกิดปัญหาการทรงตัว เกี่ยวกับกระดูก หรือกล้ามเนื้อได้ ไม่ว่ามันจะเป็นอันตรายจริงหรือไม่ ควรจะทำอย่างไรถ้าคุณพบว่าลูกของคุณนั่งในลักษณะนี้

เด็กมักนั่งท่านี้ได้สบายเพราะมีกระดูกต้นขาที่เอื้อ

ท่า ‘W’ คืออะไร ?

ท่านั่ง ‘W’ อาจทำให้คุณนึกถึงท่าโยคะ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย มันก็คือท่าที่ก้นของเด็กอยู่บนพื้นและขากับเข่าของพวกเขาอยู่ข้างหน้าและแผ่ออกไปด้านข้าง การนั่งแบบนี้พบได้ในเด็กวัยหัดเดิน แต่ทำไมเด็กถึงนั่งแบบนี้? สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นลักษณะทางกายวิภาค เป็นเรื่องปกติที่เด็กจะเกิดมาพร้อมกับกระดูกโคนขา (หรือกระดูกต้นขา) บิดไปทางด้านหน้า เป็นภาวะที่เรียกว่า Femoral anteversion

ความจริงก็คือพวกเราส่วนใหญ่มีภาวะ Femoral anteversion กันอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะ Femoral anteversion ที่มากเกินไปจึงทำให้เด็กนั่งในท่า ‘W’ นี้

ทำไมเด็กบางคนถึงนั่งท่า ‘W’ ?

มันเป็นท่าที่ดูไม่น่าจะสบาย แต่ทำไมเด็กถึงนั่งแบบนี้ นั่นเป็นเพราะเด็กบางคนมีกระดูกต้นขาบิดเข้าด้านในมากกว่าเด็กคนอื่น ดังนั้น พวกเขาจึงสามารถเอาเข่าเข้าและออกได้อย่างง่ายดาย ที่จริงแล้ว สำหรับเด็กบางคน การนั่งไขว่ห้างอยู่ข้างหน้าอาจรู้สึกไม่สบายตัวเพราะกระดูกต้นขาจะบิดตัวไปด้านหน้าน้อยกว่าท่าเข้าด้านใน

ทุกคนเกิดมาพร้อมกับกระดูกต้นขาที่บิดเบี้ยวอย่างมาก แต่เมื่ออายุประมาณ 8 ขวบ กระดูกต้นขาก็จะคลายตัวออก นี่คือสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็ก เช่น เด็กวัยหัดเดิน มักนั่งท่า ‘W’ และครูในชั้นก่อนวัยเรียนมักสังเกตเห็น เพราะเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนอนุบาลพวกเขามักจะนั่งบนเก้าอี้เสียมากกว่า วัยรุ่นบางคนและแม้แต่ผู้ใหญ่สามารถนั่งท่า ‘W’ ได้สบาย แม้แต่นักร้องดัง Britney Spears ยังถ่ายภาพโดยนั่งในลักษณะนี้บนปกอัลบั้มแรกของเธอตอนที่เธอยังเป็นวัยรุ่น

แม้จะเข้าวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่ บางคนก็ยังนั่งท่านี้ได้สบาย

ทำไมแพทย์เคยคิดว่าเด็ก ๆ ที่นั่งอยู่ในท่า ‘W’ นั้นอันตราย ?

แนวความคิดแบบเก่าในหมู่นักศัลยกรรมกระดูกในทศวรรษ 1960 และ 1970 บอกว่าการเดินแบบเท้าชี้เข้าหากัน หรือให้นิ้วเท้าชี้เข้าด้านในเมื่อคุณเดินเป็นปัญหาของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่ออ่อน และมันเป็นไปได้ที่จะฝึกให้เด็ก ๆ ไม่ทำอย่างนั้น การให้เด็กหลีกเลี่ยงท่าเช่นท่านั่ง ‘W’ หลักการของมันก็คือณจะหลีกเลี่ยงการยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาเท้าชี้เข้าหากัน

แต่จากการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดย Lynn Staheli ศัลยแพทย์กระดูกและข้อในเด็กพบว่า เท้าที่ชี้เข้าหากันเป็นเพียงรูปแบบปกติ (เหมือนกับการสูงหรือถนัดมือซ้าย) และบางสิ่งที่แก้ไขตัวเองได้โดยไม่ต้องรักษาใด ๆ

นอกจากนี้ หากคุณดูผู้คนเดิน คุณจะสังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่เดินในแนวตรงที่สมบูรณ์แบบ คนส่วนใหญ่จะชี้เข้าหรือออกเล็กน้อย และในเด็กจะมีความชัดเจนมากกว่า

ท่านั่งนี้ไม่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อข้อเข้าหรือเบ้าสะโพกของเด็ก

ผลกระทบที่แท้จริงของท่า ‘W’

กล่าวโดยย่อ ในขณะที่ความเชื่อซึ่งส่งต่อกันมานมนานว่าคุณต้องหลีกเลี่ยงการให้เด็กนั่งท่า ‘W’ อาจยังคงอยู่ ู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าท่านี้ไม่ได้สร้างปัญหาระยะยาวใด ๆ ดังนั้น เราจึงไม่ต้องกังวลกับมัน และพวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่าพวกเขาไม่รู้ถึงการศึกษาใด ๆ ที่มีความเชื่อมโยงท่านั่งนี้กับปัญหาข้อเข่าเสื่อม

นอกจากนี้ การวิจัยโดย International Hip Dysplasia Institute และอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าภาวะ Femoral anteversion ไม่ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนของสะโพกและไม่เป็นอันตรายต่อเบ้าสะโพก

หากเด็กมีภาวะ Femoral anteversion การนั่งท่า ‘W’ จะสบายกว่าและควรได้รับอนุญาต การแก้ไขที่เกิดขึ้นเองเกิดขึ้นกับการเติบโตมีอยู่ในเกือบทุกกรณี แม้ว่าการมีเท้าชี้เข้าหากันเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก แต่มักไม่ค่อยพบเห็นในผู้ใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรมการนั่งของพวกเขา

สิ่งที่คุณควรกังวล

มีปัญหาการเคลื่อนไหวบางอย่างที่ผู้ปกครองควรจับตามองในเด็กเล็ก ลองสังเกตดู เช่น ถ้าเด็กอายุ 15 เดือนยังไม่ได้เดิน จู่ ๆ ก็เปลี่ยนวิธีเดิน หรือยังใช้ปลายเท้าเหยียบเป็นหลักเมื่ออายุ 3 ขวบ หรือทำอะไรได้ด้วยร่างกายเพียงแค่ซีกเดียวแต่ทำไม่ได้ในร่างกายอีกซีก ให้รีบพูดคุยถึงปัญหากับกุมารแพทย์ของคุณหากคุณสังเกตเห็นว่าลูกมีปัญหาเหล่านี้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th