Site icon Motherhood.co.th Blog

พ่อแม่ควรรู้ไว้ เด็กๆก็อาจ “แพ้ไข่” ได้นะ

เมื่อลูกแพ้ไข่

พ่อแม่หลายคนอาจไม่ทราบมาก่อนว่าอาการแพ้ไข่มีอยู่จริง

พ่อแม่ควรรู้ไว้ เด็กๆก็อาจ “แพ้ไข่” ได้นะ

เรื่องราวของการแพ้อาหารในเด็กนั้นสามารถเกิดขึ้นได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแพ้นมวัว แพ้กลูเต็น การแพ้อาหารอื่นๆ แต่การ “แพ้ไข่” เป็นอีกอาการแพ้อาหารหนึ่งที่พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ามันก็สามารถเกิดขึ้นกับลูกของเราได้ และเมื่อพบว่าลูกมีอาการแพ้ไข่ พ่อแม่อาจจะมีความกังวลในเรื่องอาหารการกินของลูก ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ขาดโปรตีนหรือไม่ หรือจะหาอะไรที่ได้สารอาหารคล้ายกันมากินทดแทนดี วันนี้ลองมาติดตามเรื่องราวของการแพ้ไข่ดูนะคะ

การแพ้ไข่มีจริงหรือ?

แพ้ไข่ (Egg Allergy) เป็นอาการแพ้อาหารชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับประทานไข่หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไข่ โดยอาจทำให้เกิดลมพิษ มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง คัดจมูก อาเจียน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ในบางกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้ไข่อาจแสดงอาการตั้งแต่อยู่ในวัยทารก และส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นจนหายเป็นปกติก่อนเข้าสู่วัยรุ่น

อาการแพ้ไข่ในเด็กมักหายไปก่อนเข้าวัยรุ่น

อาการแพ้ไข่

อาการแพ้ไข่มีลักษณะคล้ายกับอาการแพ้อาหารชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่มีอาการแพ้ไข่อาจแสดงอาการหลังจากที่รับประทานไข่เพียงไม่กี่นาทีจนถึงเป็นชั่วโมง ซึ่งอาการและความรุนแรงของอาการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้ที่แพ้ไข่อาจมีอาการต่างๆ ดังนี้

โดยผู้ที่มีอาการแพ้ไข่อย่างรุนแรงอาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งมีอาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอก เช่น หายใจลำบากเนื่องจากการหดตัวของทางเดินหายใจหรืออาการบวมบริเวณลำคอ ปวดบีบที่ท้อง หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะช็อกได้ เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งอาจมีผลทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หรือหมดสติ และอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้ไข่มักแสดงอาการตั้งแต่อายุยังน้อย โดยอาจมีอาการแพ้รุนแรงที่สุดในช่วงอายุประมาณ 6 ถึง 15 เดือน ซึ่งเด็กอาจเกิดปฏิกิริยาของผิวหนังหลังการสัมผัส มีอาการหน้าแดง หรือเกิดลมพิษขึ้นบริเวณรอบปาก

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าใจผิดว่าโปรตีนบางชนิดในไข่จะก่ออันตราย

สาเหตุของการแพ้ไข่

เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าใจผิดว่าโปรตีนบางชนิดในไข่เป็นสิ่งที่ก่ออันตรายต่อร่างกายจนทำให้เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารฮิสตามีนและสารเคมีอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ โดยทั้งไข่แดงและไข่ขาวมีโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แต่อาการแพ้ไข่ขาวอาจพบได้บ่อยกว่า นอกจากนี้ โปรตีนจากไข่อาจส่งผ่านทางน้ำนมจนทำให้ทารกที่ดื่มนมแม่เกิดอาการแพ้ได้

ทั้งนี้ คนบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่ออาการแพ้ไข่มากกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติแพ้อาหารหรือเป็นโรคหืด ไข้ละอองฟาง ลมพิษ หรือผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ อาการแพ้ไข่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้น ระบบทางเดินอาหารจะเจริญเต็มที่ จึงทำให้มีโอกาสเกิดอาการแพ้อาหารน้อยกว่าเด็ก

แต่บางคนก็มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง (Food intolerance) จากไข่ ซึ่งจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะค่อยๆเกิดขึ้นจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง อาการของภาวะนี้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจสร้างความรำคาญให้ไม่น้อย โดยจะทำให้มีอาการท้องเสียหรือปวดท้องเมื่อรับประทานไข่

การวินิจฉัยอาการ

ในการวินิจฉัยอาการ แพทย์อาจตรวจประเมินโดยดูจากประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกายทั่วไป นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกแพ้ไข่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ในการเข้ารับการตรวจอาการแพ้ไข่อยู่เสมอว่าเด็กยังมีอาการแพ้ไข่อยู่หรือไม่ และไม่ควรทดสอบอาการแพ้ของเด็กด้วยตนเองโดยไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเด็กที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงมาก่อน

บางคนสามารถกินขนมอบที่มีไข่เป็นส่วนผสมได้

การดูแลรักษา

วิธีรักษาอาการแพ้ไข่ที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไข่ แต่ในบางกรณี เด็กที่แพ้ไข่บางรายก็สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ที่ผ่านการปรุงสุกอย่างขนมอบได้โดยไม่เกิดอาการแพ้ ขึ้นอยู่กับร่างกายของเด็กแต่คน อย่างไรก็ตาม หากลูกเกิดอาการแพ้หลังจากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไข่โดยที่ไม่รู้ตัว คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยบรรเทาอาการด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

ทั้งนี้ หากพบว่าลูกมีอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังจากรับประทานไข่หรืออาหารที่มีส่วนผสมของไข่ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของอาการแพ้ไข่คือปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ซึ่งผู้ที่มีอาการดังกล่าวอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และฉีดยาเอพิเนฟรินเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น นอกจากนี้ ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ไข่ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหารบางชนิดอย่างนม ถั่วลิสง หรือถั่วเหลือง แพ้ขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ ไรฝุ่น หรือละอองเกสร ปฏิกิริยาภูมิแพ้ทางผิวหนังอย่างโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมทั้งโรคหืดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการแพ้ไข่หรืออาหารชนิดอื่นๆ อย่างรุนแรงได้ เป็นต้น

พ่อแม่ต้องอ่านฉลากให้ดีเสมอถ้าลูกแพ้ไข่

การป้องกันอาการ

คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกตามคำแนะนำ ดังนี้

ถ้ากินไข่ไม่ได้จะกินอะไรแทนดี?

คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกโปรตีนจากแหล่งอื่นๆให้ลูกแทนการรับประทานไข่ เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืชอื่นๆ เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

เนื่องจากไข่เป็นอาหารที่มีติดบ้านไว้แทบทุกครัวเรือน และเราอาจจะไม่เคยเฉลียวใจมาก่อนว่ามันมีอาการแพ้ไข่อยู่จริง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกว่ามีการแพ้หรือไม่ จะได้จัดหาอาหารทดแทนให้เขากินได้อย่างไม่ต้องกังวลว่าจะจะขาดสารอาหารที่จำเป็นค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th