Site icon Motherhood.co.th Blog

ตรวจ Covid-19 เขาทำกันอย่างไร?

การตรวจ Covid-19

การตรวจวิเคราะห์ Covid-19 เขาทำกันยังไงบ้างนะ?

ตรวจ Covid-19 เขาทำกันอย่างไร?

สำหรับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ตอนนี้ หลายคนคงกำลังสงสัยว่าหากไปตรวจที่โรงพยาบาล จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อ “ตรวจ Covid-19” มีขั้นตอนในการตรวจอย่างไร เริ่มจากตรงไหน วันนี้ Motherhood จึงจะนำเอาขั้นตอนในการตรวจเบื้องต้นมาสรุปให้อ่านกันค่ะ

คุณสมบัติทางไวรัสวิทยาของไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา อยู่ในวงศ์ Coronaviridae แบ่งเป็น 4 สกุล ได้แก่ Alphacoronavirus Betacoronavirus Gammacoronavirus และ Deltacoronavirus ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุของโรค ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดาจนถึงก่อโรครุนแรง สัญญาณที่พบบ่อยของการติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายหอบใจถี่ และหายใจลำบาก ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นอาจพบอาการปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ไตวาย ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต

ระยะฟักตัวและการแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสโคโรนาสามารถแพร่ผ่านฝอยละอองขนาดใหญ่ (Droplet) และ การติดต่อโดยตรง (Direct contact) โดยจะมีระยะฟักตัวนานเฉลี่ย 14 วัน อาการที่พบได้บ่อยคือ ไข้ไอ หายใจถี่ และหายใจลำบาก ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นอาจพบอาการปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ไตวาย จนถึงขั้นเสียชีวิต

โรงพยาบาลได้จัดจุดตรวจ Drive-thru ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก

การตรวจ Covid-19

1. การตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกโรค

โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีอาการเริ่มต้นคล้ายผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และพัฒนาไปสู่อาการทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอาการดังกล่าวไม่สามารถแยกได้จากโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียตัวอื่นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยแยกโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที

2. การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และห้อง
ปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลราชวิถีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผู้สงสัยติดเชื้อตามนิยามผู้ป่วยที่เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมควบคุมโรค โดยยึดแนวทางการตรวจวิเคราะห์ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ด้วยการตรวจวิเคราะห์ตามวิธีดังต่อไปนี้

2.1 การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ ด้วยวิธี Real-time RT-PCR ต่อ N-gene และ ORF-1b gene ซึ่งหากผลการตรวจเป็นลบ สามารถรายงานผลได้ทันที แต่หากผลการตรวจเป็นบวก ด้วยยีนใดยีนหนึ่งหรือทั้งสองยีนจะดำเนินการตรวจยืนยันอีกครั้ง

2.2 การตรวจยืนยันเชื้อ ที่สามารถตรวจได้ 2 วิธีคือ

การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ

เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมีประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย การเลือกเก็บสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับโรค รวมถึงวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้องจะช่วยให้ผลการตรวจวินิจฉัยมีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ผู้เก็บสิ่งส่งตรวจจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  1.  ควรเก็บตัวอย่างเร็วที่สุด เมื่อผู้ป่วยเริ่มปรากฎอาการของโรค อย่างช้าภายใน 3-5 วัน
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ปอดบวม ปอดอักเสบ ควรเก็บตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และควรเก็บตัวอย่างจากทางเดินหายใจส่วนบนควบคู่ไปด้วยเพื่อเพิ่มโอกาสการพบเชื้อจากการเก็บตัวอย่างหลายระบบ
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หรือ มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เก็บจากระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น nasopharyngeal aspirate, nasopharyngeal wash, nasopharyngeal swab, throat swab โดยในรายที่เก็บโดยใช้ swab ควรเก็บ Nasopharyngeal swab ร่วมกับ Throat swab
  4. เมื่อเก็บตัวอย่างแล้วต้องแช่ในกระติกน้ำแข็งทันทีหรือเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง
เก็บตัวอย่างด้วยวิธี Nasal swab และ Throat swab

วิธีการเก็บตัวอย่าง Nasal swab

ให้ผู้ป่วยเงยหน้าขึ้น เลือกเก็บตัวอย่างจากข้างที่มีน้ำมูกมาก หากจมูกแห้งมาก ให้หมาดหัวสวอปด้วยน้ำเกลือ 1 หยด หมุนสวอปเข้าไปเบา ๆ จนชนผนังจมูก (ที่ความลึกไม่เกิน 1 นิ้ว) หมุนสวอป 2-3 รอบ ให้สัมผัสผนังช่องจมูก ใส่สวอปลงในหลอดเปล่าเก็บสิ่งส่งตรวจที่จัดไว้แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ

วิธีล้างมือที่ดี

การล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอจะช่วยลดการติดเชื้อ และควรจะล้างมือเมื่อ

ล้างมือด้วยวิธีนี้ให้สม่ำเสมอ

วิธีการล้างมือที่มีประสิทธิภาพ จะต้องล้างมือโดยฟอกสบู่ให้ครบ 7 ขั้นตอน ทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง ทำสลับกัน 2 ข้าง ดังนี้

1. ฝ่ามือถูกัน
2. ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วมือ
3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและซอกนิ้วมือ
4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
6. ปลายนิ้วถูฝ่ามือ
7. ถูรอบข้อมือ

หากมีอาการต้องสงสัยและผ่านช่วงการกักตัว 14 วันมาแล้วก็ยังพบอาการอยู่ ก็สามารถเข้าไปตรวจได้ตามจุดตรวจที่ทางกระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้นะคะ อย่างไรแล้วหลาย ๆ คนที่ติดเชื้อก็ไม่ได้ออกอาการรุนแรงนัก ดังนั้นจึงอย่าประมาทว่าตัวเองจะไม่ติดเชื้อ ต้องป้องกันตัวเองทุกครั้งหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกนอกบ้านค่ะ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในสังคม

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th