Site icon Motherhood.co.th Blog

น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกหนักน้อยไปน่าห่วงมั้ย ?

น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์

มาดูกันว่าทำไมทารกถึงมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และพ่อแม่จะทำอะไรได้บ้าง

น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกหนักน้อยไปน่าห่วงมั้ย ?

“น้ำหนักทารกแรกเกิด” เป็นสิ่งที่พ่อแม่ล้วนเป็นกังวล แม้แต่แพทย์เองก็ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ หลังจากที่ทารกคลอดออกมา เพราะน้ำหนักของทารกแรกเกิดนั้นเป็นข้อมูลที่ชี้วัดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความไวต่อการเจ็บป่วย ภาวะความพิการ แต่น้ำหนักเท่าไหร่ละถึงจะเรียกว่าเป็นน้ำหนักแรกคลอดที่ปกติ

น้ำหนักทารกแรกเกิดเป็นตัวชี้วัดทางสุขภาพหลายประการ

น้ำหนักทารกแรกเกิดแบบไหนที่ปกติ ?

ในการดูน้ำหนักแรกเกิดของทารกนั้น เราสามารถจำแนกได้ตามปัจจัยดังต่อไปนี้

1. จำแนกตามน้ำหนักแรกคลอด

2. จำแนกตามอายุครรภ์

3. ใช้การคำนวณตามน้ำหนักแรกเกิดและอายุในครรภ์

โดยนำน้ำหนักแรกเกิดและอายุในครรภ์มาเปรียบเทียบกัน สามารถกำหนดได้ ดังนี้

ต้องพิจารณาถึงกำหมดคลอดและอายุในครรภ์ของทารกประกอบด้วยว่าจะเกิดความเสี่ยงอะไรบ้าง

ความเสี่ยงของทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ

คงไม่ถูกต้องนักหากเราจะกล่าวว่าน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่มีผลโดยตรงกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวทารก เพราะนอกจากเราจะดูน้ำหนักทารกแรกเกิดแล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงกำหนดคลอดและอายุในครรภ์ประกอบอีกด้วย ดังนั้น ทารกที่เกิดครบกำหนดคลอดแต่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะไม่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยงต่ออาการต่าง ๆ อย่างที่เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยอาจจะมี อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย

  1. ความเสี่ยงในการเสียชีวิตในระยะปริกำเนิด คำว่าปริกำเนิด หมายถึง การเสียชีวิตของตัวอ่อนหรือทารกแรกเกิดในช่วงของการคลอด ก่อนการคลอด และหลังการคลอดที่มีระยะเวลาน้อยกว่า 28 วัน
  2. ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในขวบปีแรก
  3. ความไวต่อการเจ็บป่วยและติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ปัญหาทางด้านการหายใจที่เรียกว่า ภาวะกดการหายใจในทารกแรกคลอด (Respiratory Distress Syndrome – RDS)
  5. ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติและเป็นอันตราย
  6. ปัญหาในการดูดนม
  7. ปัญหาทุพโภชนาการ
  8. ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดข้น (Polycythemia) เป็นภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ทารกแรกเกิดหน้าแดง มือและเท้าแดง ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล เกิดรอยฟกช้ำ
  9. มีพัฒนาการช้า

สาเหตุที่ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย

  1. การคลอดก่อนกำหนด
  2. ครรภ์แฝด ส่งผลให้เกิดการแบ่งพื้นที่ในครรภ์ รวมทั้งแบ่งอาหาร
  3. มีโรคทางพันธุกรรม
  4. มีปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น รกเสื่อม รกลอกตัวก่อนกำหนด เลือดจึงไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ได้
  5. เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์
  6. แม่ท้องไม่พร้อมในขณะที่ยังอายุน้อย อาจส่งผลให้บำรุงครรภ์ไม่ได้ดีเท่าที่ควร
  7. แม่เกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เริม
  8. ตั้งครรภ์หลังจากที่คลอดลูกคนก่อนหน้าไม่ถึง 6 เดือน
  9. ควันบุหรี่มือสองจากคนรอบตัวแม่ระหว่างตั้งครรภ์
  10. ภาวะทุพโภชนาการของแม่

แต่สาเหตุเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยจากกรรมพันธุ์ ซึ่งจัดเป็นภาวะที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเกิดโรค

แม่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยง

ทำอะไรได้บ้าง หากทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ?

  1. ให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์นั้น มักจะมีความต้องการสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน แคลเซียม สูงกว่าทารกที่มีน้ำหนักปกติทั่วไป นมแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้กับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยได้เป็นอย่างดี
  2. หมั่นตรวจเช็คน้ำหนักและการเจริญเติบโตของลูกอยู่เสมอ
  3. พาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบทุกอย่างตามกำหนด
  4. ดูแลเรื่องการหายใจของลูก ให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่เสมอ โดยการดูดเสมะที่ค้างในปากและลำคอ หากลูกอาเจียนในระหว่างหรือหลังจากการให้นม จะต้องดูดเสมหะในปากก่อน แล้วจึงค่อยดูดที่จมูก เพื่อป้องกันการสำลักเข้าหลอดลม
  5. ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารยังไม่ดีพอ ดังนั้น ควรจับทารกเรอเพื่อไล่ลมทุกครั้งหลังจากให้นม เพื่อป้องกันการสำลัก

วิธีป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

  1. รับประทานอาหารให้มากเพียงพอและในปริมาณที่เหมาะสม
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด
  4. ไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th