Site icon Motherhood.co.th Blog

35 วิธีเก็บเงิน เพื่อเตรียมตัวมีลูก

วิธีเก็บเงินสำหรับลูก

นี่คือ 35 วิธี ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินได้มากขึ้นเพื่อลูก

35 วิธีเก็บเงิน เพื่อเตรียมตัวมีลูก

เรารู้ว่าทุกคนไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักออมเงิน แต่หากตอนนี้คุณกำลังวางแผนที่จะมีลูกน้อย การเรียนรู้ “วิธีเก็บเงิน” และวิธีจัดการงบประมาณเป็นสิ่งที่คุณต้องทำอย่างแน่นอน โชคดีสำหรับคุณที่ Motherhood ได้รวบรวม 51 วิธีง่าย ๆ แต่ได้ผล ในการประหยัดเพื่อลูกน้อย ติดตามเคล็ดลับของเราได้ด้านล่างนี้

เสื้อผ้าเด็กมือสองที่คุณภาพดีมีขายกันมากมายในโซเชียล

1. ซื้อเสื้อผ้าและของใช้มือสอง

สมัยนี้กรุ๊ปตามโซเชียลมีเดียมากมายที่เปิดให้คนเข้าไปขายชุดคลุมท้องมือสอง เสื้อผ้าเด็ก รถเข็น คาร์ซีท รวมถึงเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านอีกหลายชนิด สภาพก็ยังดีอยู่เป็นส่วนมาก

2. ยืมเปลเด็กมาใช้

เปลเด็กส่วนใหญ่สามารถใช้งานได้จนกว่าทารกจะเริ่มกลิ้งไปมาได้ ดังนั้น พยายามหาเปลที่คุณสามารถยืมมาใช้ได้ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของทารก

3. ซื้อแบบยั้งมือ

หากคุณไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ใดจะเหมาะกับทารกมากที่สุด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับขวดนม จุกนมหลอก หรือแม้แต่ผ้าอ้อม) ให้ซื้อแค่ขั้นต่ำไปก่อนในตอนแรก จากนั้นค่อยซื้อตุน เมื่อคุณทราบความชอบของทารก

4. ไม่จำเป็นต้องตรวจครรภ์เยอะ

ยังไม่ท้องใช่มั้ย ? ซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ไว้เพียง 3 ชุด ก็พอ (ไม่ต้องมีมากกว่านี้) หากคุณมีสต็อกไว้เยอะ คุณมีแนวโน้มที่จะลงเอยด้วยถังขยะที่เต็มไปด้วยชุดตรวจครรภ์

5. เริ่มการใช้ผ้าอ้อมแบบเบสิคก่อน

เริ่มใช้ผ้าอ้อมสำหรับทารกเพียงแค่แพ็คเดียวก่อน เพราะทารกอาจจะยังไม่สามารถใส่มันได้พอดีด้วยซ้ำในช่วงแรก แต่ในที่สุดเขาก็จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อมาตุนไว้เยอะ

6. ให้นมลูกให้นานที่สุด

การให้นมผงนั้นทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และแน่นอนว่านมแม่นั้นดีสำหรับทารกอยู่แล้ว

7. ใช้เครื่อมปั๊มนม

เพื่อให้คุณสามารถให้นมลูกได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และนมจะได้ไม่ขาดสต็อก ทารกก็จะได้ไม่ต้องพึ่งการกินนมผง

เตียงเด็กแบบปรับได้เป็นทางเลือกที่ประหยัดกว่า

8. ซื้อเตียงเด็กอ่อนแบบปรับได้

เปลที่สามารถปรับให้เป็นเตียงสำหรับเด็กวัยหัดเดินจะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ไปอีกหลายปี

9. สืบราคาให้ดี

ทำการบ้านก่อนที่จะซื้ออะไรสักชิ้นหนึ่งเสมอ เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าสินค้าตัวไหนจะคุ้มค่าเงินของคุณที่สุด

