Site icon Motherhood.co.th Blog

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องระวังอย่างไร

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ต้องระวังโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ให้ดี

“เบาหวานขณะตั้งครรภ์” คุณแม่ต้องระวังอย่างไร

คงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก หากคุณแม่ท่านไหนต้องเผชิญกับโรค “เบาหวานขณะตั้งครรภ์” (Gestational Diabetes) เพราะมันมีผลกระทบที่ใหญ่มากต่อลูกน้อยในครรภ์และตัวคุณแม่เอง สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่มีความเสี่ยง ก็อาจจะอยากทราบว่าจะป้องกันได้อย่างไร และมีอาหารประเภทไหนที่จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง มาติดตามไปพร้อมกันนะคะ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายจะมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ และมันจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ รวมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมากได้

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้ มักจะถูกวินิฉัยกันในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 และจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ด้วย

มีความเสี่ยงมากมายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารก หากมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่มีอาการใดที่บ่งชี้เป็นพิเศษ ส่วนมากแพทย์จะตรวจพบจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในบางรายอาจจะมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปากแห้ง และรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งบางอาการก็จะคล้ายกับอาการของคนตั้งครรภ์ทั่วไป หากสงสัยในอาการของตัวเองก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้

สาเหตุของเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ส่วนมากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์บางรายเกิดภาวะการต่อต้านอินซูลิน ซึ่งอินซูลินนี้ถูกผลิตขึ้นจากเซลล์ในตับอ่อนและเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญกลูโคสได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายมีระดับอินซูลินต่ำหรือดื้อต่ออินซูลิน จะส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ก็ยังมีปัจจัยด้านอื่นที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่

ผลเสียที่มีต่อทารกในครรภ์

ผลเสียที่มีต่อมารดา

ถ้าคุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะร่างกายมีความดันโลหิตสูง บวกกับมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษก่ออันตรายทั้งกับแม่และทารก วิธีเดียวที่จะทำให้หายจากอาการก็คือคลอดทารกออกมา หากเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษและมีอายุครรภ์ถึง 37 สัปดาห์แล้ว แพทย์จะพิจาณาให้คลอดก่อนเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าหากอายุครรภ์ไม่ถึง 37 สัปดาห์ แพทย์จะต้องมองหาทางเลือกอื่นเพื่อช่วยให้ทารกมีสภาพเป็นปกติที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่ทารกจะคลอด

อีกทั้งยังมีส่วนทำให้น้ำคร่ำในมดลูกมีมากกว่าปกติ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะต้องคลอดด้วยวิธีการผ่ามากขึ้น เพราะทารกจะมีขนาดตัวที่ใหญ่เกินกว่าคุณแม่จะสามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ

ถ้าคุณแม่มีอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก็จะมีโอกาสพัฒนาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคต การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสงติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่นด้วย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต เส้นประสาทถูกทำลาย

เมื่อตรวจพบอาการ คุณแม่จะต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 4-5 ครั้ง

การวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เริ่มต้นด้วยการนำเลือดไปตรวจค่าระดับน้ำตาล เพื่อวินิจฉัยโรค โดยจะมีการตรวจอยู่ 2 แบบ คือ การทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose Challenge Test) และการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test) ซึ่งอาจจะเลือกทำแค่วิธีใดวิธีหนึ่งหรือทำทั้งสองวิธี การทดสอบนี้จะบอกว่าร่างกายของคุณแม่มีการนำเอาน้ำตาลกลูโคสไปใช้ตามปกติหรือไม่

การทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose Challenge Test)

แพทย์มักเลือกทดสอบวิธีนี้เป็นวิธีแรก เป็นการทดสอบคัดกรองเบื้องต้น ในการทดสอบนี้ คุณแม่จะได้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และเจาะเลือดหลังรับประทานไปแล้ว 1 ชั่วโมงเพื่อนำไปตรวจ การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร ถ้าระดับน้ำตาลที่พบสูงตั้งแต่ 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะต้องได้รับการตรวจซ้ำด้วยการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส ซึ่งจะต้องอดอาหารมาก่อนและมาตรวจในวันอื่น แต่ถ้าพบระดับน้ำตาลเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แปลว่ากำลังเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่

การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucoseลือด  Tolerance Test)

การทดสอบนี้จะวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่อดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เมื่อพบแพทย์ จะทำการเจาะเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร จากนั้นจะให้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดซ้ำในชั่วโมงที่ 1 2 และ 3 หลังจากดื่มน้ำตาลนี้ และนำผลระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมดมาวินิฉัยประกอบกัน

ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงเกินไป 2 ครั้งจากการตรวจทั้งหมดจะถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่บางครั้งแพทย์จะให้ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสเลย โดยไม่ต้องทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัมก่อน

คุณแม่ที่มีอาการจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คงจะไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากจะให้ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้น เพราะมีความเสี่ยงสูงในหลายด้านทั้งต่อตัวทารกและตัวคุณแม่เอง ถ้าเราป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th