Site icon Motherhood.co.th Blog

โคลิค คืออะไร พ่อแม่จะรับมือได้ยังไง?

โคลิค

โคลิค คืออะไร

โคลิค คืออะไร พ่อแม่จะรับมือได้ยังไง?

“โคลิค” (colic) คืออาการของทารกที่มีอายุ 2-4 สัปดาห์ ร้องไห้อย่างหนักโดยไม่ทราบสาเหตุและไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องได้โดยง่าย เป็นการร้องไห้ที่มีลักษณะรุนแรงกว่าปกติและเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ แม้ว่าจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และสามารถรับประทานนมได้ตามปกติก็ตาม

โดยทั่วไปแล้วเมื่อทารกรู้สึกหิว หรือไม่สบายตัวเพราะรูสึกเปียกชื้นในผ้าอ้อม เด็กก็จะส่งเสียงร้องไห้ออกมา หากมีอาการโคลิคเด็กจะร้องไห้หนักกว่านั้นมากและสามารถร้องได้นานนับชั่วโมง ส่วนใหญ่เด็กจะร้องตรงเวลาแทบจะทุกวัน และมักจะร้องในเวลาหัวค่ำจนถึงหลังเที่ยงคืนไปแล้ว แต่อาการจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อทารกมีอายุ 3-4 เดือน แต่บางรายก็ต้องรอถึง 5 เดือน

แม้แต่แพทย์ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโคลิค

ข้อสังเกตว่าลูกร้องโคลิคหรือเปล่า

อาการโคลิคเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการโคลิค แต่อาจจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น

ต้องพบแพทย์หรือไม่

แม้ว่าลูกน้อยจะร้องไห้งอแงเป็นปกติ ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่าการร้องไห้ของลูกนั้นส่งผลกระทบในการนอน การกิน หรืออาจจะมีปัญหาสุขภาพเป็นสาเหตุ ก็สามารถพบแพทย์ได้ และเมื่อพบว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

รับมือกับอาการโคลิคอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับอาการโคลิคได้หลายวิธี แต่มันก็ไม่ได้มีวิธีที่ดีที่สุดเสมอไป อาจต้องใช้เวลาทดลองกับลูกว่าวิธีไหนได้ผลดีสำหรับเขามากที่สุด รวมทั้งหาสาเหตุที่แน่ชัดของการร้องไห้ด้วยตัวเอง ทดลองกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอวิธีการที่เหมาะสม

สามารถนวดเพื่อบรรเทาอาการโคลิคได้

วิธีนวดบรรเทาอาการโคลิค

การนวดไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาอาการโคลิคเท่านั้น แต่จะทำให้ลูกผ่อนคลายมากขึ้น ท่านวดบางท่าทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เป็นการเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหวให้กับลูกได้อีกทางหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถทำการนวดได้ 3 วิธี ดังนี้

  1. วางมือเป็นรูปถ้วยตามแนวขวางของท้อง และค่อยๆดันมืองลงเบาๆจากอุ้งมือไปสู่ปลายมือ ทำการนวดระหว่างชายโครงกับท้องน้อย แต่ไม่ควรกดลงไปตรงกลางพุงเพราะจะทำให้เด็กอึดอัด
  2. วางมือเป็นรูปตัววี (V) โดยเริ่มลูบจากด้านบนของท้องมายังบริเวณท้องน้อย ทำแบบนี้สลับมือ จึงจะเป็นรูปตัววี
  3. รวบเท้าของเด็กเข้าด้วยกัน งอเข่าขึ้นและดันไปทางท้อง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที เพื่อไล่ลมในท้อง

อาการโลลิคของลูกอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณพ่อคุณแม่อยู่บ้าง เมื่อลูกรักร้องโดยไม่มีสาเหตุเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้เครียด เพราะหาสาเหตุไม่ได้ว่าลูกเป็นอะไรแน่ ยิ่งไปว่านั้นอาจจะทำให้หงุดหงิดกับเสียงร้องได้ ถ้าลูกร้องขึ้นมาในเวลาที่คุณพ่อคุณแม่หลับกันไปแล้ว แต่ขอให้อย่าเพิ่งไปวิตกกับความเชื่อโบราณว่าลูกเห็นอะไรบางอย่างเข้า อาจจะยิ่งทำให้กลัวกันเข้าไปใหญ่ ขอให้อดทนไว้ ถ้าหากลูกร้องโคลิคจริง ๆ ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าเขาไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยอย่างอื่น พอเขาโตขึ้นเกิน 6 เดือนอาการก็จะหายไปเองอย่างแน่นอน

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th