Site icon Motherhood.co.th Blog

10 คำแนะนำ เพื่อความปลอดภัยของลูก ที่พ่อแม่ทุกคนควรจะเรียนรู้

10 คำแนะนำเพื่อ ความปลอดภัย ของ ลูก ที่ พ่อแม่ ทุกคนควรจะเรียนรู้

การนอนอย่างปลอดภัย

# เด็กเล็กควรจะนอนหงาย ตั้งแต่ปี 1992 เมื่อคำแนะนำในการเลี้ยงลูกเปลี่ยนจากการให้เด็กนอนคว่ำเป็นนอนหงาย อัตตราการเสียชีวิตของทารกในประเทศแถบยุโปรตะวันออกได้ลดลงไปกว่าสามเท่า

# ผ้าห่มซึ่งบุผ้าสองชั้นสามารถขัดขวางการหายใจของทารกได้ระหว่างที่นอน ที่นอนแข็งๆที่ปูด้วยผ้าตึงๆแค่นั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับทารก

# กระป๋องโค้กควรจะสามารถลอดผ่านซี่กรงเปลนอนได้ ระยะห่างขนาดนี้เหมาะที่สุดสำหรับการป้องกันไม่ให้เด็กทารกต้องติดอยู่ระหว่างซี่ลูกกรงของเปล

# เด็กทารกเวลาที่นอนหลับไม่ควรจะถูกห่อตัวด้วยผ้าพันคอ เสื้อหนาๆ หมวกหรือไทน์ หรือของเล่นอะไรก็ตามแต่

การป้องกันการตกและการบาดเจ็บ

# คิดตั้งรั้วเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เมื่อพูดถึงบันได ควรอย่างยิ่งที่จะมีรั้วกั้นเอาไว้ทั้งด้านบนและด้านล่างของบันได

# อย่าลืมที่จะคาดเข็มขัดให้ทารกเวลาที่ต้องจับเจ้าตัวน้อยนั่งเก้าอี้หรือรถเข็น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความซน

# ถ้าเจ้าตัวน้อยเคลื่อนที่ไปมาในบ้านได้ด้วยเครื่องช่วยเดิน คอยดูให้พวกเขาอยู่ห่างจากบันได อุปกรณ์ทำความร้อน และรั้วลวด

# ติดตั้งซี่กรงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุบริเวณหน้าต่าง แต่มันจะต้องสามารถถอดออกได้ในกรณีที่เกิดไฟไหม้

# ติกตั้งอุปกรณ์ยึดให้กับเฟอร์นิเจอร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งตู้สูง) และเฟอร์นิเจอร์อย่างอื่นที่สามารถล้มคว่ำได้

การป้องกันเด็กกจากการขาดอากาศหายใจ

# ต้องแน่ใจว่าของเล่นของลูกต้องไม่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เด็กสามารถแกะออกมาและกลืนลงคอได้

# อาหารสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบไม่ควรจะเป็นของกลมๆแข็งๆ อย่างเช่นไส้กรอกหั่น ลุกอมแข็งๆ องุ่น หรือข้าวโพด

# เก็บเส้นลวดหรือสายกีต้าร์ให้ห่างจากมือเด็ก ย้ายเปลนอน ของเล่น และเฟอร์นิเจอร์อะไรก็ตามของลูกให้ห่างจากของอันตรายเหล่านั้น

# นานๆครั้ง ลองคลานสี่ขาไปรอบๆห้อง – ซักพักคุณจะเห็นว่ามีของอะไรบ้างที่ลูกสามารถเอาใส่ปากได้

# ฝึกการช่วย CPR และวิธีการสำหรับช่วยคนที่เกิดอาการหายใจติดขัดเผื่อเวลาที่จำเป็น

ความปลอดภัยจากไฟ

# ซ่อนไม้ขีดไฟและไฟแช็คให้ห่างจากมือเด็ก อย่าเก็บไฟแช็คและของเล่นอะไรก็ตามที่อาจทำให้เกิดไฟได้ไว้ในบ้าน

# อย่าอุ้มลูกเวลาที่ต้องทำอาหาร คอยระวังที่หนีบผมและที่เป่าผม ถอดปลั๊กออกทุกครั้งหลังจากที่ใช้เสร็จ และซ่อนมันไว้ให้พ้นมือลูก

# ทำอาหารโดยใช้หัวเตาด้านใน พยายามกันอาหารร้อนๆให้ห่างจากมือลูก  หันด้านจับของกระทะเข้าด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

# พยายามอย่าให้ลูกของคุณทำกิจกรรมข้างๆเตาทำอาหาร และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันรอบๆเตาเพื่อความปลอดภัย

# ติดตั้งสัญญาณกันไฟไหม้ไว้ในบ้าน – นี่จะช่วยลดเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตได้แบบครึ่งต่อครึ่ง

ป้องกันสารพิษ

# ถ้าคุณสงสัยว่าลูกแอบกลืนของอันตรายลงท้องไปหรือเปล่า อย่าพยายามบังคับให้ลูกอ้วกหรือคายเอาของออกมาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน

# มากกว่าครึ่งของอาการอาหารเป็นพิษในเด็กเกิดจากการกินยาผิด พยายามเก็บยา (แม้แต่วิตามิน) ให้ห่างจากมือลูก อย่าเรียกยาว่า ลูกอม เวลาที่ต้องป้อนยาลูก – นั่นอาจทำให้ลูกเข้าใจผิดได้

# ติดที่ล็อคแบบพิเศษที่ตู้เก็บยาและอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน

# เก็บอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์และแกดเจ็ตที่มีแบตแบบลิเธี่ยมให้ห่างจากมือเด็ก ของเหล่านี้ได้แก่นาฬิกา รีโมทคอนโทรล เทียนไฟฟ้า ไฟฉายและอื่นๆ

