Site icon Motherhood.co.th Blog

เด็กพิการซ้ำซ้อน พ่อแม่ต้องดูแลหนูอย่างไร

ดูแลเด็กพิการซ้ำซ้อน

เด็กพิการซ้ำซ้อน พ่อแม่ต้องดูแลหนูอย่างไร

เราเคยพูดกันถึงเรื่องของเด็กพิเศษกันไปแล้ว ครั้งนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับภาวะของ “เด็กพิการซ้ำซ้อน” ที่ก็จัดอยู่ในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้มากขึ้น เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ถึงสาเหตุของอาการ รวมถึงวิธีดูแลเขาอย่างถูกต้อง

ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องที่เกิดขึ้นร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะ ที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) เช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้ว สำหรับเด็กความที่พบความพิการซ้ำซ้อนเหล่านี้ มักประสบกับปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ

เด็กพิการซ้ำซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคมอีกด้วย

เด็กพิการซ้ำซ้อนแต่ละรายจะมีความแตกต่างกันทางลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการ เด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องทางการได้ยินและมีปัญหาในการประมวลผลของสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงมีข้อจำกัดในการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กอาจมีความลำบากในการปฏิบัติตามคำสั่งและการจดจำ อีกทั้งยังไม่สามารถนำทักษะที่มีไปปรับใช้ได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ดังนั้นแล้ว วิธีการดูแลและรักษาความพิการซ้อนจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก นอกจากนี้ การให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้จะทำให้พวกเขาได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดีขึ้น

เด็กพิการซ้ำซ้อนมีลักษณะอย่างไร ?

เด็กที่มีปัญหาพิการซ้อนอาจแสดงลักษณะได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความซ้ำซ้อน (Combination) ความรุนแรงของความพิการ (Severity of Disabilities) รวมทั้งปัจจัยเรื่องอายุด้วย โดยทั่วไป ลักษณะของปัญหาพิการซ้อนในเด็กที่พบได้บ่อย มักมีดังนี้

ปัญหาด้านจิตใจ

ปัญหาด้านพฤติกรรม

ปัญหาด้านร่างกาย

มักมีความบกพร่องในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ

ปัญหาทางด้านการเรียนรู้

ความพิการซ้อนมีสาเหตุมาจากอะไร ?

โดยทั่วไป สาเหตุของความพิการซ้อนมักเกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมของระบบประสาทบางส่วน เช่น สติปัญญา (Intelligence) และความไวของประสาทสัมผัส (Sensory sensitivity) แม้ว่าในเด็กบางรายแพทย์จะไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่ในผู้ป่วยรายที่แพทย์สามารถระบุสาเหตุได้ มักพบว่าอาการพิการซ้อนเกิดจากปัจจัยทางชีวเคมีในช่วงก่อนกำเนิด (Prenatal biomedical factors) หรือจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งมีที่มาจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม นอกจากนี้สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ก็เช่น ความเชื่อมโยงกับโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Genetic metabolic disorders) การทำหน้าที่ผิดปกติของอวัยวะในร่างกายในการสร้างเอนไซม์ (Dysfunction in production of enzymes) ซึ่งนำไปสู่การสะสมของสารพิษในสมอง และส่งผลให้สมองผิดปกติ (Brain malformation)

สาเหตุและอัตราส่วนของเด็กพิการซ้อน สามารถจำแนกได้ดังนี้

เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกเป็นตัวช่วยให้ชีวิตของเด็กราบรื่นขึ้น

ปัญหาพิการซ้อนในเด็กมีความสำคัญอย่างไร ?

สำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน ปัจจัยด้านประเภทและความรุนแรงของความพิการจะเป็นตัวกำหนดความช่วยเหลือที่เด็กควรได้รับ ซึ่งโดยปกติเด็กมักจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือในการใช้ชีวิตมากกว่าหนึ่งด้าน ทั้งแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักบำบัด ครู และพ่อแม่ ต้องร่วมมือกันเพื่อวางแผนและแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทั้งนี้เป้าหมายในการช่วยเหลือเด็กพิการซ้อนคือเพื่อให้เด็กสามารถมีพัฒนาการที่สำคัญได้ ทั้งด้านอารมณ์ ภาษา สังคม อาชีพ และการรดูแลตัวเอง นอกจากนี้การอำนวยความสะดวกระหว่างการรักษา เรื่องอาหาร และเครื่องมือพิเศษ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การช่วยเหลือเด็กตั้งแต่แรกเกิด ก่อนเข้าเรียน และในวัยเรียนอย่างใกล้ชิด ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กพิการซ้ำซ้อน ซึ่งนอกจากความช่วยเหลือจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักบำบัด ครู และพ่อแม่แล้ว เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive technology) เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ช่วยสื่อสารแบบพกพาสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด (Augmentative and alterative communication devices) ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอย่างราบรื่น

พ่อแม่จะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ?

เด็กที่มีปัญหาพิการซ้อน มักมีจุดที่แตกต่างกันอีกมากในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถ ความสนใจ ประสิทธิภาพของสายตาและประสาทสัมผัส เด็กบางคนอาจจะพูดเก่ง หรือบางคนก็ไม่สามารถพูดได้ ทำให้เด็กแต่ละคนก็ต้องการความช่วยเหลือที่ไม่เหมือนกัน

แม้ในกลุ่มที่มีความพิการซ้อนในลักษณะเดียวกัน เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ได้ผลกับเด็กคนหนึ่ง ก็อาจไม่ได้ผลกับเด็กคนอื่น ๆ ก็เป็นได้ แต่สิ่งที่เด็กเหล่านี้มักมีร่วมกันคือ ความผิดปกติที่ซ้ำซ้อนที่สร้างความยากลำบากในการเข้าถึง รับรู้ และเข้าใจข้อมูล รวมถึงส่งผลต่อความพยายามของเด็กที่จะเอาชนะขีดจำกัดของตนเอง

ควรให้ลูกทำกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะ ไม่ว่าจะศิลปะ ดนตรี กีฬา

นี่คือสิ่งที่พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวควรปฏิบัติ เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาตนเองและสามารถเอาชนะขีดจำกัดของตนเองได้

 

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th