Site icon Motherhood.co.th Blog

6 วิธีเลี้ยงลูกให้ “มองโลกในแง่ดี”

เลี้ยงลูกให้มองโลกในแง่ดี

การฝึกลูกให้เป็นคนมองโลกในแง่ดีนั้นเริ่มต้นที่พ่อแม่

6 วิธีเลี้ยงลูกให้ “มองโลกในแง่ดี”

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะ ว่าจะเลี้ยงลูกให้ “มองโลกในแง่ดี” ได้อย่างไร เราจะปลูกฝังความคิดในเชิงบวกให้เขาได้ด้วยวิธีการใดบ้าง เพราะท้ายที่สุดแล้ว เด็กที่มองเห็นว่าแก้วยังมีน้ำเหลือครึ่งใบย่อมจะรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ดีกว่าและมีความสุขมากขึ้น และนี่คือ 6 เคล็ดลับที่ที่จะช่วยคุณพัฒนามุมมองที่สุดใสต่อชีวิตและส่งต่อมันให้กับลูก ๆ ของพวกคุณ

มีเหตุผลหลายประการในการส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีให้กับเด็ก ๆ ของเรา รวมถึงผลกระทบทางบวกในระยะยาวที่มีต่อจิตใจและร่างกายของพวกเขา (คุณรู้หรือไม่ว่าคนมองโลกในแง่ดีมีแนวโน้มที่จะมีชีวิตอยู่เกิน 100 ปี) แต่คุณจะทำอย่างไรในการสร้างคนที่มองโลกในแง่ดี นำเคล็ดลับทั้ง 6 ข้อนี้ไปใช้ในการฝึกหัดลูกของคุณ เฝ้าดูคุณประโยชน์ที่คุณจะได้รับได้เลย เพราะมันจะขยายไปถึงส่วนที่เหลือภายในครอบครัวของคุณ

หยุดถ่ายทอดความขี้บ่นไปที่ลูกของคุณ

1. หยุดบ่นเสียที

เมลิสสา บอลด์ฟอล มักจะพบว่าตัวเธอเองแสดงความกังวลออกมาดัง ๆ ขณะที่เธอขับรถพาลูกชายของเธอวัย 2 และ 4 ขวบฝ่าสายฝนซีในเมืองแอตเทิลเพื่อไปยังศูนย์รับเลี้ยงเด็ก “เราไม่มีทางไปถึงที่นั่นหรอก” หรือเธออาจจะพูดว่า “เราไปสายกันตลอดเลย” การมุ่งเน้นไปที่ความคิดเชิงลบและความผิดหวังเป็นการมองในแง่ร้ายแบบที่คลาสสิกที่สุด ยิ่งคุณคร่ำครวญเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินหรือวันทำงานที่ยากลำบากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่ลูกของคุณจะได้เรียนรู้การทำสิ่งเดียวกัน ให้ลองพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เหมาะสมกว่าเดิม “ฉันจัดการโปรเจคใหม่แบบอยู่หมัด” ไม่ก็ “ฉันเจอคนนิสัยดี๊ดีตอนแวะไปที่ไปรษณีย์”

ในระหว่างมื้ออาหารค่ำ เจนน์ แมคเครียรี่ย์ คุณแม่ชาวฟิลาเดเฟียรับบทเป็น “กุหลาบและหนาม” กับลูกฝาแฝดวัย 9 ขวบของเธอ สมาชิกครอบครัวแต่ละคนเปิดเผยสิ่งที่ดีที่สุดและเลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นกับพวกเขาในวันนั้น แทนที่จะบ่นเกี่ยวกับขวากหนามที่ประสบมา เป้าหมายคือการมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวในมุมบวก ส่วนที่เครียรีย์รู้สึกว่าเป็นโบนัสก็คือ “พวกเราทุกคนรู้สึกว่ามีความหวังเสมอสำหรับวันพรุ่งนี้” เธอกล่าว

2. มีความคาดหวังสูง

แม้กระทั่งก่อนที่ลูกชายของเธอจะเริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล พริสซิลลา เบเกอร์ ก็เริ่มโพสต์รายการสิ่งที่ต้องทำและแปะไว้เหนือสวิตช์ไฟในห้องของลูก ๆ เพื่อเตือนให้พวกเขาเก็บเตียง แต่งตัว แปรงฟัน และจัดห้องให้เป็นระเบียบ “พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ลงมารับประทานอาหารเช้าจนกว่าพวกเขาจะเสร็จงานทั้งหมด” คุณแม่จากครอบครัวแบล็กส์เบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย กล่าว ในขณะที่เธอเริ่มต้นด้วยความคิดที่จะลดภาระงานของตัวเอง เบเกอร์ตระหนักอย่างรวดเร็วว่าเด็ก ๆ ของเธอก็ได้รับประโยชน์จากงานบ้าน “พวกเขาลงมาชั้นล่างอย่างตื่นเต้นและพูดว่า” ‘แม่ค้าบ พวกหนูจัดเตียงของหนูเรียบร้อยแล้ว แม่ไปเช็คสิ’ พวกเขารู้สึกภูมิใจมาก” เธอกล่าว