10. ให้แม่หรือป้ามาช่วยเลี้ยง

เพราะครอบครัวสามารถเปลี่ยนเป็นทรัพยากรในการดูแลเด็กที่มีค่าที่สุดของคุณได้อย่างรวดเร็ว

11. เหมาโหลถูกกว่า

คุณรู้ว่าคุณต้องการซื้อสิ่งของอีกมากมาย เช่น ผ้าอ้อม นมผง หากคุณมีพื้นที่มากพอสำหรับการจัดเก็บ คุณก็ควรตุนไว้แบบยกโหล เพราะจะได้ราคาที่ถูกกว่า

12. ทำอาหารสำหรับทารกเอง

เมื่อทารกเริ่มกินอาหารแข็ง ให้โยนผักที่ปรุงสุกแล้วลงในเครื่องปั่นพร้อมกับของเหลวเล็กน้อย และเก็บมันไว้ในถาดน้ำแข็ง จำนวนเงินที่คุณจะประหยัดได้นั้นช่างคุ้มค่ากับความพยายาม

13. ประดิษฐ์ของใช้เอง

การทำงาน DIY นั้นเป็นสิ่งที่กินเวลา แต่มันก็ช่วยให้คุณประหยัดเงินได้นะ

14. ลืมพวกของเล่นหรูหราไปก่อน

ซื้อของเล่นแบบธรรมดาทั่วไปก็เพียงพอแล้วสำหรับทารก

15. ทำอาหารกินเอง

การกินอาหารนอกบ้าน การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ หรืออาหารสำเร็จรูป เป็นสิ่งที่ทำให้สิ้นเปลืองกว่าการประกอบอาหารกินกันเอง

การทำอาหารกินเองจะได้อาหารที่ควบคุมคุณภาพได้ดี

16. เลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบปรับได้

เช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์สิ่งของต่าง ๆ เช่น คาร์ซีท หรือรถเข็นเด็กที่สามารถปรับให้เติบโตไปพร้อมกับทารก เป็นการลงทุนที่ล้ำค่า

17. ไม่ต้องซื้อรองเท้ามาก

ก่อนที่ลูกน้อยจะเดินได้ รองเท้าก็ยังไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสักเท่าไหร่ เพียงแค่มีถุงเท้าให้เขาใส่เพื่อความอบอุ่นก็เพียงพอแล้ว

18. ดูแลสุขภาพกายและใจของคุณเอง

ดูแลตัวคุณเองและคู่ของคุณให้ดี เพราะการมีสุขภาพดีนั้นสามารถช่วยให้คุณประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มากโข

19. ซื้อสินค้าแบรนด์ทั่วไปและราคาไม่แพง

ตราสินค้าสำหรับเด็กนั้นสร้างความแตกต่างได้มากขนาดนั้นเชียวเหรอ ? จำไว้ว่าลูกน้อยของคุณจะได้อยู่ในชุดนั้นแค่เพียงไม่กี่เดือน ดังนั้น จงต่อต้านความอยากที่จะช็อปเสื้อผ้าแบรนด์ดัง

20. ผลิตภัณฑ์ดูแลความปลอดภัย

การเตรียมบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุสามารถช่วยคุณประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้

21. ใส่ชุดคลุมท้องเมื่อคุณต้องการจริง ๆ

ละเว้นความต้องการซื้อชุดคลุมท้องเพียงเพราะคุณรู้สึกตื่นเต้นที่จะตั้งครรภ์

22. เก็บเสื้อผ้าของทารกไว้สำหรับพี่น้องในอนาคต

หากคุณไม่ได้วางแผนที่จะมีลูกเพิ่ม ให้บริจาคชุดสำหรับทารกเพื่อช่วยผู้ยากไร้

23. ลองทำงานจากที่บ้าน

คุณแม่หลายคนสามารถสร้างสมดุลระหว่างการทำงานพาร์ทไทม์กับการดูแลลูกน้อยได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีนี้ คุณจะไม่ต้องเสียเงินไปกับการดูแลเด็ก และทำให้คุณได้รับรายได้พิเศษอีกด้วย

