Site icon Motherhood.co.th Blog

ท้องเสียจะติดโควิด-19 มั้ย จะรู้ได้ยังไงว่าติดหรือเปล่า

ท้องเสียจะติดโควิด-19 มั้ยนะ

งานวิจัยชิ้นใหม่บ่งชี้ว่าอาการในระบบทางเดินอาหารก็เป็นหนึ่งในอาการ Covid-19

ท้องเสียจะติดโควิด-19 มั้ย จะรู้ได้ยังไงว่าติดหรือเปล่า

ในช่วงนี้หลายคนพยายามเช็คอาการของตัวเองกันอยู่ตลอดเวลาเพราะกลัวว่าจะติดเชื้อ Covid-19 กับความสงสัยที่ว่า “ท้องเสียจะติดโควิด-19 มั้ย” อาการท้องเสียคือหนึ่งในอาการบ่งบอกว่าติดเชื้อหรือเปล่า เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าหลาย ๆ คนที่ติดเชื้อไปแล้วก็ไม่ได้มีอาการไข้หนักแต่อย่างใด หรือบางคนก็แทบไม่มีอาการอะไรด้วยซ้ำ แต่ในวันนี้เราจะมาเจาะที่ประเด็นของอาการท้องเสียกันค่ะ

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการ Covid-19 พบอาการบ่างอย่างในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอาการท้องเสียที่เป็นสัญญาณแรกของการเจ็บป่วยตามการศึกษาวิจัยที่ออกมาใหม่ ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งมีอาการในภาพรวมของโรคที่ไม่รุนแรง อาการของระบบทางเดินหายใจจะปรากฏขึ้นภายหลัง และบางคนก็ไม่เคยมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเลย

ผู้คนเช็คอาการที่เป็นสัญญาณของโรคอย่างสม่ำเสมอ

การค้นพบนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ที่ไม่มีอาการคลาสสิกของ Covid-19 เช่น อาการไอ หายใจหอบถี่ และมีไข้ อาจไม่ได้เข้ารับการวินิจฉัยโรคและอาจแพร่กระจายความเจ็บป่วยไปยังผู้อื่นได้ในที่สุด

ถึงกระนั้นก็ตาม พวกเราาทราบดีว่าปัญหาในระบบย่อยอาหารเป็นเรื่องทั่วไป และไม่จำเป็นต้องหมายความว่าบุคคลนั้นมี Covid-19 แต่แพทย์ควรตระหนักว่าอาการในทางเดินอาหารอย่างกะทันหันในผู้ที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ Covid-19 ก็จัดเป็นสัญญาณของโรคได้ ความล้มเหลวในการคัดกรองผู้ป่วยเหล่านี้จะนำไปสู่การแพร่กระจายของโรคโดยไม่รู้ตัว

การศึกษาวิจัยนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รายงานอาการของระบบย่อยอาหารซึ่งเป็นสัญญาณของ Covid-19 เพราะมีตัวอย่างงานวิจัยที่โพสต์ในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมาใน The American Journal of Gastroenterology ว่าในบรรดาผู้ป่วยประมาณ 200 คน ที่โรงพยาบาลสามแห่งในหวู่ฮั่นประเทศจีน ประมาณ 50% มีอาการทางเดินอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และ 18% มีรายงานว่าพบอาการท้องเสีย อาเจียน หรือปวดท้อง อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวและชิ้นอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าผู้ที่มีโรคไม่รุนแรง

ในการศึกษาชิ้นใหม่ นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วย 206 คน ที่โรงพยาบาลยูเนี่ยน โรงพยาบาลถงจีวิทยาลัยในหวู่ฮั่น ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วย Covid-19 สิ่งที่รวมไว้ในการศึกษาวิจัยคือ ผู้ป่วยเพียงแค่มีอาการไม่รุนแรง โดยไม่จำเป็นต้องหายใจลำบากหรือมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำด้วยซ้ำ

โดยรวม ผู้ป่วย 48 ราย (23%) เข้ารับการรักษาเฉพาะอาการทางเดินอาหาร ผู้ป่วย 89 ราย (43%) มีเพียงอาการระบบทางเดินหายใจเท่านั้น และอีก 69 ราย (33%) มีอาการทางเดินหายใจและทางเดินอาหารร่วมกัน

ในบรรดาผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินอาหาร (ผู้ป่วย 117 คน) พบว่ามีอาการท้องเสียประมาณ 67 คน (58%) และในจำนวนนี้มีอาการท้องเสีย 13 คน (20%) เป็นอาการแรกของการเจ็บป่วย อาการท้องเสียของผู้ป่วยใช้เวลา 1-14 วันโดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 5 วัน ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินอาหารไม่เคยมีไข้ร่วมด้วย

งานวิจัยมีการแสดงกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการในระบบทางเดินอาหาร

ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินอาหารมีแนวโน้มที่จะแสวงหาการดูแลสุขภาพช้ากว่าผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจโดยเฉลี่ย 16 วัน จากจุดเริ่มต้นของอาการ เมื่อเทียบกับ 11 วัน สำหรับผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจ ผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินอาหารก็ใช้เวลาในการเคลียร์ไวรัสออกจากร่างกายของพวกเขา (หมายถึงได้ผลตรวจเป็นลบ) โดยเฉลี่ยประมาณ 44 วัน เมื่อเทียบกับ 33 วัน สำหรับผู้ที่มีแต่อาการของระบบทางเดินหายใจเท่านั้น

ในท้ายที่สุด ผู้ที่มีอาการทางเดินอาหารมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 ที่ตรวจพบในอุจจาระของพวกเขาโดยประมาณ 73% มีตัวอย่างอุจจาระเป็นบวก เมื่อเทียบกับ 14% ของผู้ที่มีอาการในระบบทางเดินหายใจเท่านั้น

โดยรวมแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เน้นว่าผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียควรเริ่มสงสัยในการติดเชื้อ Covid-19 ซึ่งเป็นที่สงสัยสำหรับการเจ็บป่วยแม้ในกรณีที่ไม่มีอาการไอหายใจถี่ เจ็บคอ หรือมีไข้ ควรทำการทดสอบ Covid-19 อย่างดีที่สุดโดยใช้ตัวอย่าง0kdระบบทางเดินหายใจและอุจจาระหากสามารถทำได้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th