# เก็บเบอร์โทรศัพท์ของคลีนิคใกล้ๆที่สามารถให้คำแนะนำคุณได้หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

อันตรายจากน้ำ

# เวลาที่อาบน้ำในอ่าง อย่าลืมระบายน้ำทิ้งหลังจากที่เสร็จกิจ ฝาโถส้วม ประตูห้องน้ำ และห้องซักผ้าควรจะถูกปิดอยู่ตลอดเวลาเพื่อกันอุบัติเหตุ

# สระน้ำในสวน (หรือแม้แต่ถังใส่น้ำหรือบ่อเก็บน้ำ) ควรจะมีรั้วกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กตกลงไป

# ครอบครัวมากกว่าครึ่งเชื่อว่าถ้าลูกว่ายน้ำเป็น นั่นหมายความว่าพ่อกับแม่ไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูลูกเวลาที่อยู่ในน้ำ แต่ที่จริงแล้ว มากกว่า 47 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่จมน้ำอายุตั้งแต่ 10 ถึง 17 ที่จริงแล้วว่ายน้ำเป็น

# กฏข้อหนึ่งที่พ่อแม่ควรรู้คือ อุบัติเหตุในน้ำมักจะเกิดอย่างเงียบเชียบและรวดเร็วภายใน 1 นาที ดังนั้น ระวังลูกของคุณให้ดี และอย่าเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองด้วยการอ่านหนังสือ คุยโทรศัพท์ หรือทำอย่างอื่น

ท่านั่งตัว W

# ท่านั่งตัว W เป็นท่านั่งที่เห็นได้บ่อยๆและเป็นท่านั่งสุดสบายของเด็กๆ อย่างไรก็ตาม ท่านั่งท่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพ มันอาจทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงเกี่ยวกับกระดูก พัฒนาการที่ล่าช้าเกี่ยวกับการทรงตัวและการควบคุมร่างกาย และทักษะการเคลื่อนไหวที่พัฒนาได้ไม่เต็มที่

# วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เด็กๆนั่งท่าตัว W คือการป้องกันไม่ให้ท่านั่งแบบนี้กลายไปเป็นความเคยชิน ดังนั้น ตั้งตาดูและคอยเตือนลูกทุกครั้งที่เห็นเขานั่งในท่านี้

# ถ้าคุณเห็นว่าเจ้าตัวน้อยนั่งในท่าตัว W บ่อยๆ พยายามแนะนำให้ลูกเปลี่ยนไปนั่งท่าอื่น ตัวอย่างเช่น คุณอาจให้ลูกนั่งโดยยืดขาออกตรงหรือนั่งเบี่ยงหัวเข่าไปด้านข้าง นี่จะส่งผลดีกับการเจริญเติบโตของเด็กและช่วยเกี่ยวกับพัฒนาการของเขา!

ในรถ

# เด็กเล็กสามารถนั่งในที่นั่งของผู้ใหญ่ได้ถ้ามีความสูงเกินกว่า 140 เซนติเมตรและมีน้ำหนักอย่างน้อย 32 กิโลกรัม ถ้าเด็กตัวโตเกินกว่าจะนั่งในเบาะสำหรับเด็กและเบาะสำหรับผู้ใหญ่ คุณอาจต้องการเก้าอี้แบบพิเศษที่ไม่มีพนักพิง

# ที่นั่งสำหรับเด็กอายุต่ำกว่าสองขวบควรจะถูกวางในรถแบบหันหลัง ก่อนที่คุณจะสตาร์ทรถ พยายามลองคาดเข็มขัดนิรภัย ถ้ามันหลวมไปให้ปรับใหม่ เข็มขัดนิรภัยไม่ควรจะหลวมเกิน 2 ถึง 3 เซน

# ถ้าลูกของคุณต้องใช้ที่นั่งแบบปกติ พวกเขาจำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เข็มขัดจะต้องพาดผ่านช่วงหน้าอกและไหล่ของเด็ก ห้ามพาดผ่านคอ ในขณะที่ส่วนล่างของเข็มขัดควรที่จะพาดผ่านช่วงเอว ไม่ใช่ช่วงท้อง

# เก็บอาหาร ของขวัญขนาดใหญ่ และอะไรก็ตามที่สามารถเคลื่อนไหวไปมาในรถได้เวลาที่เบรคให้ห่างจากเด็ก

ปั่นจักรยาน

# ถ้าคุณซื้อจักรยานให้ลูก โรลเลอร์สเก็ต หรือสกูตเตอร์ ต้องแน่ใจว่าคุณได้ซื้อหมวกกันน็อคให้กับลูกด้วย นี่เป็นของสิ่งเดียวที่สามารถป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสมอง

# ชุดของเด็กๆเวลาที่ปั่นจักรยานควรจะเป็นสีสด มีอะไรก็ตามที่สามารถสะท้อนแสงได้ จักรยานจะต้องติดตั้งไฟหน้าและไฟด้านหลังของรถด้วย

# ก่อนที่ลูกจะออกไปปั่นจักรยาน ดูให้แน่ใจว่าไฟรถจักรยานสามารถใช้ได้ปกติ ดูว่าเบรคใช้ได้หรือไม่ และเช็คสภาพล้อของรถว่าปกติหรือไม่

# ก่อนจะปล่อยลูกออกไปปั่นจักรยาน สอนให้พวกเขาใช้อายส์คอนแท็คและวิธีใช้สัญญาณมือกับทั้งคนขับรถและคนเดินถนน

***

ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th

หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood