ลูกถูกเพื่อนแกล้ง พ่อแม่จะรับมืออย่างไร
เด็กเกเรที่ชอบกลั่นแกล้งรังแกเด็กคนอื่นไม่ได้มีอยู่ในเด็กโตเท่านั้น ปัญหานี้เกิดขึ้นกับเด็กที่อายุน้อยลงทุกวัน พ่อแม่จะรับมืออย่างไรกับปัญหา “ลูกถูกเพื่อนแกล้ง” วันนี้ Motherhood จะมาบอกวิธีสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกของคุณ รวมทั้งวิธีป้องกันไม่ให้ลูกของคุณไม่ว่าจะวัยไหนถูก bully ที่โรงเรียน
การกลั่นแกล้งรังแกกันสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ เช่น การผลัก การชกต่อย หรือการตี ทางคำพูด เช่น ตั้งฉายาล้อเลียน หรือพูดจาข่มขู่ หรือทางจิตวิทยาและอารมณ์ เช่น การปล่อยข่าวลือ หรือ การโดดเดี่ยวออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม
และด้วยการใช้โซเชียลมีเดียที่แพร่หลาย พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมระหว่างเด็กอาจเกิดขึ้นนอกเวลาเรียนผ่านอีเมล การส่งข้อความ และโพสต์ในเฟสบุ๊ค การกระทำเหล่านี้เรียกว่าการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต เป็นการกระทำที่ก้าวร้าวและอาจเป็นอันตราย โดยเฉพาะและผลกระทบที่เป็นอันตรายของมันมักจะถูกนำกลับไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้น
ขั้นตอนแรกในการจัดการกับการกลั่นแกล้งรังแกคือการรู้ว่าลูกของคุณกำลังตกเป็นเหยื่อ
“อาการของการถูกรังแกโดยทั่วไปรวมถึงการฟ้องผ่านร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ความกังวลและความกลัว รวมถึงการเด็กที่ไม่อยากไปโรงเรียน” ดร. สตีเว่น พาสเตียร์นัค หัวหน้าแผนกจิตวิทยาของโรงพยาบาลเด็กเฮเลน เดอวอสส์ ในเมืองแกรนด์แรพิดส์ รัฐมิชิแกน กล่าว “การป้องกันตามปกติคือการหลีกเลี่ยงหรือถอนตัวจากสิ่งที่ทำให้เด็กเครียด”
อาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากการกลั่นแกล้งรังแก “คุณยังต้องค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้น” ลอเรน ไฮแมน แคปแลน ที่ปรึกษาโรงเรียนและผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมและการป้องกันการกลั่นแกล้วรังแกกล่าว
ถามคำถามและให้ลูกของคุณพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคมของพวกเขา รู้ว่าเพื่อนคนไหนที่พวกเขาเข้ากันได้ เพื่อนคนไหนที่ไม่ถูกกัน “การสร้างการสื่อสารที่ดีควรเริ่มต้นให้ดีก่อนที่เด็กจะมีปัญหาในการถูกกลั่นแกล้ง” ดร.พาสเตียร์นัค กล่าว “พูดคุยให้มันเป็นเรื่องทั่วไปสำหรับเด็กที่อายุน้อย แต่ถ้าคุณสงสัยว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือถ้าลูกของคุณพูดถึงปัญหาออกมา ให้คุณซักรายละเอียดเพิ่มเติม”
เมื่อเด็กโตขึ้น พวกเขาจะมีความตระหนักอย่างมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน คุณจึงสามารถยิงคำถามของคุณได้โดยตรง เมื่อลูกของคุณพูดคุย ให้คุณฟังสิ่งที่พวกเขาแบ่งปัน และตรวจสอบอารมณ์ของตัวคุณเอง
“บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองจะโกรธหรือหงุดหงิด แต่เด็ก ๆ ไม่ต้องการให้คุณตอบสนองมากเกินไป พวกเขาต้องการให้คุณรับฟัง สร้างความมั่นใจและสนับสนุนพวกเขา พวกเขาต้องการที่จะเห็นว่าคุณมั่นคงและแข็งแกร่ง และสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ในทุกสถานการณ์” แคปแลนกล่าว
เมื่อคุณระบุได้ว่าว่าลูกของคุณกำลังถูกเพื่อนรังแก ต่อไปนี้เป็นวิธีที่ฉลาดที่สุดในการจัดการกับรังแกตามที่ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ
