Site icon Motherhood.co.th Blog

เด็กติดเกม พ่อแม่ต้องรีบแก้ไขก่อนจะสาย

ลูกเป็นเด็กติดเกม

พ่อแม่จะป้องกันไม่ให้ลูกติดเกมจนเกินพอดีได้อย่างไร

เด็กติดเกม พ่อแม่ต้องรีบแก้ไขก่อนจะสาย

“เด็กติดเกม” อาจเป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายๆบ้านต้องเผชิญ โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกในวัยเรียน เมื่อเขาเริ่มโตพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ท และยังมีสังคมของเพื่อนๆที่เล่นเกมเหมือนกันกับเขา พ่อแม่จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเราเล่นเกมจนติดแล้วหรือยัง ถ้าติดแล้ว จัดว่าอยู่ในระดับไหน และจะบำบัดอย่างไร ติดตามในบทความนี้ได้เลยค่ะ

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกติดเกม

สัญญาณของการเริ่มติดเกม คือ เด็กจะหมกมุ่นอยู่กับเกมแบบไม่รู้เวลาและไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เลิกเล่นได้ พยายามดิ้นรนที่จะเล่นเกมมากขึ้น เมื่อพ่อแม่บอกให้หยุดเล่นเกมก็จะแสดงอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย บางครั้งถึงกับอาละวาด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว รวมทั้งมีการใช้เงินที่มากกว่าปกติ ใช้เงินไปกับการเล่นเกม หรือแอบหยิบเงินคนอื่น หาเงินทางอื่นเพื่อนำไปใช้กับการเล่นเกม

ต่างๆไม่เป็นเวลานอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบต่อร่างกาย เพราะนอนดึก นอนไม่เป็นเวลา เวลานอนไม่เพียงพอ การเรียนตกต่ำลง ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งทำให้พัฒนาการช้าในเด็กเล็ก

การติดเกมมีหลายระดับความรุนแรง พ่อแม่ต้องรู้ว่าลูกอยู่ระดับไหน

ระดับความรุนแรงของการติดเกม

ในทางการแพทย์จะมีข้อกำหนดถึงลักษณะความรุนแรงของการติดเกมอยู่ พ่อแม่บางคนอาจจะเห็นลูกใช้เล่นเกมนานกว่าที่ตัวเองชอบใจก็อาจจะเรียกว่าเป็นการติดเกมแล้ว หากพ่อแม่อยากรู้ว่าลูกติดเกมไหม สามารถดูได้จากพฤติกรรมตามระดับความรุนแรงของการติด ดังต่อไปนี้

1. ชอบ แต่ไม่ได้ติด

เด็กสามารถมีความชอบได้ แต่ต้องไม่เสียการควบคุมตนเอง เด็กบางคนชอบร้องเพลง เด็กบางคนชอบอ่านหนังสือว ขณะที่บางคนชอบเล่นกีฬา ความชอบเหล่านั้นทำให้เจ้าตัวมีความสุข แต่ยังสามารถที่จะทำกิจกรรมอื่นๆได้อีก

2. คลั่งไคล้

เด็กเริ่มไม่สนใจที่จะทำกิจกรรมอื่น เด็กที่คลั่งไคล้จะเริ่มคุมตัวเองไม่ได้ เช่น วันนี้ตั้งใจจะไม่เล่นเกม พยายามบอกตัวเองว่างดเล่นเกมสักวัน แต่อดใจไม่ไหว ควบคุมตัวเองไม่ได้ สุดท้ายก็เล่นเหมือนเดิม แต่การคลั่งไคล้ยังไม่ถึงขั้นติด แค่เริ่มเสียการควบคุมตนเอง

3. การติด

อาการของเด็กติดเกมโดยทั่วไปสังเกตได้จากเริ่มละเลยการทำหน้าที่ รวมถึงทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลง เช่น

อะไรเป็นสาเหตุให้เด็กติดเกม?

หากลูกติดเกมจนไม่ยอมหลับยอมนอน ถือว่าระดับรุนแรงแล้ว

ลักษณะของพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม

พ่อแม่ควรทบทวนตัวเองว่ามีลักษณะต่างๆต่อไปนี้บ้างหรือไม่ ถ้ามี ต้องทำการแก้ไข จะได้ช่วยป้องกันและรักษาเด็กติดอย่างเกมได้ผล

หลักสำคัญในการป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม

วิธีการป้องกันและแก้ไขเด็กติดเกมสามารถทำได้ด้วยการใช้วิธีการต่างๆประกอบกัน ดังนี้

1. รู้ความสนใจของลูกตลอดเวลา

พ่อแม่ควรสนใจติดตามพฤติกรรมของลูก ความสนใจกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความสนใจเรื่องเกม ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มอยากเล่นเกมตั้งแต่อายุ 6 ปีเป็นต้นไป และจะมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเด็กยังขาดการควบคุมตนเอง เพื่อนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อเด็กที่จะชักจูงให้สนใจ

2. รู้จักเกมที่ลูกเล่น

เกมที่เด็กเล่นอาจมีหลายประเภท แตกต่างกันตามความสนใจ ความชอบความถนัด การพูดคุยเรื่องเกมกับลูกทำให้พ่อแม่เข้าใจความชอบของเขา

3. รู้เหตุผลที่ลูกชอบเล่นเกม

การแก้ปัญหาต้องใช้ความร่วมมือทั้งจากพ่อแม่และตัวเด็กเอง

4. ช่วยเหลือเมื่อลูกติดเกมแล้ว

เกมที่เหมาะสำหรับเด็กในแต่ละช่วงอายุ

สมัยนี้มีจิตแพทย์ที่บำบัดอาการติดเกมโดยเฉพาะแล้ว

การเล่นเกมไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากตัวเด็กเองและคุณพ่อคุณแม่ช่วยกันจัดสรรเวลาเล่นให้เหมาะสม ไม่กระทบกระเทือนการเรียน หรือหมกมุ่นจนไม่เป็นอันทำอะไร ข้อดีของการเล่นเกมก็ยังมีอยู่มากมาย เช่น เพิ่มทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ได้ใช้ภาษาอังกฤษ หรือได้ฝึกวางแผนหากชอบเล่นเกมที่ต้องใช้ทักษะการวางแผนมาก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรมองเกมในแง่ลบไปเสียทั้งหมด ลองใช้เวลาหาความรู้เกี่ยวกับเกมที่ลูกสนใจบ้าง ลองให้ลูกสอนเล่นเกมบ้างก็ได้ และคอยคัดกรองสิ่งที่ยังไม่เหมาะสมกับวัยของเขาออกไป หากพบว่าเขามีความสนใจจริงจังที่จะประกอบอาชีพในสายเกมเมื่อโตขึ้น ก็คอยสนับสนุนเขาอย่างเดินทางสายกลาง ให้เขาเล่นเกมได้ ใช้เวลาฝึกฝนหรือแข่งเกมได้ แต่ต้องรับผิดชอบหน้าที่ในส่วนอื่นให้ดีด้วย เมื่อลูกได้รู้ว่าพ่อแม่ไม่ได้มองสิ่งที่เขารักเป็นปีศาจ และยังรู้สึกภูมิใจที่เขามีทักษะหรือความสำเร็จจากการเล่นเกม เขาก็จะเรียนรู้ที่จะรักในการเล่นเกมอย่างพอดีได้เอง

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th