เลือกประกันสุขภาพที่เงื่อนไขครอบคลุม

24. ซื้อประกันที่ดีเตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณทราบถึงนโยบายของบริษัทประกันของคุณก่อนที่จะตั้งครรภ์ และแน่ใจว่าคุณจะได้รับความคุ้มครอง

25. ลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์

การเป็นโรคอ้วนเพิ่มค่ารักษาพยาบาล และยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

26. พิจารณาการใช้ผ้าอ้อมผ้า

ผ้าอ้อมผ้านั้นประหยัดกว่าแต่ก็แลกมากับการที่คุณต้องซักผ้าเองเพิ่มขึ้น

27. บริจาคของเล่นและอุปกรณ์เก่าที่คุณมี

สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้คนอื่นประหยัด หรือได้ของเล่นที่พวกเขาไม่เคยมีมาก่อน แต่ใบเสร็จรับเงินบริจาคเหล่านั้นยังมีประโยชน์ในเวลาเสียภาษีอีกด้วย

28. ทำบัญชีสม่ำเสมอ

หากคุณตระหนักถึงการใช้จ่ายของคุณ ก็ควรทำบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นประจำ

29. เลือกซื้อของลดล้างสต็อก

คุณสามารถจัดตู้เสื้อผ้าสำหรับทารกในราคาที่ถูกได้ ลองปรึกษากุมารแพทย์ของลูกคุณเกี่ยวกับแผนภูมิการเติบโตของทารกเพื่อคาดเดาขนาดตัวของเขา

30. หยอดกระปุกออมสิน

หยอดเงินที่คุณได้รับทอนลงในกระปุกทุกวัน สุดท้ายคุณอาจจะพบว่าคุณมีงบก้อนเล็ก ๆ สำหรับวันหยุดพักผ่อนช่วงสุดสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึง

31. ก่อนที่คุณจะซื้ออะไร โปรดแน่ใจว่าคุณต้องการมันจริง ๆ

พ่อแม่มือใหม่หลายคนบ่นถึงอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้มากมาย หากคุณยังไม่แน่ใจว่าควรลงทุนกับอะไร ให้ลองถามคนรอบตัวที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน

32. อย่าซื้อด้วยอารมณ์

ถึงการพูดมันจะง่ายกว่าการทำ แต่เมื่อฮอร์โมนตั้งครรภ์ของคุณกำลังพุ่งพล่าน พยายามอย่าซื้อของในขณะที่คุณรู้สึกอ่อนไหวมาก ความตื่นเต้นที่แม่มีอาจนำไปสู่การซื้อของสำหรับทารกมากเกินไป

คิดอยู่เสมอว่าซื้อของเล่นที่ลูกชอบ ไม่ใช่ของคุณเอง

33. จำไว้ว่าคุณกำลังซื้อของให้ใคร

อย่าซื้อของเล่นที่คุณชอบ แต่จงซื้อของที่เด็ก ๆ ชอบ

 34. ซื้อผ้าอ้อมเด็กที่ดีที่สุด

ผ้าอ้อมราคาถูกอาจจะดูเหมือนช่วยคุณประหยัดเงิน แต่คุณจะประหยัดเงินได้ในระยะยาวโดยหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดและโยนเสื้อผ้าบางชุดทิ้งไปเพราะผ้าอ้อมราคาถูกมันเอาไม่อยู่

35. การมีลูกแฝดก็ไม่ได้หมายถึงต้องซื้อเบิ้ลเสมอไป

มีลูกแฝดเหรอ ? ต่อต้านความต้องการที่จะซื้อทุกอย่าง 2 ชิ้นสำหรับเจ้าตัวน้อยทั้งสอง เพราะพวกเขาสามารถแบ่งกันใช้ได้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th