หยุดการกลั่นแกล้งรังแกก่อนที่มันจะเริ่ม
ระดมสมองหาทางออกเพื่อหยุดการกลั่นแกล้งรังแกก่อนที่มันจะเกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้น พัฒนาและเตรียมเครื่องมือที่เป็นชุดความคิดสำหรับเด็ก ๆ เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เมื่อมันเป็นการยากสำหรับพวกเขาที่จะคิดแก้ไขเองได้อย่างตรงไปตรงมา
สร้างรายการของการโต้ตอบ
ฝึกวลีที่ลูกของคุณสามารถใช้เพื่อบอกคนอื่นให้หยุดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก คำพูดเหล่านี้ควรเรียบง่ายและตรงไปตรงมา แต่ไม่เป็นปฏิปักษ์: “ปล่อยฉันไว้คนเดียว” “ถอยไปนะ” “นั่นไม่ดีเลย”
เด็กยังสามารถลองพูดว่า “เออ ช่างเถอะ” แล้วเดินเลี่ยงออกไป “กุญแจสำคัญคือการไม่กลับยุ่งด้วยอีก เพราะยิ่งเป็นการยั่วยุให้รังแกหนักข้อขึ้น” มิเชล บอร์บา ที่ปรึกษาเว็บไซต์ Parents และผู้เขียนหนังสือ The Big Book of Parenting Solutions กล่าว
“จะเกิดอะไรขึ้นถ้า” แสดงบทบาทสมมติจากสถานการณ์
การสวมบทบาทเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความมั่นใจและช่วยให้ลูกของคุณจัดการกับความท้าทาย คุณสามารถสวมบทบาทเป็นผู้กลั่นแกล้ง ขณะที่ลูกของคุณฝึกฝนการตอบสนองที่แตกต่างกันจนกว่าเขาหรือเธอจะรู้สึกมั่นใจในการรับมือกับสถานการณ์ที่ลำบาก ในขณะที่คุณสวมบทบาท ให้สอนเขาให้พูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นมั่นคง เสียงโอดโอยหรือร้องไห้จะกระตุ้นให้ยิ่งถูกกระทำ
ส่งเสริมการใช้ภาษากายในเชิงบวก
เมื่ออายุ 3 ขวบลูกของคุณก็พร้อมที่จะเรียนรู้เทคนิคที่จะทำให้เขาหรือเธอเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูดน้อยลง “บอกให้ลูกของคุณฝึกดูสีตาของเพื่อนและทำสิ่งเดียวกันเมื่อพูดกับเด็กที่มารบกวน” บอร์บากล่าว สิ่งนี้จะบังคับให้เด็กเงยหน้าขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจที่มากขึ้น ฝึกทำหน้าเศร้าเศร้า หน้ากล้าหาญ หน้ามีความสุข และบอกให้เธอเปลี่ยนเป็นใบหน้า “กล้าหาญ” เมื่อเธอถูกรบกวน “วิธีที่คุณมองเมื่อคุณเผชิญหน้ากับคนที่มาแกล้งนั้นสำคัญกว่าสิ่งที่คุณพูดออกมา” ดร. บอร์บากล่าว
ใช้การสื่อสารแบบเปิด
ตรวจสอบกับลูก ๆ ทุกวันว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาที่โรงเรียนบ้าง ใช้น้ำเสียงที่สงบ เป็นมิตร และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้เขาไม่กลัวที่จะบอกคุณว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า เน้นย้ำกับเขาว่าความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของเขาเป็นสิ่งสำคัญ และเขาควรพูดคุยกับผู้ใหญ่ไม่ว่าเกิดปัญหาใด ๆ
สร้างความมั่นใจให้ลูก
ยิ่งลูกรู้สึกดีกับตัวเองมากเท่าไหร่ โอกาสที่การถูกกลั่นแกล้งรังแกจะกระทบกับความเคารพในตัวเองของเขาก็ยิ่งมีน้อยลง ส่งเสริมให้เขามีงานอดิเรก หรือเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าสังคมในรูปแบบอื่นที่จะทำให้เขาแสดงศักยภาพที่ดีในตัวออกมา บอกลูกคุณว่าคุณชื่นชอบในลักษณะเฉพาะตัวที่เป็นเอกลัษณ์ของเขา พร้อมทั้งกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมเชิงบวกมากขึ้น
