Site icon Motherhood.co.th Blog

ปากแหว่งเพดานโหว่ อาการที่ไม่มีใครอยากให้ลูกเป็น

โรคปากแหว่งเพดานโหว่

อาการปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปกติที่ควรได้รับการผ่าตัดแก้ไข

ปากแหว่งเพดานโหว่ อาการที่ไม่มีใครอยากให้ลูกเป็น

ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่คนไหนก็ย่อมต้องอยากให้ลูกน้อยเกิดมามีอาการครบ 32 และสมบูรณ์แข็งแรง หากเกิดความผิดปกติขึ้นมา โดยเฉพาะอาการ “ปากแหว่งเพดานโหว่” ย่อมสร้างความเครียดให้กับคุณพ่อคุณแม่แน่นอน จะรักษาได้อย่างไร จะมีวิธีการป้องกันได้ไหม ต้องติดตามอ่านในบทความนะคะ

ทำความรู้จักอาการปากแหว่งเพดานโหว่

ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip, Cleft Palate) เป็นโรคที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด คือจะมีรอยแยกที่บริเวณริมฝีปาก ใต้จมูก เหงือกบน หรือเพดานปาก สามารถเกิดขึ้นแยกกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดร่วมกันทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่ได้ จัดเป็นโรคที่พบตั้งแต่เด็ก และถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่งโดยเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา และอาจตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือหลังคลอด โดยจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพ การรับประทานอาหาร การกลืน สุขภาพในช่องปาก และการได้ยิน

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถพบเด็กเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด

ลักษณะของโรค

ทารกสามารถเกิดมาพร้อมลักษณะของปากแหว่งหรือเพดานโหว่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างร่วมกันได้ โดยลักษณะของโรคสามารถพบได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

สาเหตุของโรค

สามารถเกิดได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ในช่วงเดือนที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการสร้างอวัยวะบางส่วน ได้แก่ ปากและเพดานปาก ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

เพดานโหว่ คือ การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปากและฐานจมูก

การวินิจฉัยโรค

ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาหรือเกิดขึ้นหลังการคลอด การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยกัน 2 วิธี คือการอัลตราซาวด์ และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด

วิธีการรักษา

การรักษามีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับประทานอาหาร การพูด การได้ยิน รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ สามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัด จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง รูปแบบของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีรายละเอียดดังนี้

การดูแลรักษาจำเป็นต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาร่วมดูแลเป็นทีม เช่น กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ทันตแพทย์ โดยจะมีการวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยและให้คำแนะนำการผ่าตัดผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ

ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายได้แล้ว โดยวิธีการผ่าตัดปิดช่องโหว่

ภาวะแทรกซ้อน

การป้องกันโรค

โรคนี้ป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา จึงไม่อาจป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในบุตรคนต่อไป โดยสามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้

หากเกิดปัญหานี้ขึ้นกับลูก คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งท้อใจ เพราะสมัยนี้แพทย์สามารถรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจนเด็กสามารถกลับมาใช้งานอวัยวะต่างๆได้เป็นปกติ สิ่งที่ต้องทำคือการปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th