เด็ก ๆ จะไม่พัฒนาทัศนคติที่มองโลกในแง่ดี ทัศนคติว่าพวกเขา “ทำได้” เว้นแต่พวกเขาจะมีโอกาสพิสูจน์คุณค่าของตัวเอง “การมอบหมายให้เด็กทำงานให้สำเร็จทำให้พวกเขารู้สึกมีความสามารถ” ดร.ทาร์มา แชนสกี้ นักจิตวิทยาเด็กและผู้เขียน Freeing Your Child From Negative Thinking กล่าว งานบ้านจำเป็นจะต้องเหมาะสมกับอายุ เนื่องจากประเด็นคือเด็กจะต้องทำมันให้สำเร็จได้ เด็กอายุ 2 ขวบสามารถรถหยิบของเล่นของเธอได้ และเด็กวัย 3 ขวบสามารถใส่เสื้อผ้าที่สกปรกลงในตะกร้า และเด็กวัย 4 ขวบสามารถนำจานไปที่อ่างล้างจาน และเด็ก 5 ขวบก็สามารถจัดการกับถังขยะได้ ส่วนเด็กอายุ 6 ขวบก็สามารถจัดเรียงเสื้อผ้าที่ซักรีดแล้วได้

ให้รับผิดชอบงานบ้านที่เหมาะสมกับวัย

3. สนับสนุนการรับความเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล

เราทุกคนต่างพยายามดิ้นรนเพื่อปกป้องเด็ก ๆ จากการได้รับบาดเจ็บทางกายหรือทางความรู้สึก เป็นเรื่องน่าอายที่จะล้มหน้าบาร์โหนในสนามเด็กเล่นต่อหน้าเพื่อน ๆ หรือเข้าร่วมการแข่งขันฮ็อคกี้น้ำแข็งทั้งที่เล่นสเก็ตน้ำแข็งไม่เป็น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่คุณจะต้องการปกป้องลูกของคุณจากสถานการณ์ประเภทนี้ แต่การทำให้เขาท้อใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพราะเขาอาจจะไม่เก่งเท่ากับเด็กคนอื่น ๆ ก็สามารถทำลายความเชื่อมั่นในตัวของเขาได้ และกระตุ้นให้การมองโลกในแง่ร้ายซึมซาบเข้าไปในตัวเขาอย่างไม่รู้ตัว

ดร.มิเชลล์ ทอมป์สัน ผู้เขียน Homesick and Happy: How Time Away From Parents Can Help a Child Grow เน้นย้ำว่า พ่อแม่ต้องเริ่มปล่อยวางให้มากขึ้น ควรอนุญาตให้ลูกน้อยวัยอนุบาลของคุณเล่นคนเดียวในสนามหลังบ้านหรือออกไปทัศนศึกษาที่โรงเรียนโดยที่คุณไม่ต้องคอยเป็นพี่เลี้ยง เมื่อเวลาผ่านไป คุณควรสร้างความเสี่ยงที่ใหญ่กว่าเดิม เช่น การปีนหน้าผาหินจำลองหรือการไปออกค่ายพักแรม “คุณไม่ต้องการให้ลูกกลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ ๆ” ดร.ทอมป์สันกล่าว “คุณต้องการให้เขากลับบ้านแล้วพูดว่า ‘แม่ หนูลองทำแล้ว!’ ”

