Site icon Motherhood.co.th Blog

บล็อคหลัง มีแบบไหนบ้าง แม่จะผ่าคลอดต้องรู้

การบล็อคหลังตอนคลอด

การบล็อคหลังเพื่อผ่าคลอดมีความเสี่ยงจริงหรือไม่ ?

บล็อคหลัง มีแบบไหนบ้าง แม่จะผ่าคลอดต้องรู้

“บล็อคหลัง” เพื่อผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ อาจจะทำให้คุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์คลอดมาก่อนเกิดความกลัว และกังวลว่าอาจจะส่งผลข้างเคียงได้ ซึ่งการบล็อคหลังก็ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควรเช่นกัน Motherhood จึงนำเอาข้อมูลมาให้ทราบกันค่ะ

ทำไมต้องบล็อคหลัง ?

สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวจะคลอดด้วยการผ่า การบล็อคหลังเพื่อผ่าคลอดนั้นมีความจำเป็น ซึ่งการบล็อกหลัง (Painless labor) นั้นเป็นการฉีดยาชาด้วยเข็มสำหรับบล็อกหลังโดยแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลัง ทำให้เกิดการชาบริเวณช่วงล่างของร่างกาย เป็นการช่วยระงับความเจ็บปวดจากการเจ็บท้องคลอด แต่คุณแม่จะยังคงรู้สึกตัวระหว่างคลอดลูก สามารถพูดคุย โต้ตอบได้ และยาชานี้ไม่มีผลต่อลูก ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นทางสุขภาพไม่สามารถเบ่งคลอดเองตามธรรมชาติได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด ซึ่งการผ่าคลอดนั้น หนึ่งในขั้นตอนที่ต้องมีก็คือการบล็อคหลัง โดยจะทำการฉีดยาชาตรงบริเวณรอบนอกของเส้นประสาทไขสันหลังตรงช่วงบั้นเอว

บล็อคหลังกันตอนไหน ?

การบล็อกหลังจะต้องทำโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งการบล็อคหลังเพื่อระงับอาการเจ็บครรภ์ จะทำเมื่อเข้าสู่ช่วง Active phase ที่ปากมดลูกจะต้องเปิดอย่างน้อย 3-4 เซนติเมตรขึ้นไป และมดลูกบีบตัวด้วยความถี่สม่ำเสมอในทุก 3-4 นาที

การบล็อคหลังมีหลายวิธีด้วยกัน

การบล็อคหลังเพื่อคลอดธรรมชาติ

โดยทั่วไป การบล็อคหลังเพื่อคลอดธรรมชาตินั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ และมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป ดังนี้

1. วิธี Epidural

แพทย์จะทำการแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดที่นำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ โดยให้หลอดนำยาค้างอยู่ข้างใน จากนั้นจะค่อย ๆ ปล่อยยาชาเข้าไปควบคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้คลายความเจ็บปวดลง

ข้อดี

ข้อเสีย

2. วิธี Spinal block

แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังเข้าไปทันที ทำให้คุณแม่รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว

ข้อดี

ข้อเสีย

วิธี Spinal block จะทำให้ชาอย่างรวดเร็ว

3. แบบผสม

แพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ ซึ่งข้างในมีเข็มขนาดเล็กเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะแทงลึกตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลัง และส่งยาชาเข้าไปแบบ Spinal block เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉียบพลัน หากยาชาหมดฤทธิ์แล้วทารกยังไม่คลอดคุณหมอจะบล็อกหลังอีกครั้งโดยวิธี Epidural ซ้ำไปทางเข็มใหญ่ โดยจำเป็นต้องแทงเข็มซ้ำ

ข้อดี

ข้อเสีย

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอด

  1. การบล็อกหลังจะต้องมีการแทงเข็มขนาดเล็กเพื่อฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณกระดูกสันหลังระดับเดียวกับบั้นเอว จึงอาจทำให้คุณแม่เจ็บบริเวณสันหลัง หรือเกิดความรู้สึกเสียวร้าวลงไปที่ขา
  2. ผลของยาชาอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด ทำให้คุณแม่บางรายมีความดันโลหิตลดลง เลือดจึงไปเลี้ยงที่มดลูกและรกน้อยลง อาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนชั่วคราว ทารกอาจจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
  3. คุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดแล้ว อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนขึ้นได้
  4. ไม่สามารถขยับหรือลุกขึ้นเดินได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังจากผ่าคลอดแล้ว
  5. ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เพราะคุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดเสร็จ จะรู้สึกเพลียจนหลับไป
  6. ปัสสาวะไม่ออก เป็นผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก ซึ่งมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วย
  7. อาการปวดหลัง อาจพบได้ในช่วง 1-2 เดือนแรก หรือคุณแม่บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงนี้นานเป็นเดือน
แพทย์จะทำการประเมินก่อนว่าเหมาะกับวิธีบล็อคหลังหรือไม่

ในการคลอดนั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะประเมินว่าสภาวะของคุณแม่เหมาะสมที่จะบล็อคหลังหรือดมยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติ โรคประจำตัว และความเร่งด่วนในการผ่าตัดคลอด แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมบล็อคหลังกันมากกว่า เนื่องจากความเสี่ยงต่ำกว่าการดมยาสลบ และในสมัยนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้การบล็อคหลังสำหรับการผ่าคลอดนั้นมีความปลอดภัย และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th