“ในฐานะพ่อแม่ เรามีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่สถานการณ์เชิงลบ แต่เด็ก ๆ จะรับฟังได้ดีขึ้นเมื่อพฤติกรรมที่ดีของพวกเขาได้รับการสร้างเสริมให้แข็งแรง” ดร.พาสเตียร์นัค กล่าว การให้ความเคารพต่อจุดแข็งของเด็กและการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สามารถส่งผลกระทบต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง เพิ่มความมั่นใจในระยะยาวให้กับเด็ก ๆ และป้องกันการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกข่มขู่
ชื่นชมความก้าวหน้า
เมื่อลูกของคุณบอกคุณว่าเธอจัดการกับคนที่มาแกล้งได้ ให้บอกเธอว่าคุณภูมิใจในตัวเธอ หากคุณเห็นเด็กคนอื่นยืนขึ้นต่อหน้าคนที่มาแกล้งในสวนสาธารณะ ชี้ให้ลูกลูกของคุณดู เพื่อที่เธอจะได้คัดลอกวิธีการนั้น เหนือสิ่งอื่นใด ให้เน้นความคิดที่ว่าแม่ของคุณอาจบอกคุณเมื่อคุณยังเป็นเด็ก: ถ้าลูกของคุณแสดงให้เห็นว่าเธอไม่ใช่คนที่จะมาแกล้งได้ เด็กนิสัยพาลมักจะผละไป
สอนวิธีที่ถูกต้องในการตอบโต้
เด็ก ๆ ต้องเข้าใจว่าเด็กที่ชอบรังแกมีความต้องการอำนาจ การควบคุมผู้อื่น และความปรารถนาที่จะทำร้ายผู้คน พวกเขามักจะขาดการควบคุมตนเอง ความเมตตา และความอ่อนไหว เมื่อว่ากันเช่นนั้นแล้ว มันจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กที่จะใช้กลยุทธ์เหล่านี้เพื่ออจัดการกับเด็กพาล
- อย่าให้คนที่แกล้งทำให้เรารู้สึกแย่ เมื่อมีใครพูดไม่ดีเกี่ยวกับเรา ให้พูดกับตัวเองในทางบวกเสมอ ย้ำเตือนตัวเองถึงคุณสมบัติดี ๆ ที่เรามีในตัว
- บอกคนที่มารังแกว่าเรารู้สึกเช่นไร เพราะอะไรเราถึงรู้สึกแบบนั้น และเราต้องการให้เขาทำอะไร เรียนรู้ที่จะทำสิ่งนี้ด้วยน้ำเสียงที่สงบและมุ่งมั่น ตัวอย่างเช่น “ฉันรู้สึกโกรธเมื่อ เมื่อนายเรียกฉันแบบนั้น ฉันมีชื่อจริง และฉันต้องการให้นายเรียกฉันด้วยชื่อจริงของฉัน”
- อย่าให้น้ำตาเป็นของขวัญแก่คนรังแก คนที่มารังแกเราอยากทำร้ายความรู้สึกเรา ให้ทำเหมือนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ต้องมาเจ็บปวดอะไร ตัวอย่างเช่น เมื่อจอมรังแกเรียกว่า “เจ้าอ้วน” ให้จ้องไปที่ตาเขาและพูดอย่างใจเย็นว่า “นายรู้อะไรไหม ฉันว่าฉันต้องออกกำลังกายซะหน่อยแล้วละ” แล้วเดินจากไปด้วยความมั่นใจ
- ใช้อารมณ์ขันเข้าสู้ หัวเราะใส่คนที่มาแกล้งไปเลย และเดินจากมาอย่างง่าย ๆ
- ใช้วิจารณญาณและทำตามสัญชาตญาณ ถ้าคนที่มารังแกต้องการลอกการบ้าน และเราคิดว่าเขาจะใช้กำลัง ก็ยื่นการบ้านให้ไป และเดินออกมาอย่างมั่นใจ จากนั้นรีบไปบอกผู้ใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้น
- อย่าคาดหวังว่าจะถูกทำร้าย เมื่อเดินไปหาเด็กกลุ่มหนึ่ง ให้คิดว่าพวกเขาเป็นคนดีต่อเรา และพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเป็นมิตร สำคัญที่สุด ปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่เราต้องการได้รับการปฏิบัติ ยืนเคียงข้างนักเรียนคนอื่น ๆ ที่ถูกรังแก และขอให้พวกเขายืนเคียงข้างเรา
ดำเนินการเพื่อยุติการกลั่นแกล้ง
ในที่สุดมันก็ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองที่จะช่วยให้เด็กเล็กจัดการกับเด็กนิสัยพาล ช่วยให้เขาเรียนรู้วิธีการเลือกอย่างชาญฉลาดและดำเนินการ เมื่อเขารู้สึกเจ็บหรือเห็นเด็กคนอื่นถูกรังแก และพร้อมที่จะเข้าแทรกแซงหากจำเป็น
รายงานการกลั่นแร้งที่รุนแรงและซ้ำซาก
