Site icon Motherhood.co.th Blog

ครีมกันแดดเด็ก ใครว่าไม่สำคัญ

ครีมกันแดดเด็ก

เพราะเด็กมีผิวที่บอบบาง จึงต้องปกป้องผิวเขาจากแสงแดดเช่นกัน

ครีมกันแดดเด็ก ใครว่าไม่สำคัญ

ถึงแม้ตอนนี้จะเข้าหน้าฝน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมว่าบ้านเราเป็นเมืองร้อน ยังไงเราก็หนีแดดแรงไม่พ้นหรอกค่ะ “ครีมกันแดดเด็ก” คือสิ่งที่จะช่วยปกป้องผิวของลูกน้อย แต่ครีมกันแดดสมัยนี้ก็มีให้เลือกมากมายหลายสูตร อาจจะทำให้สับสันได้ว่าครีมกันแดดแบบไหนจะเหมาะสมกับผิวของลูกน้อย ก่อนจะซื้อครีมกันแดดกสักตัวให้ลูกน้อยหรือใช้กับตัวเองก็ตาม มีประเด็นไหนที่ควรคำนึงถึงบ้าง

เลือกค่า SPF ให้เหมาะสม

ค่า SPF คืออะไร

ในแสงแดดจะมีรังสีอยู่ด้วยกัน 2 ตัว คือ UVA และ UVB ในสมัยก่อนเราจะใส่ใจกับรังสี UVB กันมากกว่าเพราะมันแสดงผลต่อผิวเราทันที โดยการทำให้ผิวไหม้ แสบแดง นานวันเข้าก็หมองคล้ำ แต่สมัยนี้เราพบแล้วว่ารังสี UVA ก็อันตรายต่อผิวไม่แพ้กัน เพราะมันมีปริมาณในอากาศมากถึง 75% เลยทีเดียว ต่างกับรังสี UVB ที่จะพบแค่ 25% เท่านั้น และรังสี UVA ก็มีคลื่นที่ยาวกว่าด้วย ทำให้มันมีอาณุภาพทะลุทะลวงผิวเราได้มากกว่า ไม่ใช่แค่ทำให้ผิวเราแสบร้อน ไม่ใช่แค่ผิวคล้ำเสียหมดสวย แต่ความร้ายแรงนี้ถึงขั้นมะเร็งผิวหนังได้เลย

สิ่งที่จะป้องกันรังสี UVB ได้คือค่า SPF (Sun Protection Factor) ตัวเลขที่ระบุกำกับหลังตัวย่อนี้ทำหน้าที่บอกเราว่าเราจะสามารถอยู่ภายใต้แสงแดดได้นานแค่ไหนโดยที่ผิวของเราจะยังไม่ไหม้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยู่กลางแดด 10 นาทีแล้วผิวเราเริ่มไหม้ นั่นแปลว่าผิวเราทนต่อแสงแดดได้ 10 นาที เมื่อเราใช้กันแดดที่มีค่า SPF 15 ผิวเราจะทนแดดได้นาน 10×15 = 150 นาที หรือราวๆ 2 ชั่วโมงครึ่งโดยที่ผิวไม่ไหม้นั่นเอง เราสามารถเทียบค่า SPF กับปริมาณการดูดซับรังสี UVB ได้ตามนี้

ตารางแสดงปริมาณการดูดซับ UVB ของค่า SPF ต่างๆ

จากลิสต์ข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า SPF ที่สูงมากๆนั้นก็ไม่จำเป็นต่อความต้องการของเรา ไม่ว่าจะ SPF30 หรือ SPF60 ก็ให้ผลที่แทบจะไม่แตกต่างกัน องค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึงกำหนดค่า SPF สูงสุดไว้ที่ SPF50+ เท่านั้น เพราะถือว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ชัดว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 50 จะมีประสิทธิภาพในการดูดซับรังสีได้มากขึ้น

