Site icon Motherhood.co.th Blog

อธิบายเรื่องไวรัสโคโรนา ยังไงให้เด็กเข้าใจ

การอธิบายเรื่องไวรัสโคโรนา

พ่อแม่จะอธิบายสถานการณ์ไวรัสโคโรนากับลูกได้อย่างไรบ้าง

อธิบายเรื่องไวรัสโคโรนา ยังไงให้เด็กเข้าใจ

ด้วยสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ คงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะ “อธิบายเรื่องไวรัสโคโรนา” ให้กับลูก ๆ อย่างจริงจังเสียที เด็ก ๆ หลายคนที่โตพอสมควร ที่เริ่มไปโรงเรียนประถมแล้ว ก็อาจจะได้ยินเรื่องราวมาบ้างแล้วจากที่โรงเรียน จากการดูทีวี หรือจากคนรอบตัว แต่กับเด็กที่เล็กกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่าจะพูดเรื่องนี้กับลูกอย่างไร เกี่ยวกับการเกิดโรคระบาด ด้วยวิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ มั่นใจและไม่ทำให้กังวลว่าพวกเขาติดโรคเข้าแล้วหรือเปล่า วันนี้ Motherhood มีขั้นตอนการพูดคุยกับลูกเรื่อง Covid-19 มาแนะนำค่ะ

ค้นหาว่าลูกรู้อะไรแล้วบ้าง

ถามคำถามที่เหมาะกับระดับอายุของเด็ก สำหรับเด็กโตคุณอาจถามว่า “คนในโรงเรียนกำลังพูดถึง Coronavirus หรือเปล่า พวกเขาพูดว่าอะไรกันบ้าง” สำหรับเด็กเล็กคุณอาจพูดว่า “หนูเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดถึงโรคชริดใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า” การถามคำถามพวกนี้ให้โอกาสคุณในการเรียนรู้ว่าเด็ก ๆ รู้เกี่ยวกับมากแค่ไหน และเพื่อดูว่าพวกเขาได้ยินข้อมูลที่ผิดมาหรือไม่

ให้ลูกนำทาง เด็กบางคนอาจต้องการใช้เวลาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ถ้าลูก ๆ ของคุณดูเหมือนจะไม่สนใจ หรือไม่ถามคำถามมากมายนักก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลมากเกินไป เนื่องจากเด็กจะรู้สึกว่าข้อมูลมันมากเกินไปสำหรับเขา

หากคุณไม่รู้คำตอบ ก็หาแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้และเรียนรู้ไปกับลูก

มอบการปลอบโยน และพูดไปตามจริง

อย่ากลัวที่จะพูดถึงมัน เด็กส่วนใหญ่จะเคยได้ยินเกี่ยวกับไวรัสนี้ หรือเห็นคนที่ใส่หน้ากากอยู่แล้ว ดังนั้นคุณจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องนี้ การไม่พูดอะไรบางอย่างอาจทำให้เด็กกังวลมากขึ้นก็เป็นได้ ให้มองว่าการสนทนานี้เป็นโอกาสในการถ่ายทอดความจริงและกำหนดอารมณ์ความรู้สึกของลูก ในขณะที่เด็กมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องพวกเขาจากความทุกข์และความกังวล

มุ่งเน้นการช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย แต่จงซื่อสัตย์ และอย่าเสนอรายละเอียดมากกว่าที่ลูกของคุณสนใจ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กถามเกี่ยวกับการปิดโรงเรียน ก็ให้ตอบไปตามความเป็นจริง แต่ถ้าลูกไม่ได้เปิดหัวหัวข้อสนทนาอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องยกหัวข้อนั้นขึ้นมา

หากลูกของคุณถามเกี่ยวกับบางสิ่งและคุณไม่รู้คำตอบ ให้บอกเขาตามตรง คุณสามารถพูดได้ว่า “แม้ว่าเราจะไม่ได้รับคำตอบทุกอย่างในตอนนี้ แต่เมื่อไหร่ที่เรารู้มากขึ้น แม่หรือพ่อก็จะบอกให้ลูกรู้แน่นอน” ใช้คำถามของลูกเป็นโอกาสที่จะค้นหาข้อมูลไปด้วยกัน ตรวจสอบเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคต่าง ๆ สำหรับข้อมูลล่าสุดที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับไวรัวโคโรนา ด้วยวิธีนี้คุณจะได้ข้อเท็จจริง และเด็ก ๆ จะไม่เห็นหัวข้อข่าวเกี่ยวกับความตายหรือข้อมูลที่น่ากลัวอื่น ๆ

พูดอย่างใจเย็นและให้ความอุ่นใจ อธิบายว่าคนส่วนใหญ่ที่ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นหวัดหรือเป็นไข้หวัด เด็กเก็ยมันขึ้นมาคิดเมื่อเขาเห็นพ่อแม่กังวล ดังนั้นเมื่อคุณพูดถึง Covid-19 และข่าวที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้เสียงที่ราบเรียบและพยายามอย่าอารมณ์เสีย

จัดการกับความวิตกกัลวลของตัวเองเสียก่อน เมื่อคุณรู้สึกวิตกกังวลหรือตื่นตระหนกมากที่สุด นั่นไม่ใช่เวลาที่จะพูดคุยกับลูก ๆ ของคุณเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น หากคุณสังเกตเห็นว่าตัวเองรู้สึกกังวล ให้ใช้เวลาสักพักเพื่อสงบสติอารมณ์ ก่อนที่จะลองพูดคุยหรือตอบคำถามลูกของคุณ

