Site icon Motherhood.co.th Blog

ลูกกลัวผี พ่อแม่จะแก้ไขเรื่องนี้ยังไง

ทำไงดีลูกกลัวผี

สอนลูกยังไง ไม่ให้เป็นเด็กกลัวผี

ลูกกลัวผี พ่อแม่จะแก้ไขเรื่องนี้ยังไง

พ่อแม่หลายคนคงจะเกิดประสบการณ์ว่าเมื่อลูกน้อยโตขึ้นมาถึงวัยหนึ่ง ก็เริ่มพบว่า “ลูกกลัวผี” ขึ้นมาเสียอย่างนั้น บางทีก็ไม่กล้าอยู่ในห้องคนเดียว ไม่กล้าเข้าห้องน้ำคนเดียว หรือกลัวในเวลาที่ต้องปิดไฟมืดสนิทตอนเข้านอน วันนี้ Motherhood นำเอาเทคนิคดี ๆ มาช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับปัญหานี้ เพื่อไม่ให้เจ้าตัวน้อยของคุณกลัวผีจนติดไปถึงตอนโตค่ะ

แก้ไขปัญหาลูกกลัวผี

อย่าขู่ลูกด้วยเรื่องผี

เวลาที่เด็กไม่เชื่อฟังคุณ พ่อแม่ไม่ควรใช้เรื่องผีมาหลอกเพื่อให้เขาหยุดดื้อหรือทำตามคำสั่งของคุณได้ทันที เช่น พูดว่า “ถ้าไม่นอนหลับเดี๋ยวนี้ ผีจะมาหลอกนะ” คำพูดเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกเชื่อฟังและทำตามเพราะความกลัว แต่มันเป็นการปลูกฝังให้เด็กเชื่อและกลัวผีอย่างไม่มีเหตุผลต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเด็กถูกหลอกให้กลัว ความกลัวนั้นจะฝังอยู่ในความรู้สึกของเขา เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กเสื่อมถอย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นได้ บางครั้งอาจจะทำให้เด็กกลายเป็นคนไม่กล้าแสดงออก กลัวความมืด หรือขาดการมีจินตนาการในเชิงบวกได้

สอนด้วยเหตุผลที่แท้จริง

พ่อแม่ควรสอนแต่ความเป็นจริง ใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลอธิบายให้ลูกฟัง พูดให้เขารู้ว่าผลดีผลเสียของการกระทำคืออะไร เช่น ถ้าลูกไม่ยอมเข้านอน จะต้องบอกว่าถ้าไม่นอนตอนนี้ พรุ่งนี้จะตื่นสาย หากตื่นสายแล้วก็จะอดทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากเขาเข้านอนตั้งแต่ตอนนี้ เขาจะตื่นเร็ว และมีเวลาทำกิจกรรมที่เขาอยากทำ

สื่ออนไลน์เรื่องผีแพร่หลายมาก พ่อแม่ต้องคอยคัดกรอง

คัดกรองสื่อที่ลูกเสพ

พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องใส่ใจการเสพสื่อต่าง ๆ ของลูกไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์ เพื่อทำหน้าที่คัดกรองการรับสื่อของพวกเขา ไม่ให้ลูกต้องพบกับภาพอันน่าหวาดกลัว ภาพที่มีความรุนแรง ไม่เหมาะสม จนทำให้เขาเก็บเอาไปฝันร้ายได้

ฝึกให้ลูกอยู่ตามลำพังบ้าง

หากคุณอยากให้ลูกมีจิตใจที่แข็งแกร่ง คุณต้องค่อย ๆ ฝึกฝนเขาไปทีละเล็กละน้อย คุณอาจเริ่มการฝึกจากการให้เขาอยู่คนเดียว โดยที่มีคุณอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรืออยู่คนเดียวในที่ที่มีแสงไฟส่องสว่าง เช่น เข้าห้องน้ำคนเดียว นอนในห้องคนเดียว ในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่เป็นเพื่อนคุยใกล้ ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยเริ่มฝึกให้เขาอยู่คนเดียวในสถานที่มืดหรือน่ากลัวมากขึ้น เช่น เข้าไปหยิบของคนเดียวในห้องที่ไม่ได้เปิดไฟ และเมื่อลูกทำได้ คุณต้องไม่ลืมที่จะกล่าวชมเชยเขาเสมอ

ให้เวลาลูกได้เรียนรู้

อาการกลัวผีของเด็กนั้นเป็นความกลัวที่เกิดขึ้นตามวัย ไม่ต่างอะไรกับการที่เด็กบางคนกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเด็กบางคนกลัวความมืด ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเอง เมื่อลูกเติบโตและเข้าใจอะไรได้มากขึ้น เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้การดุหรือการตี เมื่อพบว่าลูกเกิดความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล สิ่งที่คุณควรทำคือพยายามพูดคุยและทำความเข้าใจกับลูกโดยใช้เหตุผล แล้วลูกจะค่อย ๆ โตขึ้นอย่างมีความเข้าใจที่ถูกต้อง

การขู่ลูกให้กลัวมีผลเสียต่อพัฒนาการของเขามากมาย

ผลเสียจากการหลอกให้ลูกกลัว

ความกลัวที่ฝังอยู่ในความนึกคิดของเด็กนั้นสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเรียนรู้ ซึ่งผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก มีดังนี้

คนในครอบครัวก็สำคัญ

บางครั้งคนในครอบครัวกันเองก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ เพราะสาเหตุการกลัวผีของเด็กส่วนหนึ่งก็มาจากคนในครอบครัว เช่น ญาติที่คอยช่วยเลี้ยงลูก หรือพี่เลี้ยงเด็ก ในบางครั้งที่เด็กดื้อ ไม่เชื่อฟัง คนเหล่านี้อาจจะหาทางออกที่ดีในการจัดการกับเด็กไม่ได้ เลยใช้คำขู่เข้าช่วยเพื่อหวังให้เด็กทำตามโดยง่าย แม้จะมีเจตนาดีที่อยากให้เด็กปฏิบัติตามคำสอนหรือเชื่อฟังอย่างมีวินัย แต่เด็กไม่รู้ว่าความจริงแล้วผีคืออะไร เขารู้อย่างเดียวว่าผีนั้นน่ากลัว หากไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ผีก็จะมาหา เด็กเล็ก ๆ จะจำฝังหัวไว้แค่นี้ ซึ่งจะส่งผลเสียตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือต้องกำชับทุกคนในครอบครัวที่เกี่ยวข้อง ว่าไม่ให้นำเอาเรื่องผีมาขู่เด็กเป็นอันขาด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th