หากลูกของคุณไม่เต็มใจที่จะรายงานเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ให้ไปกับเขาเพื่อพูดคุยกับครู ครูใหญ่ หรือผู้บริหารโรงเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายของโรงเรียนที่มีเกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง เอกสารตัวอย่างของการกลั่นแกล้ง และเก็บบันทึกข้อมูล โดยการติดตามกับโรงเรียนเพื่อดูว่ามีการดำเนินการอะไรบ้าง เมื่อจำเป็น ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นนอกโรงเรียน เช่น นักบำบัดครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนที่สามารถจัดการและหยุดการกลั่นแกล้งได้
กระตุ้นให้ลูกของคุณเป็นคนที่กล้าหาญ
การเป็นผู้ที่ยืนขี้นอย่างกล้าหาญ (ไม่ใช่แค่ยืนข้าง ๆ อย่างเงียบ ๆ) หมายความว่าเด็กจะทำสิ่งที่เป็นบวกเมื่อเห็นเพื่อนหรือนักเรียนคนอื่นถูกรังแก ถามลูกว่ารู้สึกอย่างไรที่มีคนยืนเคียงข้าง และแบ่งปันว่าคน ๆ หนึ่งสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างไร “เมื่อเป็นเด็กที่พูดออกมา มันมีพลังมากกว่าสิบเท่าที่เราสามารถทำได้ในฐานะผู้ใหญ่” วอลเตอร์ โรเบิร์ตสฺ ศาสตราจารย์ด้านทึ่ปรึกษาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินเนโซตา แมนคาโต และผู้แต่ง Working With Parents of Bullies and Victims
ติดต่อผู้ปกครองของเด็กคู่กรณี
นี่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง เมื่อคุณรู้สึกว่าผู้ปกครองเหล่านี้จะรับฟังอย่างเปิดกว้างและร่วมมือกับคุณ โทรศัพท์หรือส่งอีเมลถึงพวกเขาในลักษณะที่ไม่คาดคั้น ทำให้ชัดเจนว่าเป้าหมายของคุณคือการแก้ไขปัญหานี้ด้วยกัน คุณอาจพูดว่า:
“ฉันโทรมาเพราะลูกสาวของฉันกลับมาบ้านแล้วรู้สึกหงุดหงิดทุกวันในช่วงสัปดาห์นี้ เธอบอกฉันว่าซูซี่เรียกล้อเธอและไม่ให้เธอเล่นในกลุ่มที่สนามเด็กเล่น ฉันไม่รู้ว่าซูซี่พูดถึงเรื่องนี้หรือเปล่า แต่ฉันต้องการให้เราช่วยให้พวกเขาดีขึ้น คุณมีข้อเสนอแนะอะไรไหมคะ”
ร่วมมือกับโรงเรียน
สื่อสารกับโรงเรียนของลูกคุณและรายงานเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก “คุณไม่สามารถคาดหวังให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น คุณต้องทำให้พวกเขาตระหนักถึงสถานการณ์” แคปแลนกล่าว แม้ว่าโรงเรียนจำนวนมากจะใช้โปรแกรมป้องกันการกลั่นแกล้ง แต่หลายโรงเรียนก็ยังไม่มีการสนับสนุนหรือทรัพยากรเพียงพอ “ผู้ปกครองและครูจะต้องมีความตระหนักและมีส่วนร่วม เพื่อให้พวกเขาสามารถตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม” ดร. พาสเตียร์นัคกล่าว ต้องเรียนรู้วิธีเริ่มโปรแกรมต่อต้านการรังแกและความรุนแรงภายในหลักสูตรของโรงเรียน
สอนทักษะการเผชิญปัญหา
หากลูกของคุณถูกรังแก ย้ำเตือนเขาว่าไม่ใช่ความผิดของลูก ลูไม่ได้อยู่คนเดียวและคุณอยู่ที่นั่นเพื่อช่วยเหลือ มันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กที่จะระบุความรู้สึกของพวกเขาเพื่อให้พวกเขาสามารถสื่อสารถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองควรพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง สิ่งที่ผู้ปกครองไม่ควรทำ ไม่ว่าเด็กจะมีอายุเท่าไหร่ คือการมองว่านี่เป็นเรื่องปกติของเพื่อนกันที่จะดีขึ้นได้เอง
“ไม่ควรยอมรับว่าเด็กถูกแกล้งหรือล้อเล่น” แคปแลนแนะนำ การช่วยให้ลูกของคุณจัดการกับเด็กพาล จะสร้างความมั่นใจและป้องกันไม่ให้สถานการณ์ยากลำบากนี้ทวีความรุนแรงขึ้น
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th