Site icon Motherhood.co.th Blog

มดลูกต่ำ ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง ?

ภาวะมดลูกต่ำ

ภาวะมดลูกต่ำอาจส่งผลกับการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

มดลูกต่ำ ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง ?

“มดลูกต่ำ” เป็นปัญหาสุขภาพจากอวัยวะสืบพันธุ์ภายในที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงชีวิตครอบครัว แต่ก็ยังมีวิธีป้องกันและแก้ไขโรคนี้ได้ เพียงแค่เราสังเกตอาการและรู้วิธีจัดการปัญหาอย่างถูกต้อง

มดลูกต่ำคืออะไร ?

มดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) คือ ภาวะที่มดลูกหย่อนหรือเลื่อนหลุดลงต่ำมาอยู่ที่ช่องคลอด โดยทั่วไปแล้ว มดลูกมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน รูปร่างคล้ายกับลูกแพร์กลับด้าน และจะมีกล้ามเนื้อที่ห้อยอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบและกระดูกหัวหน่าวทำหน้าที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ เข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังมีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดมดลูกให้อยู่ในอุ้งเชิงกราน หากเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย ก็จะส่งผลให้มดลูกหย่อนตัวลงไปที่ช่องคลอด

เริ่มแรกจะรู้สึกถึงความหน่วงอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกหย่อนมักมีอวัยวะอื่นภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนลงมาด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้  โดยภาวะมดลูกหย่อนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้

1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง

2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด

3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดบางส่วน

4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด หรือที่เรียกว่ามดลูกย้อย (Procidentia) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ

อาการที่พบ

ภาวะมดลูกหย่อนจะมีอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้หญิงที่มีอาการมดลูกหย่อนเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น ส่วนผู้หญิงที่มีภาวะมดลูกหย่อนค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก อาจมีอาการ ดังนี้

หากอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้นและแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น ปัสสาวะและขับถ่ายลำบาก หรือพบว่ามดลูกหย่อนออกมาทั้งหมด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะเกิดความเสี่ยงต่อปัญหาของระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ในระยะยาวได้

หากรู้สึกว่ามีอาการต้องรีบพบแพทย์ เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบอื่น

สาเหตุของมดลูกต่ำ

ภาวะมดลูกหย่อนเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่รองรับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพลง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ประกอบด้วย

นอกจากนี้ อาการข้อเคลื่อนหลุดง่าย กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan Syndrome) ซึ่งส่งผลต่อหลอดเลือด ดวงตา และกระดูก และโรคผิวหนังยืดผิดปกติ ก็มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในร่างกายเสื่อมสภาพลง นำไปสู่ภาวะมดลูกหย่อนได้เช่นกัน

การรักษา

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะช่วยป้องกันได้

วิธีดูแลและป้องกัน

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะดังกล่าวอาจลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตัว ดังนี้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th