Site icon Motherhood.co.th Blog

ทำอย่างไรเมื่อลูกซนจน “กระดูกหัก”

ลูกซนจนกระดูกหัก

ทำอย่างไรเมื่อลูกซนจน “กระดูกหัก”

เด็ก ๆ บางคนก็ซุกซนจนเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง สถานเบาหน่อยก็ได้รอยฟกช้ำดำเขียว แต่บางทีอาจจะรุนแรงถึงขั้น “กระดูกหัก” ได้เลยทีเดียว สิ่งนี้เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จำต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราควรเตรียมตัวที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อที่จะช่วยลดความกังวลและป้องกันผลกระทบร้ายแรงจากการกระดูกหักที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกรักด้วย จะทำได้อย่างไรนั้น มาติดตามกันค่ะ

กระดูกสามารถหักได้หลายแบบ ขึ้นกับทิศทางการกระแทกและความรุนแรง

จะรู้ได้อย่างไรเมื่อลูกกระดูกหัก

เมื่อลูกได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นกระดูกแตกหรือหัก เขาอาจจะไม่สามารถบอกถึงอาการผิดปกติที่กำลังมีขึ้นในตัวเขาได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังพูดได้ไม่มาก คุณพ่อคุณแม่ที่มีความกังวลในเรื่องนี้จะสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของลูกที่แสดงออกในเวลาที่มีกระดูกแตกหรือหักจากอุบัติเหตุได้ ดังนี้

อาการข้างต้นเป็นสัญญาณที่มักพบได้เมื่อมีกระดูกหัก หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพราะในบางครั้งก็ยากที่จะสังเกตอาการได้ด้วยตาเปล่าถ้ากระดูกไม่ถึงกับหักไปเลย อาจจะแค่ร้าวเลยมีอาการบ่งบอกไม่หนักมาก แต่มันจะผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายชของลูกเมื่อเขาโตขึ้น หากเขาไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นเมื่อลูกประสบอุบัติเหตุมาครั้งใด คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบสัญญาณของอาการกระดูกหักอย่างสม่ำเสมอ

หากลูกได้รับอุบัติเหตุมา พ่อแม่ควรตรวจหาสัญญาณของอาการกระดูกหักเสมอ

กระดูกหักมีกี่ประเภท

ถึงแม้กระดูกของเด็กจะเป็นกระดูกที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้เพราะมีความยืดหยุ่นดีกว่าของผู้ใหญ่ แต่ก็ยังเป็นกระดูกอ่อนที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ทำให้มีความเปราะบางและหักได้ง่าย โดยทั่วไปแล้ว อาการกระดูกหักในเด็กแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. กระดูกเดาะ คือภาวะกระดูกหักเฉพาะด้านที่เกิดจากแรงปะทะเพียงด้านเดียว และอีกด้านโก่งออกไปตามแรงกด มีลักษณะเหมือนกิ่งไม้สดที่โดนหัก
  2. กระดูกหักแบบยู่หรือย่นด้วยแรงอัด คือภาวะที่กระดูกได้รับแรงอัดจนย่นเข้าหากัน แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ออกจากกัน
  3. กระดูกโก่งงอโดยไม่มีรอยหัก คือภาวะที่กระดูกโก่งงอผิดรูปไปจากเดิมโดยไม่มีรอยหักหรือแตก มักพบได้ในวัยรุ่นมากกว่าเด็กเล็ก
  4. กระดูกหักบริเวณส่วนปลาย คือภาวะกระดูกหักออกจากกันเป็นสองท่อนที่แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth Plate) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนบริเวณส่วนปลายหรือส่วนหัวทั้งสองข้างของชิ้นกระดูก ซึ่งมันจะยังเจริญเติบโตได้อีกตามวัยของเด็ก หากกระดูกส่วนนี้แตกหักและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้กระดูกส่วนนั้นเจริญเติบโตช้ากว่ากระดูกส่วนอื่นของร่างกาย

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งอาการกระดูกหักได้อีกหลายแบบ เช่น

แพทย์จะวินิจฉัยอาการว่าควรจะรักษาด้วยอุปกรณ์ประเภทใด

เมื่อลูกกระดูกหัก พ่อแม่ควรทำอย่างไร

เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่คาดว่าลูกอาจจะกระดูกหัก ควรพาลูกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ในระหว่างที่รอควรให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ อย่าเคลื่อนไหวมาก และปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังต่อไปนี้

