น้ำดีคั่งในตับ สัญญาณอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง
การเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องระวัง อย่างอาการ “น้ำดีคั่งในตับ” ก็เป็นอีกภาวะอันตรายที่ผู้หญิงท้องทุกคนต้องระวังให้มาก วันนี้ Motherhood จะพาคุณแม่มารู้จักกับอาการนี้และวิธีป้องกันค่ะ
น้ำดีคั่งในตับคืออะไร ?
อาการน้ำดีคั่งภายในตับช่วงตั้งครรภ์ (Cholestasis of pregnancy, Obstetric cholestasis หรือ Intrahepatic cholestasis of pregnancy) คำว่า Cholestasis นั้นประกอบขึ้นจากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ ‘chole’ ที่แปลว่าน้ำดี กับ ‘tasis’ ที่แปลว่านิ่ง อาการน้ำดีคั่งอยู่ในตับจะเกิดขึ้นเมื่อตับไม่สามารถขับถ่ายน้ำดีออกได้อย่างดีพอ ซึ่งจะส่งผลให้แม่ที่ตั้งครรภ์มีอาการคันอย่างรุนแรงที่บริเวณมือและเท้า ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองตอนปลายหรือในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาการนี้ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพของแม่ในระยะยาว หากแต่ส่งผลเสียไปยังทารกในครรภ์
น้ำดีคืออะไร ?
น้ำดีเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับ (Liver) แล้วนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (Gallbladder) ในน้ำดีมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
- เกลือน้ำดี (Bile Salt) มีหน้าที่ทำให้ไขมัน (Fat) แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่าการอีมัลชั่น (Emulsion) จากนั้นจึงถูกไลเปส (Lipase) ย่อยต่อให้กลายเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
- รงควัตถุน้ำ (Bile Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เพราะตับเป็นแหล่งทำลายและกำจัดฮีโมโกลบินออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว โดยจะเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และจากนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลโดยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่
- คอเรสเตอรอล (Cholesterol) หากมีมากเกินไปจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Jaundice) ทำให้มีอาการตัวเหลือง ส่งผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง
น้ำดีจากตับมีหน้าที่ทำลายสภาพความเป็นกรดในลำไส้และช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน ถุงน้ำดีอาจจะอักเสบหรืออุดตันได้เนื่องจากเกิดนิ่วในถุงน้ำดีหรือที่ท่อน้ำดี ทำให้ผู้ป่วยเจ็บบริเวณใต้ชายโครงข้างขวา
อาการของน้ำดีคั่งในตับ
อาการที่พบได้บ่อยสำหรับแม่ตั้งครรภ์มีดังนี้
- คัน: เกิดอาการคันอย่างรุนแรงที่บริเวณมือและเท้า และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน โดยที่ไม่มีผื่น
- ดีซ่าน: ตาขาว ผิว และลิ้น เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือออกส้ม
- ปัสสาวะสีเข้ม: ปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มกว่าปกติ
- อุจจาระสีอ่อน: เมื่อขับถ่ายจะพบว่าอุจจาระมีสีอ่อนกว่าอุจจาระปกติ
- ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า: ภาวะนี้สามารถทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกหมดแรง
- สูญเสียความอยากอาหาร: ภาวนี้ส่งผลต่อความหิวและตารางการรับประทานอาหาร
หากคุณมีอาการคันบริเวณฝ่ามือและฝ่ามืออย่างรุนแรงให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ภาวะน้ำดีคั่งในตับนี้ทางสูติศาสตร์อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อสุขภาพของทารก และหากคุณมีอาการนี้ คุณและลูกน้อยของคุณจะถูกแพทย์ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
สาเหตุคืออะไร ?