4. รอก่อนแสดงปฏิกิริยา

เมื่อดร. เรย์วิชได้ยินว่ามีเด็กป.สองคนหนึ่งเรียกลูกของเธอว่ายัยอ้วน สัญชาตญาณแรกของเธอคือโทรหาพ่อแม่ของเด็กคนนั้น แต่เธอยั้งตัวเองไว้ “ฉันต้องการสอนเชย์น่าให้ยืนหยัดเพื่อตัวเอง” เธอกล่าว ดังนั้นพวกเขาทั้งคู่จึงวางแผนสิ่งที่เชย์น่าสามารถพูดได้ในครั้งต่อไปที่เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ้มื่อทำเช่นนั้นเชย์น่าก็ส่งบทที่เธอเตรียมไว้: “หนึ่งนะ ฉันไม่อ้วน ข้อที่สอง นั่นไม่ใช่เรื่องดีที่จะพูดกับเพื่อน” ผู้หญิงคนนั้นจึงขอโทษและเชย์น่ากลับบ้านมาด้วยความรู้สึกมีพลัง การควบคุมสัญชาตญาณของ “แม่หมี” เอาไว้ ทำให้คุณควบคุมตัวเองได้อย่างมหาศาล เมื่อลูกของคุณพยายามที่จะเปล่งเสียงคำใหม่หรือใช้เวลานานในการต่อจิ๊กซอว์ชิ้นที่เหมาะสม มันเป็นเรื่องง่ายที่คุณจะเข้าไปแทรกแซงอย่างรวดเร็ว “แต่การให้ลูกของคุณพยายามแก้ไขสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากความช่วยเหลือของคุณ จะช่วยเพิ่มความรู้สึกประสบความสำเร็จและทำให้เธอมองโลกในแง่ดีมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่เธอสามารถทำได้ในอนาคต” ดร. เรย์วิชกล่าว

สอนให้เขาเห็นถึงศักยภาพที่ตัวเองมีเสมอ

5. ยอมรับการต่อสู้

เมื่อลูกสาววัยป.หนึ่ง แบลร์ ทำงานอย่างหนักหน่วงบนใบงาน เธอมักจะพูดอย่างโมโหว่า “เลขฉันห่วยแตกมาก” โชคไม่ดีที่ความพ่ายแพ้เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับเด็กที่จะรู้สึกบกพร่องอย่างถาวร “ฉันไม่ฉลาด” “ฉันเตะบอลไม่เก่ง” “ฉัดวาดรูปไม่เป็น”

เพื่อป้องกันข้อสรุปประเภทนั้น ให้ลองเปลี่ยนมุมมองของเด็กดู ดร.แอนดรูว์ ซัตเต้ นักจิตวิทยาซึ่งเป็นผู้สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ มีพลังผ่านความท้าทาย กล่าวไว้ เพื่อปรับปรุงความคิดให้เป็นบวกมากขึ้น คุณอาจบอกว่า “กีฬาที่เรียนรู้ใหม่ก็อาจจะยากในช่วงแรก” “แม่รู้ว่าลูกยังพอบอกไม่ว่าตอนไหน แต่ลูกทำมันได้แน่นอน” และทำให้เขารู้ว่าเขาไม่ใช่คนเดียว เด็ก ๆ คนอื่นในห้องก็รู้สึกคับข้องใจเหมือนลูกนั่นแหละ ช่วยเขาให้มีความหวังด้วยการพูดถึงทักษะอื่นที่เขาทำจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ: “จำได้ไหมว่าตอนที่ลูกอ่านหนังสือไม่ออก ลูกใช้ความพยายามมากแค่ไหน คราวนี้ลูกก็จะผ่านสิ่งนี้ไปได้เหมือนกัน”

6. อยู่กับโลกความจริง

ครอบครัวของเทรซี่ เรียนเนอร์ท ย้ายมาที่ฟลอริดา ลูกชายวัย 6 ขวบของเธอ แมทท์ ก็มีปัญหาในช่วงแรก “หนูไม่มีเพื่อนเลย” เขาโอดครวญกับแม่ของเขา เพื่อเป็นการให้กำลังใจ เธอถูกลวงให้บอกลูกว่า “ลูกมีเพื่อนมากมายในรัฐนิวเจอร์ซีย์และเมื่อเด็ก ๆ ที่นี่รู้ว่าลูกเป็นเด็กที่ยอดเยี่ยมมาก พวกเขาจะขอเป็นเพื่อนกับลูกเอง” แต่เธอก็กัดลิ้นเอาไว้ไม่พูดมันออกไป เด็ก ๆ สามารถมองเห็นในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าที่มีในตนเอง ดร. ชัตเต้กล่าว เป็นเรื่องน่าขันที่ว่าการให้ความมั่นใจกับลูกของคุณว่าทุกอย่างจะออกมาดีกลับจะมีผลตรงกันข้าม “การมองโลกในแง่ดีต้องมีการคิดบนพื้นฐานความเป็นจริงมากกว่าคิดไปในเชิงบวก” ดร. แชนสกี้กล่าว “วิธีนี้จะทำให้ลูกของคุณพร้อมสำหรับสิ่งที่เขาต้องเผชิญ”

การเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นนั้นสำคัญมากนะคะ พ่อแม่ไม่ควรที่จะถ่ายทอดพลังในทางลบให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นการปรักปรำตัวเองว่าไม่มีความสามารถพอ หรือการพร่ำบ่นถึงแต่ปัญหาที่แก้ไม่ตก หากอยากให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี พ่อแม่ก็ต้องช่วยหล่อหลอมความคิดเขาตั้งแต่ยังเด็กค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th