Site icon Motherhood.co.th Blog

คู่มือพ่อแม่ รับมือกับเด็กเล็กเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก”

พ่อแม่ห่างลูก

เรียนรู้วิธีรับมือกับลูกน้อย เมื่อคุณต้องห่างลูก

คู่มือพ่อแม่ รับมือกับเด็กเล็กเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก”

ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณร้องไห้หรือเกาะติดคุณแจเมื่อคุณกำลังเดินออกจากห้องหรือเปล่า ? ลูกอาจกำลังประสบกับความวิตกกังวลเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก” คุณควรเรียนรู้วิธีระบุสัญญาณและช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายใจเมื่อไม่มีคุณ

หากการจากลาเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้องและน้ำตา ลูกน้อยของคุณอาจมีความวิตกกังวลจากการพลัดพราก ฟราน วัลฟิช นักจิตบำบัด ผู้เขียน The Self-Aware Parent อธิบายว่า “เมื่อเด็กๆ เริ่มเดิน พวกเขายืนยันความเป็นอิสระและย้ายห่างจากพ่อแม่ แต่พวกเขายังไม่พร้อมที่จะแยกจากกันโดยสิ้นเชิง” เมื่อลูกวัยเตาะแตะอยู่ห่างจากคุณ พวกเขาอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องอยู่เคียงข้างคุณอย่างมาก เนื่องจากพวกเขาต้องการความคุ้นเคยและความปลอดภัยที่คุณมอบให้

ติดตามบทความรี้ต่อไปเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการห่างจากพ่อแม่ของเด็กวัยหัดเดิน พร้อมเคล็ดลับในการคลายความกังวลทุกครั้งที่คุณเดินออกจากประตู

เด็กจะรู้สึกไม่ปลอดภัยหากต้องห่างกับผู้ดูแล
ความวิตกกังวลในการแยกห่างคืออะไร ?

ไม่ว่าคุณจะส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็กหรือทิ้งให้เขาอยู่บ้านกับคุณยาย การอำลาก็อาจเป็นเรื่องยาก ถึงตอนนี้ ลูกวัยเตาะแตะของคุณเข้าใจความคงอยู่ของวัตถุแล้ว มันแนวคิดที่ว่าบางสิ่งยังคงมีอยู่เมื่อไม่สามารถมองเห็นหรือได้ยิน (แม้แต่แม่และพ่อเช่นกัน) แต่เด็กวัยหัดเดินยังไม่สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องเวลาได้ การปล่อยให้พวกเขาอยู่ในห้องนอนสัก 2-3 นาทีหรืออยู่กับพี่เลี้ยงสัก 2-3 ชั่วโมง ก็รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นเวลาที่เท่ากันสำหรับพวกเขา สิ่งนี้น่ากลัวสำหรับเด็ก เพราะเด็กวัยหัดเดินเชื่อว่าการอยู่รอดของพวกเขาขึ้นอยู่กับการมีผู้ดูแลหลักอยู่ใกล้ ๆ

มิแรนดา กู๊ดแมน-วิลสัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ Eckerd College ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐฟลอริดา กล่าวว่า “ฟังดูน่าขัน ความวิตกกังวลอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความมีอิสระที่เพิ่มขึ้นของเด็ก พวกเขามีความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่พ่อแม่ไม่ควรทิ้งเขาไว้ และต้องการควบคุม”

อะไรทำให้เกิดความวิตกกังวลนี้ในเด็กวัยหัดเดิน ?

สถานการณ์ต่อไปนี้อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ในเด็กและเด็กวัยหัดเดิน

การกล่าวคำอำลา: เด็กวัยเตาะแตะกำลังพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านร่างกายมากขึ้น อย่างการเริ่มวิ่งหรือกินอาหารเอง และทุกความท้าทายใหม่ที่พวกเขาเผชิญอาจทำให้เกิดความเครียด ดร. วัลฟิชกล่าว เป็นผลให้พวกเขารู้สึกขัดแย้งกับการอยู่ห่างจากความปลอดภัยของพ่อแม่ เด็กวัยหัดเดินต้องการความมั่นใจว่าเมื่อคุณจากไป คุณจะกลับมาเสมอ

การรวมกลุ่มขนาดใหญ่: การไปชุมนุมใหญ่สามารถกระตุ้นความวิตกกังวลให้กับลูกวัยเตาะแตะซึ่งอาจกลัวที่จะสูญเสียคุณไปท่ามกลางฝูงชน

เข้านอน: การทิ้งลูกให้อยู่ในห้องตอนกลางคืนหรืองีบหลับอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวล เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเป็นช่วงที่อยู่คนเดียวยาวนานที่สุดที่เด็กประสบอยู่เป็นประจำ