ให้พื้นที่สำหรับเด็กเพื่อแบ่งปันความกลัวของพวกเขา เป็นเรื่องธรรมดาที่เด็ก ๆ จะต้องกังวลว่า “ฉันจะเป็นคนต่อไปรึเปล่า?” บอกให้ลูกของคุณรู้ว่าเด็ก ๆ ไม่ค่อยจะไม่ป่วยเหมือนผู้ใหญ่ ให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาสามารถมาหาคุณเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้พวกเขากลัว

รู้ว่าเมื่อใดที่พวกเขาต้องการคำแนะนำ ระวังในการรับข่าวสารและข้อมูลของลูก โดยเฉพาะเด็กโตที่ใช้ออนไลน์ ชี้ทางเขาไปที่เนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเจอกับรายการข่าวที่ทำให้พวกเขากลัวหรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เป้าหมายของคุณคือหลีกเลี่ยงการส่งเสริมจินตนาการที่น่ากลัว

สอนเขาเรื่องล้างมือ และทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเสมอ

ช่วยให้เด็กรู้สึกว่าทุกอย่างจะอยู่ในการควบคุม

สอนในสิ่งที่ลูกของคุณสามารถทำได้ ให้รู้สึกว่าเขาควบคุมสถานการณ์อยู่ เด็ก ๆ จะรู้สึกมีพลัง เมื่อพวกเขารู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้พวกเขาปลอดภัย เรารู้ว่าไวรัสโคโรนานั้นส่วนใหญ่แพร่กระจายโดยการไอและสัมผัสพื้นผิว แนะนำให้ลูกล้างมือให้สะอาด เพราะเป็นวิธีหลักในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดังนั้นเตือนเด็ก ๆ ว่าพวกเขาต้องดูแลตัวเองด้วยการล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาที หรือเท่ากับความยาวของเพลง “Happy Birthday” 2 รอบ ล้างมือหลังจากพวกเขากลับมาจากข้างนอก ก่อนที่พวกเขาจะกิน และหลังจากสั่งน้ำมูก ไอ จาม หรือเข้าห้องน้ำ อธิบายว่าการล้างมือด้วบสบู่ล้างมือเป็นประจำยังช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วย ที่สำคัญต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ลูก ๆ ของคุณเห็นคุณล้างมือบ่อย ๆ

ยึดให้เป็นนิสัย สิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่ง หากโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กตอนกลางวันปิดลง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังดูแลลูกเหมือนกับที่คุณทำในช่วงปิดภาคฤดูร้อน กิจวัตรประจำวันที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งประกอบด้วยมื้ออาหารและเวลานอนเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เด็ก ๆ มีความสุขและมีสุขภาพที่ดี

พูดคุยเกี่ยวกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้คนปลอดภัยและมีสุขภาพดี เด็กเล็กอาจมั่นใจได้ว่าโรงพยาบาลและแพทย์พร้อมที่จะดูแลผู้ป่วย เด็กโตอาจรู้สึกสบายใจที่จะรู้ว่านักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานเพื่อพัฒนาวัคซีน การพูดคุยเหล่านี้ยังเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันของพวกเขา หากโรงเรียนหรือเนอสเซอรี่ปิดในอนาคต

ใส่ข่าวลงไปเวลาพูดคุย หากพวกเขาถามให้อธิบายว่าการเสียชีวิตจากไวรัสยังคงมีน้อยเมื่อเทียบกับคนที่รอด ดูข่าวกับลูก ๆ ของคุณเพื่อให้คุณสามารถคัดกรองสิ่งที่เขาได้ยิน

เด็กและวัยรุ่นมักกังวลเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อนมากกว่าตัวเอง ตัวอย่างเช่น หากเด็ก ๆ ได้ยินว่าคนชรามีแนวโน้มที่จะป่วยหนัก พวกเขาอาจกังวลเกี่ยวกับปู่ย่าตายาย การให้พวกเขาโทรศัพท์หรือ video call กับญาติที่มีอายุมากสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับคนที่เขารัก

ให้ลูกของคุณรู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียดในบางครั้ง เราทุกคนก็เป็นเช่นนั้น การรับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้และรู้ว่าช่วงเวลานี้จะผ่านไปอย่างตึงเครียด แล้วชีวิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติในที่สุด สามารถช่วยให้เด็กมีความรู้สึกคลายใจ

แสดงให้ลูกรู้ว่าคุณจะคอยดูแลเขาเสมอ

ให้การอธิบายเรื่องไวรัสโคโรนามีขึ้นต่อไป

หมั่นเช็คกับลูกของคุณต่อไป ใช้การพูดคุยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อสู้กับโรค

พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันกับลูก ๆ อย่างบ่อยครั้ง สิ่งสำคัญคือการช่วยให้พวกเขานึกถึงเรื่องราวที่พวกเขาได้ยิน ถามลูกว่า “หนูคิดอย่างไรเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านี้ ลูกคิดว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร” คำถามดังกล่าวยังส่งเสริมการสนทนาเกี่ยวกับหัวข้อที่ไม่ได้เป็นข่าวอีกด้วย

เด็ก ๆ สมัยนี้เข้าถึงสื่อได้มากขึ้น การที่คุณพ่อคุณแม่คอยคัดกรองข้อมูลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เขา พร้อมทั้งสอนเขาถึงวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดความกังวลของลูกไปได้ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่เองก็จะสบายใจมากขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th