แพทย์จะรักษาอย่างไร

การรักษากระดูกหักสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะการหักของกระดูก ความรุนแรง และอายุของเด็ก เมื่อถึงมือแพทย์แล้ว แพทย์จะสอบถามถึงสาเหตุที่ทำให้กระดูกหัก อาการผิดปกติ และประวัติทางการแพทย์อื่น ๆ จากนั้นตรวจดูการเคลื่อนไหวในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและตรวจดูตามข้อต่อด้วย ก่อนจะส่งตัวเด็กไปเอกซ์เรย์ เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

การรักษากระดูกหักทำได้โดยการใช้อุปกรณ์พยุงชั่วคราว การใส่เฝือก และการผ่าตัด โดยปกติหากอาการไม่ได้รุนแรงมากมักได้รับการรักษาโดยการใช้อุปกรณ์พยุงชั่วคราวหรือใส่เฝือก เพื่อป้องกันกระดูกขยับและลดอาการปวดบวม หากกระดูกหักแล้วเคลื่อนผิดไปจากตำแหน่งเดิม แพทย์จะทำการจัดกระดูกให้เข้าที่ก่อนใส่เฝือก บางรายที่กระดูกหักรุนแรงอาจจะต้องผ่าตัดใส่โลหะเพื่อยึดกระดูกเข้าไว้ด้วยกัน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรใช้อุปกรณ์ประเภทใดเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของกระดูกจึงจะเหมาะสมกับเด็ก

หากอาการไม่รุนแรงเด็กสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังรักษา แต่ในรายที่อาการหนักจนต้องรับการผ่าตัดจะต้องนอนพักฟื้นเพื่อดูอาการ ซึ่งระยะเวลาพักฟื้นก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการและบริเวณที่กระดูกหัก เด็กที่กระดูกหักจากแรงอัดธรรมดาใช้เวลารักษาประมาณ 2-3 สัปดาห์ และหายสนิทภายใน 1 เดือน

กระดูกจะสมานกันได้อย่างไร

ใน 2-3 วันแรกหลังจากที่กระดูกหัก ร่างกายจะสร้างลิ่มเลือดรอบ ๆ กระดูกที่หักนั้นเพื่อป้องกันและส่งมอบเซลล์ที่จำเป็นสำหรับการรักษาฟื้นฟู จากนั้นเนื้อเยื่อรอบ ๆ จุดที่กระดูกหักจะฟอร์มตัวเองขึ้นมา เนื้อเยื่อส่วนนี้เรียกว่าแคลลัส (Callus) มันจะช่วยรวมกระดูกที่หักเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกมันจะอ่อนนุ่ม จากนั้นถึงจะแข็งขึ้น และแข็งแรงมากขึ้นอีกในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป

ข้อจำกัดและข้อห้ามสำหรับเด็กใส่เฝือก

ห้ามตัดหรือแกะเฝือกเอง ต้องให้หมอเอาออกให้ตามนัดเท่านั้น

ควรให้ลูกกินอาหารประเภทใดระหว่างพักฟื้น

  1. เน้นอาหารหมู่โปรตีนมาก ๆ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้บาดแผลหายดี
  2. อาหารที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ผักโขม ผักคะน้า ถั่วเหลือง ถั่วงอก
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของหมักดอง อาหารสุกๆดิบๆ และน้ำอัดลม

ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังถอดเฝือก

  1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณใต้เฝือกเบา ๆ ด้วยสบู่และน้ำ สามารถบำรุงผิวให้ชุ่มชื่นด้วยโลชั่น
  2. เริ่มเคลื่อนไหวข้อที่ถอดเฝือกทันทีถ้าทำได้
  3. ถ้าเกิดอาการบวมหลังจากเดินหรือนั่งห้อยแขนห้อยขา ควรยกแขนขาให้สูงกว่าลำตัว โดยวงไว้บนหมอน และขยับข้อบริเวณใกล้เคียงบ่อย ๆ
  4. ยังไม่ควรใช้งานเต็มที่จนกว่ากล้ามเนื้อส่วนนั้นจะแข็งแรงเหมือนเดิม

ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะได้ทราบถึงการสังเกตอาการกระดูกหักในเด็ก รวมทั้งขั้นตอนการรักษาและพักฟื้นของลูกแล้ว ก็ยังต้องช่วยกันป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงแก่เด็กทุกทางด้วยเช่นกันนะคะ พยายามไม่ปล่อยให้เขาอยู่ลับตาเราเวลาเขาเล่นปีนป่าย หากเป็นเด็กเล็กที่เริ่มหัดเดินจะต้องเพิ่มความระวังเวลาเขาขึ้นหรือลงบันได และควรหาอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ทารกน้อยนอนกลิ้งตกเตียงด้วยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th