Site icon Motherhood.co.th Blog

โปลิโอ เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้

โรคโปลิโอต้องป้องกัน

หนึ่งในวัคซีนที่สำคัญที่เด็กต้องได้รับคือวัคซีนป้องกันโปลิโอ

โปลิโอ เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้

วันเด็กเพิ่งผ่านพ้นไปหมาด ๆ นะคะ หนึ่งในความทรงจำวัยเด็กของใครหลายคนอาจจะเป็นตอนที่ได้รับวัคซีนที่โรงเรียน อย่างวัคซีน “โปลิโอ” ที่โรงเรียนในบ้านเรามักจะมีจัดฉีดให้เด็กนักเรียนของตนแบบฟรี ๆ ทุกปี มีทั้งความกลัวเข็มฉีดยา หรือในยุคหลังที่เปลี่ยนเป็นยาแบบหยดใส่ปาก เด็กบางคนก็อาจจะกังวลกับรสชาติของยา เรียกว่าเป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้นในวัยเด็กที่เด็ก ๆ หลายคนต้องพบเจอ วันนี้ Motherhood จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปรู้จักกับโรคโปลิโอให้มากขึ้นกว่าเดิมกันค่ะ

โรคโปลิโอคืออะไร?

โปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นโรคติดต่อที่สามารถทำให้เกิดอาการร้ายแรง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งอาจไปทำลายระบบประสาทจนส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีภาวะอัมพาต หายใจลำบาก หรือถึงแก่ความตายได้ โดยส่วนใหญ่เชื้อจะแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนผ่านทางการรับเชื้อที่ถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระเข้าสู่ทางปาก

แม้ว่าในประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้มาเป็นเวลานานหลายปีแล้วก็ตาม โดยพบรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2540 แต่เด็กทุกคนยังคงต้องได้การฉีดรับวัคซีนตามมาตรการกวาดล้างโรคโปลิโอร่วมกับนานาประเทศทั่วโลก เนื่องจากมันเป็นโรคร้ายแรงที่สร้างความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกายและเศรษฐกิจ และในปัจจุบันประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค เพราะมีอาณาเขตติดกับประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างพม่าและลาวที่เพิ่งมีการค้นพบเชื้อโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธ์ุไปเมื่อปี พ.ศ. 2558

แม้จะไม่พบผู้ป่วยใหม่ในไทยมากว่า 20 ปี การฉีดวัคซีนก็ยังจำเป็น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ที่จะอาศัยอยู่แต่ภายในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น โดยไวรัสชนิดนี้ติดออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรือเมื่อไอ จาม รวมทั้งการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมาในอาหารหรือน้ำที่รับประทานเข้าไป นอกจากนั้นการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรงก็มีโอกาสได้รับเชื้อเช่นกัน

เชื้อจะเดินทางเข้าไปภายในปาก ผ่านลำคอ ลำไส้ แล้วจึงเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น ในบางกรณียังสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังระบบประสาทได้ในที่สุด โดยสามารถแพร่กระจายตั้งแต่ก่อนเริ่มแสดงอาการไปจนถึงหลายสัปดาห์ถัดไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏเลยก็ยังสามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อได้เช่นกัน

ใครบ้างคือผู้มีความเสี่ยง?

อย่างที่ทราบกันว่าในประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโรคนี้แล้ว แต่ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโปลิโอนั้นจะยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากอยู่ในภาวะดังต่อไปนี้

อาการของโรค

เราสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามอาการที่ปรากฏได้ ดังนี้

1. กลุ่มไม่แสดงอาการหรือมีแค่อาการคล้ายเป็นหวัด

กลุ่มนี้สามารถพบได้ถึงประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการคล้ายเป็นหวัดหวัดหรืออาจไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอกเลย โดยระหว่างที่ติดเชื้อ ร่างกายสามารถต่อสู้และกำจัดเชื้อออกไปได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่ทันรู้ตัวว่าเคยได้รับเชื้อเข้าไป

2. กลุ่มอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กลุ่มนี้สามารถพบได้ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ จะมีอาการคล้ายโรคหวัดร่วมกับอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส อาการอาจคงอยู่ประมาณ 3-21 วันและสามารถหายไปเองได้ โดยอาจแสดงอาการต่อไปนี้

3. กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

กลุ่มนี้จะเป็นการติดเชื้อชนิดที่พบได้เพียงแค่ 0.4 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการติดเชื้อที่มีความรุนแรงที่สุด และยังสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ เช่น โปลิโอไขสันหลัง (Spinal Polio) โปลิโอก้านสมองส่วนท้าย (Bulbar Polio) หรือชนิดที่เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างโปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้าย (Bulbospinal Polio)

อาการเบื้องต้นของโรคในกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักแสดงอาการที่คล้ายกลับกลุ่มเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงเริ่มแสดงอาการอื่นที่ต่างออกไป ดังนี้

ทั้งนี้ อาการของโรคในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักไม่พัฒนาเป็นภาวะอัมพาตอย่างถาวร แต่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้มีโอกาสที่ไวรัสจะจู่โจมเข้าที่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็กหรือผู้ที่เป็นโปลิโอก้านสมองส่วนท้าย

จะต้องใส่อุปกรณ์ช่วยในการเดินหากมีอาการขาลีบ

อาการหลังเกิดโรค

อาการเหล่านี้คืออาการที่อาจกลับมาเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยติดเชื้อในช่วงประมาณ 30-40 ปีหลังจากติดเชื้อครั้งก่อน โดยอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นมีดังนี้

การรักษาโรค

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่แพทย์สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตามอาการ เร่งการฟื้นตัว และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น โดยให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อน ให้ยาบรรเทาอาการปวด ให้รับประทานอาหารบำรุงสุขภาพ ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อสูญเสียการทำงานและผิดรูปไป บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย

กรณีที่เกิดปัญหาระยะยาวจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยต้องรับการรักษาและการดูแลอย่างต่อเนื่อง อาจมีการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือใช้อุปกรณ์ เช่น เฝือกหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงแขนขาที่อ่อนแรง รวมทั้งการให้ทำกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยปรับการเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก และอาจจะใช้การผ่าตัดเพื่อแก้ไขข้อต่อที่ผิดรูปร่าง

อย่างไรอาการหลังการรักษาจะดีขึ้นมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายที่ร่างกายได้รับจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อยอาจมีผลการรักษาที่ดี แต่อาการหลังการรักษาอาจแย่ลงได้หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการในกลุ่มกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกรณีที่ความสามารถในการกลืนหรือการหายใจลดลง นอกจากนี้ผู้ป่วยหลายคนยังสามารถพัฒนาไปสู่อาการของโรคในระดับที่รุนแรงกว่าเดิม

การฉีดวัคซีนป้องกัน

เราสามารถป้องกันโรคได้ด้วยการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีทั้งชนิดหยอดและชนิดฉีด แรกเริ่มประเทศไทยใช้วัคซีนแบบหยอดชนิด 3 สายพันธ์ุ (tOPV) แต่ในเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกเลิกให้เปลี่ยนมาใช้วัคซีนหยอดชนิด 2 สายพันธ์ุ (bOPV) ร่วมกับวัคซีนชนิดฉีด (IPV) เช่นเดียวกันกับอีก 155 ประเทศทั่วโลก เพราะในวัคซีนโปลิโอแบบหยอดชนิด 3 สายพันธ์ุนั้นมีไวรัสโปลิโอชนิดหนึ่งที่มักพบว่ามีการกลายพันธุ์ จึงเลือกที่จะตัดออกไป

พ่อแม่ผู้ปกครองต้องพาลูกหลานไปรับวัคซีนให้ครบทุกครั้ง

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกัน?

  1. เด็กไทยทุกคน เพราะเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ ซึ่งจะต้องรับทั้งหมด 5 ครั้ง ที่อายุ 2 4 6 18 เดือน และเมื่ออายุ 6 ปี
  2. ผู้ใหญ่ที่อาศัยในถิ่นที่ไม่มีการระบาดของโรค แต่ะจะต้องเดินทางไปถิ่นที่มีการระบาด
  3. ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่มีโอกาสรับเชื้อโปลิโอโดยตรง

แม้จะทำการป้องกันด้วยวัคซีนแล้ว แต่การยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกล้างมือก่อนรับประทานอาหารเป็นประจำ จัดหาอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ให้ลูก พร้อมทั้งน้ำสะอาด ถ่ายอุจจาระลงโถส้วม และล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยนะคะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th