ว่าที่คุณพ่อ กับเรื่องที่ต้องรู้เพื่อเตรียมตัว
กำลังจะได้เป็นคุณพ่อแล้วสินะคะ ยินดีด้วยค่ะ และนี่คือเรื่องราวที่ “ว่าที่คุณพ่อ” ผู้ที่กำลังจะได้เป็นพ่อคนครั้งแรกควรต้องรู้เอาไว้เพื่อเตรียมตัวเองก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะออกมาลืมตาดูโลก มีทั้งทิปส์ดี ๆ ทั้งคำแนะนำที่ช่วยให้เรื่องง่ายขึ้น ไปติดตามอ่านกันเลยค่ะ
การเป็นพ่อไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ทุกคนจะทำได้ตั้งแต่แรก วันนี้ Motherhood ได้รวบรวมเอาคำถามยอดฮิต เป็นคำถามที่ว่าที่คุณพ่อสงสัยกัน ลองอ่านและนำไปใช้กับหนูน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก เพื่อให้การทำหน้าที่พ่อของคุณนั้นง่ายขึ้นมาอีกนิด
เตรียมตัวสำหรับการคลอดอย่างไร?
แม้ว่าภรรยาของคุณจะเป็นฝ่ายที่ต้องไปคลอดลูกเองจริง ๆ ก็ตาม แต่มันเป็นเรื่องที่ปกติมากหากว่าที่คุณพ่อจะรู้สึกเครียดและกังวลไปด้วย แพทย์หญิงเดบอร่าห์ คราล จากสถาบันแม่และเด็ก มีคำแนะนำมาให้ว่าที่คุณพ่อ คือให้เข้าร่วมคลาสเตรียมความพร้อมที่จัดโดยโรงพยาบาล หาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำคลอดมาอ่าน ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความเจ็บที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคลอด ยิ่งคุ้นเคยกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการคลอดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรีแลกซ์ได้มากขึ้นเท่านั้น
ลูกควรกินมากน้อยแค่ไหน?
ซันนี่ คาร์ไลเซิล ที่ปรึกษาด้านการคลอดบุตรและ Lamaze ที่ได้รับการรับรอง และดูลาที่ได้รับการรับรองจาก DONA International ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า “มันเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องทราบว่ากระเพาะของลูกน้อยนั้นเล็กนิดเดียว ดังนั้นปริมาณอาหารที่ต้องให้เขาจึงต้องน้อยตามไปด้วย และแตกต่างกันไปในวันแรก ๆ ที่เขาลืมตาดูโลก” ตัวอย่างเช่น หนึ่งวันหลังคลอด กระเพาะของทารกจะเล็กเท่ากับลูกแก้วและมีความจุแค่ 1 ช้อนชาเท่านั้นเอง จากนั้นภายใน 10 วัน กระเพาะของทารกก็จะค่อย ๆ ขยายขึ้นจนมีขนาดเท่ากับไข่ไก่เบอร์ใหญ่ที่มีความจุประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ “ทารกจะต้องมีสีหน้าท่าทางที่ดีหลังจากได้กินนม หากทารกมีอาการงอแง ให้พยายามทำให้เขาเรอออกมาเสียก่อน จากนั้นถึงจะให้นมเขาเพิ่ม” คาร์ไลเซิลกล่าว
จะจัดการกับขวดนมอย่างไร?
ถ้าคุณไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว การตระเตรียมขวดนมไว้ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาลนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมาก คุณสามารถใช้ที่อุ่นหรือนึ่งขวดนมแบบทั่วไปหรือจะใช้วิธีอื่นก็ได้ ถ้าคุณใช้วิธีอุ่นที่สามารถจับอุณหภูมิได้ในตัว ก็ให้อุ่นด้วยอุณหภูมิที่ 36.95 องศาเซลเซียสเป็นอย่างต่ำ ไม่เช่นนั้นก็ให้หาเทอร์โมมิเตอร์ที่เป็น food grade มาใช้ตรวจสอบอุณหภูมิที่อุปกรณ์นึ่งขวดนมของคุณ ฝึกซ้อมขั้นตอนเหล่านี้ให้ขึ้นใจ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องปลุกภรรยาตอนตีสี่เพื่อถามเธอว่าต้องใช้งานเจ้าเครื่องนึ่งขวดนมพวกนี้ยังไง
ผ้าอ้อมจะเละเทะได้ขนาดไหน?
