Site icon Motherhood.co.th Blog

เด็กคลอดก่อนกำหนด ต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์อะไรบ้าง ?

อุปกรณ์การแพทย์เพื่อเด็กคลอดก่อนกำหนด

เด็กคลอดก่อนกำหนดเมื่อกลับบ้านแล้วต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์อะไรบ้าง

เด็กคลอดก่อนกำหนด ต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์อะไรบ้าง ?

ทารกส่วนใหญ่ที่เป็น “เด็กคลอดก่อนกำหนด” ที่ต้องอยู่ในแผนกผู้ป่วยหนักสำหรับทารกแรกเกิด (NICU) ไม่ได้ต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นพิเศษเมื่อออกจากโรงพยาบาล เด็กบางคนแข็งแรงพอที่จะกลับบ้านได้เลย แต่ก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากอุปกรณ์พิเศษบางชนิดอยู่

หากลูกน้อยของคุณมีเครื่องมือแพทย์เหล่านี้ ให้คุณเรียนรู้วิธีใช้และฝึกใช้ก่อนที่ลูกจะออกจากโรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติแล้ว บริษัทที่ให้บริการอุปกรณ์ทางการแพทย์เหล่านี้จะส่งคนไปที่แผนก NICU หรือที่บ้านของคุณเพื่อสาธิตวิธีการใช้อย่างถูกต้อง อุปกรณ์ที่ใช้กันมากที่สุด 3 ประเภทที่ทารกมักต้องนำกลับบ้านด้วยคือ เครื่องตรวจภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ ท่อป้อนอาหาร และออกซิเจน

เด็กบางคนแข็งแรงพอที่จะกลับบ้านได้ แต่อาจจะยังหายใจเองได้ไม่ดีพอ

เครื่องตรวจสอบภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ

เด็กหลายคนมีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ (หยุดหายใจเป็นระยะ) หากทารกยังไม่ดีขึ้นจากปัญหานี้ที่โรงพยาบาล เขาอาจต้องใช้เครื่องตรวจสอบภาวะหยุดหายใจชั่วขณะเมื่อเขาอยู่ที่บ้านเป็นการชั่วคราว

จอแสดงผลติดอยู่กับตัวทารกโดยใช้แผ่นแปะที่อ่อนนุ่มหรือเข็มขัดเนื้อนิ่มที่อยู่รอบ ๆ หน้าอก หากทารกหยุดหายใจหรือหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จอภาพจะส่งเสียงเตือนให้พ่อแม่ได้ทราบ

คุณสามารถใช้จอมอนิเตอร์เมื่อลูกน้อยหลับหรือไม่ได้อยู่ในห้องเดียวกันกับคุณ ก่อนที่ลูกน้อยของคุณจะออกจากโรงพยาบาล นี่คือสิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน

บางครั้งสัญญาณเตือนจะดับลงเมื่อไม่มีอะไรผิดปกติกับลูกน้อยของคุณ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคาดเข็มขัดไม่ถูกต้องหรือหลวมหลุดเมื่อลูกเคลื่อนไหว คุณจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการเตือนที่ผิดพลาดเหล่านี้ รวมทั้งรู้ว่าคุณควรจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณเตือนที่ผิดพลาด

ใช้ท่อป้อนอาหารช่วยให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

ท่อป้อนอาหารและหลอดฉีดยา

ทารกบางคนไม่สามารถดูดหรือกลืนได้ดีพอที่จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สิ่งนี้มีโอกาสมากขึ้นในเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ปาก หลอดอาหาร ทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทส่วนกลาง

เมื่อทารกเหล่านี้กลับบ้านพวกเขาอาจต้องให้นมแม่หรือนมผงผ่านทางท่อป้อนอาหาร ซึ่งมันจะถูกสอดเข้าไปในจมูกหรือปากของทารก ลงมาทางด้านหลังของลำคอ ผ่านหลอดอาหารและเข้าไปในกระเพาะอาหาร (หลอดอาหารของคนเราเชื่อมต่อระหว่างปากและกระเพาะอาหาร) ท่อป้อนอาหารนี้มักจะอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็นระหว่างการให้อาหารและจะไม่รบกวนทารก คุณสามารถป้อนนมลูกด้วยการเทนมแม่หรือนมผงลงในหลอดฉีดยาแล้วใส่เข้าไปในท่อป้อนอาหารของทารก

หากลูกน้อยของคุณไม่สามารถรับอาหารทางปากได้เป็นเวลานาน เขาอาจต้องได้รับการให้อาหารผ่านช่องท้อง (Gastrostomy) ซึ่งส่วนปลายของมันมีท่อพลาสติกขนาดเล็กติดอยู่

การนำออกซิเจนไปไว้ที่บ้านจำเป็นต้องดูแลอย่างดี

ออกซิเจน

เด็กส่วนใหญ่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเองก่อนออกจาก NICU แต่บางคนก็ยังต้องการออกซิเจนเพิ่มสักพัก ปอดของพวกเขามักจะรักษาตัวเองได้ภายในช่วงสองปีแรกของชีวิต

ทารกมักต้องการออกซิเจนที่บ้านหากพวกเขามีโรคปอดที่เรียกว่าโรคปอดเรื้อรังซึ่งพบในเด็กคลอดก่อนกำหนด (Bronchopulmonary dysplasia – BPD) ทารกที่มีความเสี่ยงต่อโรค BPD รวมถึงทารกที่

หากลูกน้อยต้องการออกซิเจน นี่คือสิ่งที่คุณจะต้องมี

โรงพยาบาลอาจจัดให้พยาบาลประจำตัวไปเยี่ยมถึงที่บ้านเพื่อดูแลและตรวจลูกน้อยของคุณ เธออาจจะโทรหาเพื่อคอยตอบคำถามหรือข้อสงสัยที่คุณมี หากไม่ได้มีการจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้ ให้คุณลองพูดคุยกับทางโรงพยาบาลเพื่อดูว่าคุณสามารถรับบริการนี้ได้หรือไม่

เมื่อเวลาผ่านไปปอดของทารกก็จะหายดีและหายใจเองง่ายขึ้น ปริมาณออกซิเจนจากเครื่องจะถูกลดทอนไปเรื่อย ๆ จากนั้นจึงจะหยุดโดยสิ้นเชิง ทารกส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจนเป็นเวลาน้อยกว่า 6 เดือน

หากลูกน้อยของคุณกลับบ้านไปกับออกซิเจน คุณต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยหลายประการ ออกซิเจนสามารถลุกติดไฟได้ง่าย แม้แต่ประกายไฟขนาดเล็กก็สามารถก่อให้เกิดไฟขนาดใหญ่ได้ ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ จุดประกายไฟ หรือเตาแก๊สในห้องเดียวกับที่มีถังออกซิเจนตั้งอยู่

ถึงแม้เราจะยังไม่อาจทราบได้ว่าลูกน้อยในครรภ์ตอนนี้จะกลายเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด ในอนาคตอันใกล้หรือไม่ แต่การเตรียมพร้อมด้านข้อมูลก็จะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจเบื้องต้นกับอุปกรณ์ที่ลูกน้อยจำเป็นจะต้องใช้งาน และการมีข้อมูลเหล่านี้ก็ช่วยลดความกังวลได้ส่วนหนึ่งด้วยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th