Site icon Motherhood.co.th Blog

ลำไส้แปรปรวน เด็กๆก็เป็นได้ ป้องกันแก้ไขให้ถูกจุด

โรคลำไส้แปรปรวน

เดี๋ยวลูกก็ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก เป็นลำไส้แปรปรวนหรือเปล่านะ

ลำไส้แปรปรวน เด็กๆก็เป็นได้ ป้องกันแก้ไขให้ถูกจุด

ไม่กี่ปีมานี้ มีอยู่โรคหนึ่งที่ผู้คนหลากเพศหลายวัยเป็นกันแบบหาสาเหตุไม่พบ นั่นก็คือโรค “ลำไส้แปรปรวน” คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็น่าจะเคยสงสัยอยู่บ้างว่าอาการเกี่ยวกับท้องไส้ ที่ลูกของเราเดี๋ยวปวดนั่น มีแก๊สนี่ มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ไปกินอะไรผิดสำแดงมาซะหน่อย ผักผลไม้รึเราก็ให้ลูกกินไม่ขาด หรือลูกเป็นลำไส้แปรปรวนกันแน่นะ แล้วอาการนี้มันเกิดมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มาทำความรู้จักอาการของโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคไอบีเอส (IBS) คือ โรคลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง ซึ่งอาการปวดท้องจะดีขึ้นหลังขับถ่าย หลังจากนั้นก็กลับมาปวดท้องใหม่ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ท้องผูก ท้องเสีย โดยเฉพาะหลังกินอาหาร หรือเมื่อตื่นนอนต้องรีบขับถ่าย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย เป็นๆหายๆ บ่อยครั้งอุจจาระคล้ายมีมูกปน แต่ไม่มีเลือดปน หรืออั้นอุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้ได้มากกว่า มักพบมากในช่วงวัยรุ่นตอนปลายถึงช่วงประมาณอายุ 40 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศหญิง แต่ในวัยเด็กก็สามารถพบได้เช่นกัน ซึ่งอาการที่เกิดกับเด็กทารกอาจจะต้องดูแลเคร่งครัดเรื่องอาหารการกินมากกว่าเด็กโตพอสมควร อาการของโรคนี้อาจไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย

อาการเด่นๆคือ เพิ่งกินอาหารเสร็จก็รู้สึกปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำทันที

อาการของโรค

ในผู้ที่ป่วยลำไส้แปรปรวนจะมีอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ปวดท้องมากหลังรับประทานอาหาร และอาการจะดีขึ้นหลังการขับถ่าย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระแข็งหรือนิ่มกว่าปกติ อุจจาระไม่สุด อุจจาระมีเมือกใสหรือสีขาวปนออกมา อั้นอุจจาระไม่อยู่ หรืออาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หมดแรง ปวดหลัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น

ในผู้ป่วยวัยทารก อาการของโรคมักรุนแรงขึ้นเมื่อกินอาหารที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายเช่น ผัก ผลไม้บางชนิด และการดื่มนม โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนนมผงใหม่ ลูกน้อยกินนมแล้วมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก และมีลมในกระเพาะ

ความเครียด รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทานเข้าไปอาจเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้อาการแย่ลง ลำไส้แปรปรวนแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

สาเหตุของโรค

ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอาการลำไส้แปรปรวนเกิดจากสาเหตุใด เพราะมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวการหรือตัวกระตุ้นทำให้ลำไส้เกิดอาการแปรปรวนได้ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปวดท้องเพราะมีแก๊ส บางครั้งท้องเสีย แต่บางทีก็ท้องผูกแทน

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะตรวจอาการของโรคโดยทั่วไปว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีอาการของโรคลำไส้แปรปรวนหรือไม่ เช่น รู้สึกเครียดหรือรู้สึกรีบในขณะขับถ่าย รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด มีเมือกปนออกมาด้วย มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง อาการปวดท้องแย่ลงหลังรับประทานอาหาร ได้มีการใช้ยาความดันโลหิตสูง วิตามินเสริมธาตุเหล็ก ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร การแพ้อาหาร การติดเชื้อ การย่อยอาหาร โรคลำไส้อักเสบ รวมถึงเคยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือไม่ แพทย์จะหาสาเหตุจากโรคอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันก่อน หากตรวจไม่พบความผิดปกติจากโรคอื่นๆ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเกิดจากโรคลำไส้แปรปรวน และอาจมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

หากท้องผูกบ่อยต้องรีบรักษา ก่อนจะลุกลามไปเป็นริดสีดวง

การรักษาโรค

ในการรักษาทำได้โดยบรรเทาอาการของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติมากที่สุด ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงรักษาได้โดยจัดการกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต หรือต้องใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

ในเด็กโตอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด พ่อแม่ต้องหมั่นพูดคุยกับลูก

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงอย่างที่หลายคนคิดกัน จึงไม่มีผลข้างเคียงแทรกซ้อน และไม่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ แต่อาการของโรคจะทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมเปลี่ยนแปลงไป ส่วนผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวารร่วมด้วย ก็สามารมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้

การป้องกันโรค

ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่ออาการและความรุนแรงของโรค คือความเครียด ในผู้ป่วยที่มีความเครียดมีแนวโน้มจะทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือท้องเสียบ่อยครั้ง หรือทำให้อาการรุนแรงขึ้น การจัดการกับความเครียดจึงเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการ

ได้รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะมีโรคร้ายแทรกซ้อนนะคะ หลักก็คือกินยารักษาไปตามอาหาร และหมั่นสำรวจอาหารให้ดี ที่สำคัญต้องดูแลเรื่องความเครียดของลูกด้วยค่ะ เพราะมีส่วนมากที่จะทำให้อาการกำเริบ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.thร