ตามที่คาร์ไลเซิลได้แนะนำไว้ “เด็กทารกควรมีผ้าอ้อมเปียกอย่างน้อยหนึ่งผืนภายในวันแรกที่เขาคลอดออกมา และมันควรจะเพิ่มเป็น 5-6 ผืน ภายในปลายสัปดาห์แรกของเขา ส่วนเรื่องความสกปรกของผ้าอ้อมนั้นก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย ขึ้นกับว่าทารกนั้นกินนมแม่หรือนมผง” โดยปกติแล้วการมีผ้าอ้อมเปียกวันละผืนก็เป็นสิ่งที่ยืนพื้นอยู่แล้วสำหรับชีวิตของทารกน้อยในสัปดาห์แรก (ผ้าอ้อมสกปรกหนึ่งผืนในวันแรก ผ้าอ้อมสกปรกสองผืนในวันที่สอง) เรื่อยไปจนถึงวันที่ห้าหรือวันที่หก “หลังจากนี้เด็กทารกที่กินนมแม่อาจมีอุจจาระขนาดเล็กหนึ่งชิ้นต่อวัน”
ลักษณะของอุจจาระทารกก็จะแตกต่างออกไปเช่นกัน “อุจจาระของเด็กทารกที่กินนมแม่จะเปลี่ยนสี เมื่อน้ำนมแม่เปลี่ยนจากน้ำนมเหลืองในระยะแรกไปเป็นน้ำนมที่คงที่ มันก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนสีจากเขียวอมดำ (ขี้เทา) ไปเป็นสีน้ำตาล และสีออกไปทางเหลือในที่สุด” คาร์ไลเซิลกล่าวต่อ “ส่วนทารกที่ได้รับนมผงสูตรอาจมีอุจจาระน้อยกว่า”
จะเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างไร?
“ทารกชายจะกลายเป็นน้ำพุเด็กฉี่ขึ้นมาทันทีเมื่ออากาศเย็นสัมผัสกับท้องของเขา ดังนั้น ควรเรียนรู้ที่จะสร้างเกราะป้องกันความหนาวเย็นให้เขาที่ด้านหน้าของผ้าอ้อม” แพม แมคเมอร์ตี้ นักเขียน กล่าว และเธอยังเพิ่มเติมว่าคุณอาจจะต้องเตรียมผ้าเช็ดทำความสะอาดไว้ให้พร้อม เพราะทารกหญิงตัวน้อยต้องการการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศของเธอจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อที่สิ่งปฏิกูลจะได้ไม่สะสมอยู่บริเวณนั้นของเธอ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คุณจะต้องไม่ปล่อยให้ทารกจมอยู่กับผ้าอ้อมเปียกเป็นเวลานานเกินไป เพราะมันจะทำให้เขาเป็นผื่นผ้าอ้อม และยังจะสร้างความยุ่งยากในการฝึกใช้กระโถนในอนาคตด้วย
เมื่อคุณถอดผ้าอ้อมเลอะออกมา และหนูน้อยได้ใส่ผ้าอ้อมชิ้นใหม่แล้ว บางคนก็มีวิธีการที่จัดการกับผ้าอ้อมสกปรกในถังผ้าอ้อม บางคนมีผ้าอ้อมผ้าที่ต้องนำไปซัก คุณก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับสิ่งที่ต้องทำ อย่าปล่อยให้มันกองท่วมเป็นภูเขาเลากา
จัดกระเป๋าผ้าอ้อมอย่างไร?
