Site icon Motherhood.co.th Blog

อุ้งเชิงกรานอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

หากเตรียมพร้อมจะมีลูก ต้องรู้จักระบบสืบพันธุ์ให้ดี

อุ้งเชิงกรานอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร?

ในการเตรียมตัวเป็นแม่นั้น เราย่อมจะต้องรู้จักระบบสืบพันธุ์ของเราให้ดีเสียก่อน วันนี้ Motherhood เลยจะมาแนะนำเกี่ยวกับอาการ “อุ้งเชิงกรานอักเสบ” ว่ามันมีสาเหตุมาจากอะไร ใครมีความเสี่ยงบ้าง และจะมีวิธีการบำบัดรักษาได้อย่างไร ไปติดตามบทความกันได้เลยค่ะ

อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflamatory Disease) คือ การติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง บริเวณมดลูก ปีกมดลูก และท่อนำไข่ ซึ่งการติดเชื้อนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้หรือหนองในเทียม ซึ่งมักเกิดในบริเวณช่องคลอดและปากมดลูก หากไม่ทำการรักษาก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นในระบบสืบพันธุ์ได้ โดยโรคนี้มักเกิดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่อายุประมาณ 25 ปี หรือต่ำกว่านั้น

คือการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ในระยะแรกผู้ป่วยอาจยังไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเป็นรุนแรงขึ้นจะเริ่มรู้สึกปวดในบริเวณช่องท้อง นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการอื่นได้ ดังนี้

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ในทันทีหากพบว่ามีอาการตรงกับที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากการติดเชื้ออาจรุนแรง จนทำให้เชื้อลามไปทำลายระบบสืบพันธุ์ได้ แม้ว่าจะติดเชื้อมาเพียงไม่กี่วันก็ตาม

มีอาการเจ็บปวดในช่วงล่างหรือท้องน้อย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อที่พัฒนาในระบบสืบพันธุ์ของอวัยวะหญิงส่วนบน มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายจากช่องคลอดหรือปากมดลูก เข้าไปในช่องท้อง ท่อนำไข่ และรังไข่ ในหลายกรณีแพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด อาจจะใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดในการรักษาเพื่อให้ครอบคลุมในการฆ่าเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของโรค

สาเหตุของการเกิดโรคมีความหลากหลาย ดังนี้

1. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

จากข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าอัตราการเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 4 รายมักมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้หรือโรคหนองในเทียม โดยผู้ป่วยมักเริ่มติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากมดลูกก่อน ซึ่งตามปกติจะสามารถรักษาหายได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ หากได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือเข้ารับการรักษาล่าช้า ก็อาจทำให้แบคทีเรียนั้นแพร่กระจายเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ได้

2. การติดเชื้ออื่น ๆ

ในหลายกรณีก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด โดยปกติแล้วในช่องคลอดมีแบคทีเรียที่ไม่เป็นอันตรายอาศัยอยู่ แต่แบคทีเรียเหล่านี้ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้หากเข้าไปในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่เคยเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมาก่อน หรือเคยทำหัตถการเกี่ยวกับปากมดลูก เช่น การตรวจภายในมดลูก การทำแท้ง หรือการใส่อุปกรณ์คุมกำเนิด

มีการติดเชื้อเพราะแบคทีเรียเข้าไปภายในระบบสืบพันธุ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบจัดเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมีดังนี้

ตรวจวินิจฉัยอาการและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การตรวจวินิจฉัยโรค

1. สอบถามอาการและตรวจ

แพทย์จะถามประวัติการใช้ยาและการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย ตรวจภายในและอุ้งเชิงกรานเพื่อดูภาวะตกขาวที่ผิดปกติ จากนั้นจะทำการเก็บจุลินทรีย์จากสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดและปากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อระบุชนิดของแบคทีเรียที่พบ และยังมีการตรวจอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะ เลือด ทดสอบการตั้งครรภ์

2. การผ่าตัด

ในบางกรณีอาจใช้การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) โดยจะทำการสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปดูอวัยวะภายใน และถ้ามีความจำเป็นอาจต้องเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อเพิ่มด้วย

การบำบัดรักษาอาการ

โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรรักษาเชื้อให้หายและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ยาแก้อักเสบที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ออฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ดอกซีไซคลิน (Doxycycline)

ยาปฏิชีวนะบางตัวไม่สามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มการรักษาด้วย และแม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม ก็ยังจะต้องรับประทานยาต่อจนครบ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าอาการติดเชื้อนั้นหายขาด ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาและดูการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการผู้ป่วยนั้นไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ผู้ป่วยอาจต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

นอกจากจะทำการรักษาที่ตัวผู้ป่วยแล้ว ในบางกรณีก็จำเป็นต้องรักษาคู่นอนของผู้ป่วยด้วย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาครบตามที่แพทย์สั่ง

ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่อ

การป้องกันโรค

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th