ไม่มีเหตุผลใดที่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงเป็นสาเหตุของอาการน้ำดีคั่งในตับตอนตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามมีสมมติฐานว่าปัจจัยของฮอร์โมนและพันธุกรรมอาจมีบทบาทได้
1. ปัจจัยของฮอร์โมน
ผู้หญิงบางคนอาจมีความไวสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะส่งผลต่อตับในทางที่ทำให้น้ำดีเคลื่อนตัวได้ช้าลงเมื่อมันไหลผ่านท่อเล็ก ๆ
2. ปัจจัยทางพันธุกรรม
ผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติเจ็บป่วยด้วยภาวะนี้จะมีโอกาสพัฒนาภาวะนี้ในตัวเองได้มากกว่า เพราะมันเป็นการส่งต่อทางพันธุกรรมแม้จะมีการข้ามรุ่นไปบ้าง แต่ผู้หญิงเหล่านี้อาจมีปัญหาในการรับและผลิตน้ำดีผ่านร่างกาย ในขณะที่ปัญหานี้ไม่ปรากฏชัดเ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ปัญหายิ่งลุกโชนขึ้น
สาเหตุอื่น ๆ สำหรับการพัฒนาของภาวะนี้ยังรวมไปถึงโรค การติดเชื้อ และยาบางชนิดอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำดีคั่งภายในตับ
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของอาการในหญิงตั้งครรภ์ ปัจจัยที่ว่านี้รวมถึง
- หากผู้หญิงมีการตั้งครรภ์หลายครั้ง เธอจะมีโอกาสสูงขึ้นในการเกิดภาวะนี้
- ประวัติก่อนหน้าใด ๆ ของโรคตับหรือการบาดเจ็บสามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวนี้ได้
- ประวัติครอบครัวสามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่าเข้าเงื่อนไข
การวินิจฉัยและทดสอบ
แพทย์จะแนะนำการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะนี้ที่เรียกว่าการทดสอบการทำงานของตับหรือ LFT นอกจากนี้คุณยังสามารถขอทดสอบกรดน้ำดีในซีรั่มได้อีกด้วย หากการทดสอบเป็นลบแต่อาการคันยังคงดำเนินต่อไป แพทย์จะต้องทำการตรวจซ้ำ
นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจหาภาวะนี้ได้เช่นกัน วิธีการนี้สามารถแยกภาวะนิ่วในถุงน้ำดีออกได้ รวมทั้งอาจทำการทดสอบอื่น ๆ เพื่อตัดตัวเลือกของการทำงานของตับที่ผิดปกติ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไวรัส Epstein Barr และ ฉytomegalovirus ก่อนที่จะทำการวินิจฉัยโรคน้ำดีคั่งภายในตับต่อไป
วิธีการรักษา
หากอาการป่วยไม่สาหัสมากหรือเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายอาจจะไม่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่ถ้าอาการหนักมากมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง ควรรีบรับการรักษาโดยด่วน โดยการรักษานั้นจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการคันเป็นหลัก รวมทั้งป้องกันอาการผิดปกติและผลกระทบอื่น ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นกับทั้งแม่และทารกในครรภ์ด้วย
แพทย์อาจสั่งยา Ursodeoxycholic acid ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อลดอาการคันและทำให้น้ำดีไหลเวียดได้ดีขึ้น รวมทั้งยาทาที่จะช่วยให้อาการคันลดลง ในกรณีที่อาการไม่ได้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรง
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคน้ำดีคั่งในตับนั้นจะมีปริมาณวิตามินเคในร่างกายต่ำ อาจจะทำให้เกิดการตกเลือดได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรที่จะรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเคหรือวิตามินเสริมโดยตรง รวมทั้งต้องกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรักษาสมดุลของอาหารด้วยอาหารที่มีน้ำมันและไขมันน้อยที่สุด เพื่อลดความดันในตับของคุณ
บรรเทาอาการคันได้อย่างไร ?
แม้ว่าการนำมือหรือเท้าไปแช่ในน้ำอุ่นอาจจะบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราว แต่ก็พอจะทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง การใช้เบคกิ้งโซดาหรือแอปเปิลไซเดอร์ (Apple cider) ผสมน้ำอุ่นเพื่อแช่ หรือใช้น้ำมันบำรุงผิวทาหลังอาบน้ำ ก็จะช่วยบรรเทาให้อาการคันหายไปได้บ้าง
นอกจากนี้ยังควรลดอุณหภูมิของห้องโดยปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้ลดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าห่มขณะที่คุณนอนหลับ ควรอาบน้ำทันทีก่อนเข้านอนและควรอาบด้วยน้ำเย็น แต่ควรใช้สบู่อ่อน ๆ เท่านั้นเพื่อไม่ให้ระคายเคืองผิวมากขึ้น และสวมเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้ผิวหนังของคุณหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนของน้ำดีคั่งในตับระหว่างการตั้งครรภ์
ภาวนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และเด็ก แม้ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกมากกว่า ดังนั้น ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ภาวะน้ำดีคั่งภายในตับที่มีขึ้นระหว่าการตั้งครรภ์สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- ผลกระทบต่อแม่ มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการจะสามารถส่งผลกระทบชั่วคราวไปยังการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันในร่างกาย อาการคันมักจะหายไปเองภายในไม่กี่วันหลังคลอดและอาการจะไม่ส่งผลระยะยาวต่อตับ
- ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทางสูติศาสตร์พบว่าทำให้ทารกเกิดก่อนกำหนดแม้ว่าจะไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด ทารกในครรภ์มีของเหลวที่รู้จักกันในนามของ ขี้เทา (Meconium) ที่สามารถรั่วไหลเข้าไปในน้ำคร่ำ หากทารกในครรภ์สูดดมมันเข้าไประหว่างการคลอด ทารกจะมีอาการแทรกซ้อนจากการหายใจ และอาจทำให้ทารกในครรภ์ตายเมื่อเข้าไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดการตายเนื่องจากภาวะนี้ และแพทย์อาจจะพิจารณาทำคลอดภายในสัปดาห์ที่ 37
สำหรับคุณแม่ที่มองหาสมุนไพรหรือพีชมาเป็นทางเลือกในแก้ปัญหาเรื่องน้ำดี พึงระลึกไว้เสมอว่าการจะใช้การรักษาทางเลือกหรืออาหารเสริมใด ๆ ควรได้รับอนุญาตจากแพทย์และควรแจ้งรายการอาหารเสริมที่ใช้ให้แพทย์ทราบอยู่ตลอด เพราะผลกระทบจากการใช้งานนั้นสามารถแตกต่างกันไปได้ตามแต่ละบุคคล ที่สำคัญคือเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ค่ะ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th