Site icon Motherhood.co.th Blog

รกเกาะต่ำ หนึ่งในภาวะเสี่ยงที่แม่ตั้งครรภ์ต้องระวัง

ภาวะรกเกาะต่ำ

ว่าที่คุณแม่หลายคนกังวลกับภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ หนึ่งในภาวะเสี่ยงที่แม่ตั้งครรภ์ต้องระวัง

หลังจากที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่บางคนอาจจะค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต และพบว่ามีแม่ท้องหลายคนมีอาการ “รกเกาะต่ำ” แต่ภาวะนี้เกิดจากอะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความเสี่ยงไหม และมีอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์มากน้อยแค่ไหน วันนี้ Motherhood จะพาให้คุณพ่อคุณแม่ไปรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

รู้จักกับภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ (Placenta Previa) คือ ภาวะที่รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่าง ใกล้กับปากมดลูก หรือปิดขวางปากมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้วในผู้หญิงตั้งครรภ์ทั่วไปรกควรจะเกาะอยู่ที่ผนังส่วนบนค่อนไปทางด้านหลังของโพรงมดลูก ทำให้ไม่มีสิ่งกีดขวางทางคลอดของทารก แต่ถ้ารกเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกหรือคลุมมาถึงด้านในของปากมดลูก จะเรียกว่า “ภาวะรกเกาะต่ำ” ซึ่งถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติ เพราะเลือดจะมาเลี้ยงบริเวณนี้น้อย จึงทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เมื่อกล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวในเวลาคลอดจะทำให้มีการหดและยืดขยายของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างด้วย จึงทำให้เกิดการลอกตัวของรกจากผนังมดลูก ส่งผลให้หลอดเลือดในบริเวณที่รกลอกตัวนั้นฉีกขาดและมีเลือดออกได้ในตำแหน่งที่รกลอกตัว ประกับกล้ามเนื้อส่วนล่างของมดลูกเป็นส่วนที่หดรัดตัวได้ไม่ดี จึงทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น พอปากมดลูกจะเปิดขยายออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีดขาด มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด เกิดความเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ แพทย์จึงนิยมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำทำการผ่าคลอด (Caesarean Section)

รกที่ตามปกติควรจะอยู่ด้านบน กลับลงมาอยู่ด้านล่างแทน

อาการที่พบ

รกเกาะต่ำอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงระหว่างปลายไตรมาสที่ 2 ถึงต้นไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ประมาณร้อยละ 30 และจะลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ในช่วงประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนการคลอด โดยอาการที่พบคือมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทางช่องคลอดและมักไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วอาจกลับมาไหลอีกในช่วง 2-3 วันหรือในช่วงสัปดาห์ต่อมา บางรายอาจมีอาการปวด เจ็บแปลบ หรือมีการบีบตัวของมดลูกร่วมด้วย หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น หากพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

ลักษณะการเกิดภาวะรกเกาะต่ำแบ่งได้ 4 ประเภท คือ

อาการรกเกาะต่ำมีด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ

สาเหตุของภาวะรกเกาะต่ำ

เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ โดยปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก หากเกิดภาวะรกเกาะต่ำ รกจะปกคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ แต่เชื่อกันว่าอาจมาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์เพื่อวินิจฉัยอาการ

การวินิจฉัยอาการ

ภาวะรกเกาะต่ำส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวด์เมื่อถึงเวลานัดหมายของการฝากครรภ์ หรือหลังจากพบว่ามีเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นอาการของภาวะรกเกาะต่ำ โดยการอัลตราซาวด์ที่ใช้วิเคราะห์มี 2 วิธีหลัก ดังต่อไปนี้

วิธีการรักษา

การรักษาภาวะรกเกาะต่ำจะขึ้นอยู่กับเลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอด หรืออาจพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น สุขภาพของมารดาและทารก ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ตำแหน่งของทารกในครรภ์มารดา แพทย์จะรักษาโดยพิจารณาถึงลักษณะและปริมาณของเลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นหลัก โดยมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

ภาวะรกเกาะต่ำในหญิงตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ ส่วนมากมักจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา เพราะเมื่อมดลูกโตขึ้น จะดึงให้รกเคลื่อนตัวขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ คือด้านบนของมดลูกได้เอง

ในภาพเอ็กซเรย์นี้จะเห็นว่ารกอยู่ผิดที่ของมัน

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะรกเกาะต่ำจะส่งผลต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มาก คือ การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ รกที่ฉีกขาดหรือมีเลือดออกจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางกับทารก และต้องผ่าคลอด (Cesarean Section) แบบฉุกเฉิน หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น

การป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากตัวคุณแม่จะไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมการยึดเกาะของรกในมดลูกได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเราอาจควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ เช่น การรักษาสุขภาพ งดการสูบบุหรี่ เป็นต้น

อย่างไรแล้วคุณแม่ต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดีไว้ก่อนเป็นหลักเลยนะคะ เพราะว่าการป้องกันนั้นเรายังควบคุมเองไม่ได้มาก การมีสุขภาพที่ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญในการลดปัญหาความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th