Site icon Motherhood.co.th Blog

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตรายต่อทั้งแม่และลูก

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดแม้พบได้ไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตรายต่อทั้งแม่และลูก

แม้ว่าคนเป็นแม่จะพยายามรักษาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์มากแค่ไหน แต่เรื่องไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างเช่นอาการ “รกลอกตัวก่อนกำหนด” ที่ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ มาติดตามกันค่ะว่าใครบ้างที่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ และเราจะสามารถป้องกันมันได้หรือไม่

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดคืออะไร

รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta หรือ Placental abruption) หมายถึง ภาวะที่รกซึ่งเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของโพรงมดลูกในตำแหน่งปกติ แต่เกิดมีโรคหรือมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์ถูกกระทบกระเทือน มีบุตรมาแล้วหลายคน หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด จนทำให้รกเกิดการลอกตัวจากผนังมดลูกหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ไปจนก่อนถึงกำหนดวันคลอด และพบได้มากในแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 7 เดือนขึ้นไป ซึ่งรกอาจลอกตัวออกมาเพียงบางส่วน (Partial) หรือลอกตัวทั้งหมด (Total) ก็ได้ ซึ่งการลอกตัวของรกนี้ทำให้มีเลือดออกระหว่างผนังมดลูกกับตัวรก เมื่อมีเลือดออกมากก็จะทำให้รกลอกตัวจากผนังมดลูกมากขึ้น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดนี้ พบได้ในอัตรา 1 จาก 200 คน

ภาวะนี้เป็นภาวะที่ร้ายแรงแต่พบได้ไม่บ่อยนัก หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีหรือแพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้า ก็จะเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างมาก เพราะมีโอกาสจะเสียชีวิตได้ทั้งคู่ และไม่ว่ารกจะลอกตัวเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม ก็จะทำให้มีเลือดออกจากตำแหน่งที่รกเกาะ เลือดจะไหลไปแทรกอยู่ระหว่างถุงน้ำคร่ำกับผนังมดลูก จากนั้นเลือดจะไหลผ่านปากมดลูกออกสู่ช่องคลอด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

ลักษณะการลอกของรกมีด้วยกัน 3 รูปแบบ

โดยภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดสามารถแบ่งตามระดับรุนแรงได้ดังนี้

อาการรกลอกตัวก่อนกำหนด

คุณแม่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ไปแล้ว ร่วมกับมีอาการปวดท้องและท้องเกร็งแข็งเป็นพัก ๆ คล้ายว่าจะคลอด ถ้ามีความรุนแรงน้อย ทารกในครรภ์จะยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเป็นมากหรือมีเลือดออกรุนแรง คุณแม่จะมีอาการซีด ตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว ความดันตก หากใช้เครื่องฟังตรวจเสียงหัวใจของทารกก็จะไม่ได้ยิน เนื่องจากทารกเสียชีวิตแล้ว และถ้าคลอดออกมา คุณแม่อาจมีอาการตกเลือดอย่างรุนแรง

หากตรวจสอบเสียงหัวใจของทารกไม่ได้เนื่องจากทารกเสียชีวิตแล้ว และปล่อยให้เหตุการณ์นี้ดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข อาจตรวจพบจุดเลือดออกตามแขนขาของคุณแม่ เนื่องจากระบบการแข็งตัวของเลือดได้สูญเสียไป

ต้องรีบวินิจฉัยอาการโดยด่วน จะได้แก้ไขความผิดปกติได้ทัน

การรักษา

หากแพทย์วินิจฉัยว่าคุณแม่เป็นโรคนี้จะต้องรีบรักษาในทันที ถ้ายังตรวจพบว่าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ แพทย์มักจะผ่าตัดทำคลอดให้ แต่ถ้าทารกเสียชีวิตแล้วก็อาจจะรอให้คลอดออกมาเองโดยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการช็อกจากการตกเลือดภายในมดลูกและการตกเลือดหลังคลอด ในบางรายแม้ว่าทารกจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่คุณแม่มีอาการของโรคที่รุนแรงหรือมีเลือดออกมาก อาจต้องมีการให้เลือดทดแทน รวมทั้งต้องทำการผ่าตัดทำคลอดเพื่อช่วยเหลือชีวิตคุณแม่ไว้ก่อน

สำหรับการรักษา โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มจากการให้น้ำเกลือ เตรียมให้เลือด ให้ออกซิเจน ตรวจติดตามการเต้นของหัวใจทารก แก้ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติที่เป็นสาเหตุให้เลือดออกมากผิดปกติ เจาะถุงน้ำคร่ำในกรณีที่ปากมดลูกเปิดมากแล้วหรือทารกในครรภ์เสียชีวิตแล้ว เพื่อให้คลอดออกมาทางช่องคลอด หากทารกอยู่ในภาวะเครียดหรือผิดปกติ และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานหากจะให้คลอดทางช่องคลอด แพทย์อาจตัดสินใจผ่าตัดทำคลอดได้

ส่วนในรายที่เลือดออกไม่มากและทารกยังแข็งแรงดี (วัดจากการได้ยินเสียงหัวใจของทารกเป็นปกติ) แพทย์จะให้คุณแม่นอนพักในโรงพยาบาลจนกว่าเลือดจะหยุดไหล หลังจากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ และนัดมาตรวจดูอาการอย่างใกล้ชิด

ภาวะแทรกซ้อน

มีหนทางป้องกันหรือไม่?

  1. หมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  2. ต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ให้มาก
  3. ควรระวังไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th