“ผ้าอ้อม ผ้าเปียกทำความสะอาด เสื้อผ้า 1 ชุดไว้เปลี่ยน ผ้ารองน้ำลายหรือผ้าไว้เช็ดแหวะ ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในกระเป๋าผ้าอ้อม ถ้าคุณเลือกใช้ผ้าอ้อมผ้า ก็ต้องไม่ลืมที่จะพกถุงไว้ใส่ผ้าอ้อมผ้าที่เปียกแล้วด้วย” คาร์ไลเซิลกล่าว คนที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง ก็ต้องพกขวดนมไปจำนวนหนึ่ง นมผง และน้ำสะอาด “หากลูกของคุณใช้จุกนมหลอก การนำติดไปในกระเป๋าผ้าอ้อมด้วยก็จะทำให้สะดวกยิ่งขึ้น” เธอกล่าวเสริม “สิ่งของอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นรองเปลี่ยนผ้าอ้อม เจลทำความสะอาดมือ ของเล่นเด็ก แม้แต่เสื้อสะอาดสำหรับพ่อหรือแม่”
ห่อตัวลูกน้อยอย่างไร?
การห่อตัวลูกนี้สามารถสอบถามได้จากพยาบาล พื้นฐานของมันก็คือการทำเบอร์ริโตเด็กน้อยด้วยผ้าห่มนั่นเอง การทำเช่นนี้จะทำให้ทารกรู้สึกอุ่นเหมือนตอนที่เขายังอยู่ในครรภ์ของแม่ และช่วยเรื่องการหลับด้วย
ควรให้ลูกนอนที่ไหน?
“สถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกันแนะนำให้เด็กทารกแรกเกิดนอนในห้องพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นการนอนในนเปลหรือเตียงเด็ก เพราะมันช่วยให้การให้นมในเวลากลางคืนง่ายขึ้นเมื่อทารกอยู่ใกล้” คาร์ไลเซิลกล่าว ลูกของคุณไม่ควรนอนบนเตียงของคุณและเขาก็ควรนอนหงายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการหลับไหลตายในทารกหรือ SIDS
คาร์ไลเซิลเสริมว่าคุณควรนอนหลับเมื่อทารกหลับ “มันใช่ ที่ทารกแรกเกิดของคุณนั้นน่ารัก และเป็นการยากที่จะไม่เฝ้าดูใบหน้าของเทวดาตัวน้อยขณะที่เขาหลับใหล แต่พ่อแม่ก็ต้องนอนด้วยเช่นกัน ถ้าทารกหลับแล้ว คุณก็ต้องพักผ่อนด้วย”
ต้องมีคาร์ซีทกี่อัน?
“คุณอาจต้องใช้คาร์ซีทสองอัน (ผมรู้ว่ามันฟังดูไร้สาระ)” ฮาร์ลาน โคเฮน ผู้แต่ง Dad’s Pregnant Too กล่าวไว้ แรกสุดเลย คุณจะต้องมีคาร์ซีทสำหรับเด็กอ่อน ที่จะยึดกับเบาะรถ และสามารถหมุนมันเข้าหรือออกได้ เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้ลูกของคุณตื่นหากเขาหลับอยู่ จากนั้นเมื่อเขาโตขึ้น คุณก็ต้องการคาร์ซีทที่ปรับให้หันหน้าออกได้ตามปกติ เพื่อที่จะใช้ต่อไปอีกหลายปี จนกว่าเขาจะโตพอที่จะคาดเข็มขัดนิรภัยได้
เป็นการดีที่ว่าที่คุณพ่อจะเตรียมตัวหาความรู้ในการคลอดและการเลี้ยงลูกไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ หนึ่งเลยก็เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดของตัวคุณเอง สองก็เพื่อเป็นการทำหน้าที่พ่อที่ดี เพราะความเป็นพ่อแม่นั้นต้องช่วยกันรับผิดชอบในทุก ๆ รายละเอียดของเจ้าตัวน้อยค่ะ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th