อาการวิตกกังวลเมื่อแยกจากพ่อแม่

ดร. อีริน บอยด์-ซัวซง รองศาสตราจารย์ด้านการพัฒนามนุษย์ที่ Messiah College รัฐเพนซิลเวเนีย กล่าวว่า “ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ โดยทั่วไปมักพบบ่อยที่สุดระหว่าง 8-18 เดือน”

อาการมักจะเริ่มเมื่อผู้ดูแลจากไป เด็กอาจเกาะติด โวยวาย หรือต่อต้านผู้ดูแลคนอื่นเพื่อพยายามเกลี้ยกล่อมพ่อแม่ไม่ให้ไป พวกเขาอาจแสดงอาการกลัวและกระสับกระส่ายเมื่อพ่อแม่อยู่ในอีกห้องหนึ่ง เมื่อเขาถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังก่อนนอน หรือเขาถูกส่งตัวไปที่สถานรับเลี้ยงเด็ก

การปะทุมักจะบรรเทาลงเมื่อผู้ดูแลไม่อยู่ในสายตา ดร. บอยด์-ซัวซง กล่าวว่า “ความวิตกกังวลนี้ทำให้เด็กใกล้ชิดกับผู้ดูแล ซึ่งเป็นแหล่งของความรักและความปลอดภัย”

ความวิตกกังวลนี้จะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น
เด็กวัยหัดเดินจะก้าวพ้นมันได้ไหม ?

ความวิตกกังวลนี้ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่ความรู้สึกที่คล้ายกันอาจกลับมาในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วยเหตุผลอื่น “เมื่อเด็กวัยหัดเดินเริ่มโตหรือเด็กก่อนวัยเรียนป่วยหรือมีความเครียด” ดร. บอยด์-ซัวซง กล่าว “ตัวอย่างเช่น เด็กวัย 2 ขวบส่วนใหญ่ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กมาระยะหนึ่งมักจะสบายดีเมื่อพ่อแม่กลับออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเริ่มป่วยหรืออยู่ภายใต้ความเครียด ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาจะติดพ่อแม่ตอนไปส่ง”

มั่นใจได้ว่าพฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาและจะหายไปเมื่อเวลาผ่านไป เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่มีกรอบเวลาสำหรับเวลาที่แน่นอนว่าอาการจะหายไปช่วงใด อาจใช้เวลา2-3 เดือนกว่าที่ความวิตกกังวลของเด็กจะคลายไป ดังนั้น ให้เตรียมพร้อมกับอาการที่อาจจะกลับมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกิจวัตรเปลี่ยนไปเนื่องจากการลาพักร้อน การเจ็บป่วย หรือการย้ายถิ่นฐาน

พ่อแม่ควรกังวลหรือไม่ ?

แม้ว่าอาจเป็นเรื่องยากที่จะได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ แต่พึงระลึกว่าความวิตกกังวลจากการพลัดพรากนั้นมีผลดี มันบ่งชี้ว่าความผูกพันที่ดีได้ก่อตัวขึ้นระหว่างผู้ดูแลและเด็ก

ดร. จูเลีบ เอฟ. ฮีเบอร์ล รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ Albright College รัฐรัฐเพนซิลวาเนียกล่าวว่าคุณควรยังคงเฝ้าดูลูกของคุณเพื่อดูว่าความวิตกกังวลจากการพลัดพรากของลูกดูรุนแรงหรือไม่ ดร.ฮีเบอร์ลแนะนำให้วิเคราะห์สถานการณ์โดยรอบความรู้สึกของลูก มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครอง การหย่าร้าง หรือสิ่งผิดปกติในการดูแลเด็กหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น อาการวิตกกังวลในการพลัดพรากอาจจะขยายมากขึ้น หากเด็กวัยหัดเดินแสดงอาการมากเกินไป เช่น อาเจียนหรือกังวลอย่างไม่ลดละ ให้ติดต่อกุมารแพทย์ของคุณ

รับมืออย่างไรเมื่อต้องห่างลูก ?

