Site icon Motherhood.co.th Blog

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ

ทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อประหลาด

วิจัยชิ้นใหม่บ่งชี้ว่าทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อมือเท้าที่ประหลาดอยู่

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ

การวิจัยใหม่ตัวหนึ่งที่เพิ่งถูกเปิดเผยในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อน “ทารกในครรภ์” ของมนุษย์มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อชุดพิเศษหลายส่วนตามแขนและขา ซึ่งจะหายไปตามเวลาที่พวกเขาเกิด และกล้ามเนื้อเหล่านี้บางส่วนถูกพบเห็นได้ครั้งสุดท้ายในบรรพบุรุษผู้ใหญ่ของพวกเราเมื่อ 250 ล้านปีก่อน

อ้างอิงจากผู้เขียนงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Development โดยทีมนักชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยฮาวเวิร์ด (Howard University) ของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถติดตามการก่อตัวของชิ้นส่วนร่างกายชั่วคราวเหล่านี้ในมนุษย์ด้วยรายละเอียดที่ดีสักเท่าไรนัก แต่ด้วยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพสามมิติขั้นสูง ผู้เขียนกล่าวว่าพวกมันสามารถให้ภาพที่ชัดเจนที่สุดของการเติบโตของแขนขาของเราในช่วงต้น และยังพออีกว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลก

ค้นพบว่าตัวอ่อนมีกล้ามเนื้อแบบพิเศษที่จะหายไปได้เอง

ยกตัวอย่างเช่น ในมือและเท้าของตัวอ่อนในครรภ์ที่มีอายุเจ็ดสัปดาห์ พวกเขาสามารถมองหากล้ามเนื้อได้ 30 ชิ้นด้วยกัน แต่เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อหนึ่งในสามก็หายไปหรือถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน คู่ของกล้ามเนื้อที่ส่งต่อทางกรรมพันธุ์เหล่านี้เรียกว่า Dorsometacarpales ซึ่งพบได้ในสัตว์ที่มีปีกรวมถึงตุ๊กแกและซาลาแมนเดอ นี่อาจจะเป็นร่องรอยที่เหลืออยู่จากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอดีตเมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างเช่นมนุษย์ในปัจจุบัน

ดร. รุย ดิโอโก หัวหน้าทีมวิจัยบอกว่า “สิ่งที่น่าสนใจคือเราสังเกตเห็นกล้ามเนื้อหลายอย่างที่ไม่เคยมีการอธิบายไว้ในการพัฒนาก่อนคลอดของมนุษย์ และกล้ามเนื้อเหล่านี้บางตัวถูกมองเห็นแม้กระทั่งในทารกอายุ 11.5 สัปดาห์ ซึ่งนับว่าช้ามากสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อนี้ แต่มันอาจเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสร้างกล้ามเนื้อมือแบบตุ๊กแกขึ้นมาทั้งชุดก่อน เพื่อให้ได้กล้ามเนื้อชิ้นพิเศษที่ใช้เสริมสมรรถภาพของนิ้วโป้ง แต่หลังจากนั้น กล้ามเนื้อแบบสัตว์เลื้อยคลานในนิ้วมืออื่นๆก็จะสูญสลายไป เพราะเราไม่จำเป็นจะต้องใช้มันอีก”

มีการสแกนภาพสามมิติของกล้ามเนื้อมือ ซึ่งได้จากทารกในครรภ์ 15 ราย พบว่าชุดกล้ามเนื้อดังกล่าวไม่มีอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมนุษย์วัยผู้ใหญ่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นลักษณะทางกายภาพชั่วคราว ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษและยังคงหลงเหลือให้เห็น

กล้ามเนื้อส่วนที่ค้นพบนี้มีลักษณะคล้ายของตุ๊กแก

อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เหตุใดกล้ามเนื้อมือชุดดังกล่าวจึงสลายไปเป็นส่วนใหญ่เมื่อทารกในครรภ์เติบโตขึ้น แต่พบว่ากล้ามเนื้อของสัตว์เลื้อยคลานที่เหลืออยู่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุดกล้ามเนื้อนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งส่งผลให้นิ้วนี้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเหนือกว่านิ้วอื่นๆ

ก่อนหน้านี้มีการใช้เทคนิคเดียวกันศึกษากล้ามเนื้อเท้าของทารกในครรภ์ และพบว่ามีการพัฒนากล้ามเนื้อชุดพิเศษขึ้นมาเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อมือในช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะสลายตัวไปเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น

แม้ว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากหากเด็กเกิดมาพร้อมกับมัน แต่ผู้เขียนกล่าวว่างานวิจัยของพวกเขาตอกย้ำว่ารูปแบบและความผิดปกติดังกล่าวอาจเกิดจากการพัฒนาล่าช้าของทารกในครรภ์

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th