การใช้ครีมกันแดด เราควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

สำหรับรังสี UVA สิ่งที่จะป้องกันได้คือค่า PA (Protection Grade of UVA) เป็นค่าที่ริเริ่มโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2006 ในตัว PA เองก็จะมีค่า PPD หรือ Persistent Pigment Darkening ซ้อนอยู่อีกทีนึง ซึ่งเป็นค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA และสามารถแบ่งประสิทธิภาพได้ดังนี้

ตารางประสิทธิภาพของค่า PA ที่กันรังสี UVA

เมื่อดูตามลิสต์นี้ ก็มีแต่ PA++++ เท่านั้นที่จะสามารถป้องกัน Long-UVA ได้ แล้วเจ้า Long-UVA อยู่ๆมาจากไหน มันก็คือรังสี UVA ที่มีลำแสงยาวกว่าปกติมาก ๆ อาณุภาพร้ายกาจที่สุด สามารถทะลุทะลวงลงไปยังชั้นผิิวที่ลึกกว่ารังสีตัวอื่น ทำให้ผิวคอลลาเจน อิลาสติน และความยืดหยุ่น ลองคิดดูว่าสำหรับคนโต ๆแล้วลำแสงพวกนี้ยังทำร้ายผิวเราได้ขนาดนี้ แล้วกับเด็กเล็ก ๆ ละ จะทำร้ายผิวอันบอบบางของพวกเขาได้ขนาดไหน นี่เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมครีมกันแดดสำหรับเด็กถึงไม่ควรถูกมองข้าม

มีปัจจัยอะไรอีกที่ต้องคำนึงถึง

นอกจากค่า SPF และค่า PA แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยก็คือ กิจกรรมที่เราจะทำ ถ้าครอบครัวของคุณชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อย เช่น ไปเที่ยวทะเล ไปปิคนิค ออกเดินทางท่องเที่ยว หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง ก็ต้องหมั่นทาครีมกันแดดซ้ำบ่อย ๆ ยิ่งถ้าชอบเล่นกีฬาทางน้ำด้วยแล้วละก็ ยิ่งต้องเลือกครีมกันแดดที่เป็นสูตรกันน้ำเลย เลือกหาที่สามารถคงประสิทธิภาพของ SPF ไว้ได้หลังจากโดนน้ำไป 80 นาที

หากเล่นกีฬาทางน้ำก็เลือกครีมกันแดดที่กันน้ำ

ครีมกันแดดแบบโลชั่นจะเหมาะสมกับเด็กเล็กมากกว่าแบบสเปรย์ เพราะเด็ก ๆ จะมีโอกาสสูดเอาละอองเข้าไปได้ นอกจากนี้ส่วนผสมก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกครีมกันแดดเด็กที่ไม่มีส่วนผสมของ Oxybenzone, Benzophenone-3, Octyl Methoxycinnamate, Padimate O และน้ำหอม เพราะมีโอกาสสร้างความระคายเคืองแก่ผิวอันบอบบางของเด็กเล็กได้ ส่วนผสมที่ดีของครีมกันแดดควรจะเป็น Zinc Oxide ที่จะช่วยสะท้อนรังสี UV ออกไป ไม่ดูดซับรังสีเอาไว้ ทำให้ผิวระคายเคืองและแพ้ได้ง่าย ส่วนทารกน้อยที่ยังมีอายุไม่ถึง 6 เดือนยังไม่ควรใช้ครีมกันแดด

คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังมองหาครีมกันแดดเด็กเพื่อลูกรักของคุณ ก็สามารถเข้าไปแวะชมในเวบได้นะคะ เพราะการปกป้องผิวจากแสงแดดนั้นสำคัญจริง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยความงามของผู้ใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว แต่ผิวของเด็กน้อยก็ต้องการการปกป้องจากแสงแดดไม่ต่างจากผิวผู้ใหญ่เช่นกันค่ะ

 

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th