ความวิตกกังวลจากการพลัดพรากในเด็กวัยหัดเดินอาจนานหลายเดือนหรือหลายปี แต่คุณสามารถบรรเทาอาการต่างๆ ได้ด้วยวิธีมากมาย ทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อช่วยขจัดความกังวลของลูกน้อย

บอกลากันสั้น ๆ: เมื่อใดก็ตามที่คุณทิ้งลูกไว้ ให้เตือนเธอล่วงหน้าว่าจะมีพี่เลี้ยงมาถึงหรือคุณจะไปส่งเธอ จากนั้นจึงบอกลากันสั้น ๆ หากคุณทำตัวกระวนกระวายหรือกลับไปกอดลูกอีกครั้ง เด็กจะยิ่งคิดว่ามีบางอย่างที่ต้องกังวล หลีกเลี่ยงการย่องออกไปด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กกังวลว่าคุณอาจหายตัวไปโดยไม่มีการเตือน และส่งผลให้ลูกยิ่งติดคุณมากขึ้น พยายามสื่อว่านี่เป็นการห่างกันเพียงชั่วคราวและไม่เป็นเหตุให้ตื่นตระหนก

สร้างพิธีสำหรับการบอกลา: มันจะช่วยพัฒนาให้ทำเป็นกิจวัตรได้ คุณอาจจะพูดว่า “แม่จะกลับมาหาลูกหลังเลิกงาน รักลูกนะ” แล้วกอดลูกและจากไป การบอกลาเหมือนเดิมทุกครั้งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เด็กเริ่มคุ้นเคยจากการอยู่กับคุณเป็นการไม่มีคุณ

สถานรับเลี้ยงเด็กมักเตรียมกิจกรรมไว้พร้อม เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เด็ก

เตรียมกิจกรรม: ขอให้พี่เลี้ยงเด็กหรือครูรับเลี้ยงเด็กเตรียมกิจกรรมให้พร้อมทันทีที่คุณส่งลูกทิ้งไว้กับพวกเขา การทำให้เด็กมีร่วมในเกมปรบมือหรือของเล่นชิ้นใหม่จะทำให้เด็กไม่ต้องนึกถึงความจริงที่ว่าคุณกำลังจะจากไป

อย่าปัดเป่าความวิตกกังวลของลูก: พยายามรับทราบถึงความวิตกกังวลในการพลัดพรากของเด็กวัยหัดเดิน คุณสามารถพูดว่า “แม่รู้ว่าหนูกำลังจะมีช่วงเวลาที่ดีจริง ๆ กับคุณย่า แต่ไม่เป็นไรถ้าหนูคิดถึงแม่ หนูสามารถบอกคุณย่าว่าคุณคิดถึงแม่”

เอาใจใส่บุตรหลานของคุณในการรวมกลุ่มขนาดใหญ่: เมื่อคุณมาถึงสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก หลีกเลี่ยงการผลักดันให้ลูกวัยเตาะแตะโต้ตอบโดยไม่มีคุณ ให้รอจนกว่าเขาจะสนใจคนอื่น แต่อย่าเดินเตร่และหายตัวไปถ้าเขายอมให้ใครมาสร้างความบันเทิงให้เขา เขาอาจยอมรับการถูกใครบางคนมาเล่นด้วย แต่เพียงไม่กี่นาทีต่อมาก็ตัดสินใจว่านี่มันมากเกินไป เตรียมพร้อมที่จะตักเตือนเขาถ้าเขาอารมณ์เสีย การผลักดันเขาเกินขีดจำกัดจะทำให้การเข้าร่วมกลุ่มกับคนหมู่มากในครั้งต่อไปยากขึ้น และอย่าเครียดหากคุณต้องอยู่เคียงข้างลูกน้อยตลอดเวลา “คุณไม่ได้ทำให้เขาพิการ คุณกำลังให้การสนับสนุน ซึ่งจะช่วยให้เขารู้สึกสบายใจในสภาพแวดล้อมทางสังคมในอนาคต” ดร. วอลฟิช รับรอง

ทำกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย: จัดลำดับกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การอาบน้ำ ตามด้วยนิทานหรือเพลง วิธีนี้จะช่วยให้เด็กผ่อนคลายในความคิดที่ว่าเวลาเข้านอน (และเวลาอยู่คนเดียว) กำลังจะมาถึง ให้ของเล่นที่น่ารักกับลูกที่เขาสามารถจับได้หรือของเล่นแบบมีเสียงที่ผ่อนคลาย เช่น คลื่นทะเล สิ่งนี้จะทำให้ความเงียบในห้องของลูกไม่ชัดเจนเกินไปนักเมื่อคุณไม่อยู่

ของเล่นแบบมีเสียงผ่อนคลายก็เป็นตัวช่วยที่ดีเวลานอน

ให้อิสระกับเธอหลังจากงีบหลับ: หากลูกตื่นจากการงีบหลับและกำลังเล่นอยู่ในเปลอย่างมีความสุข อย่ารีบเข้าไปหา ต้องให้ลูกของคุณมีโอกาสได้สัมผัสกับความรู้สึกที่ได้อยู่คนเดียวและมีช่วงเวลาที่ดี การพบว่าว่าตัวพอใจกับสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความเป็นอิสระของเด็ก รวมทั้งช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นสำหรับตัวเขาเองในระยะยาว

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th