Site icon Motherhood.co.th Blog

โรคขาดสารไอโอดีน ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย

โรคขาดสารไอโอดีนในไทย

โรคขาดสารไอโอดีนยังมีให้เห็นได้ในประเทศไทย

โรคขาดสารไอโอดีน ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย

สมัยก่อนเราอาจจะเคยได้ยินกันว่ามีคนจากบางภาคที่ไม่ค่อยได้กินอาหารทะเลจะมีอาการของ “โรคขาดสารไอโอดีน” หรือที่เรียกกันจากสภาพที่เห็นว่าโรคคอหอยพอก หลายปีให้หลังมานี้กลับไม่ค่อยมีสื่อพูดถึงกันสักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้ก็ยังคงพบได้ในประไทยตลอดมา วันนี้ Motherhood จะพาไปทำความรู้จักกับอาการของโรคนี้เพิ่มเติมกันค่ะ

โรคขาดสารไอโอดีน (Iodine deficiency disorders – IDD) หรือที่นิยมเรียกกันอีกชื่อตามสภาพของโรคที่แสดงอาการว่า โรคคอพอก (simple goiter) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งเกิดจากภาวะการขาดสารไอโอดีนของร่างกายทำให้มีลักษณะโคโตหรือคอพอกตามมา

ในปัจจุบันภาวะการขาดสารไอโอดีนของประชากรไทยได้ลดลงไปมากจนเกือบไม่พบแล้ว แต่ยังมีพบได้บ้างในพื้นที่บางส่วนที่การคมนาคมเข้าไม่ถึง พื้นที่ที่มีความทุรกันดานมาก เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งสินค้าสามารถทำได้เกือบครอบคลุมทั้งประเทศแล้ว ทำให้มีการขนส่งเกลือและอาหารทะเลได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของภาคการผลิต ที่ปัจจุบันมีการผลิตเกลือสินเธาว์ที่ไม่มีไอโอดีน แต่ก็มีการเติมไอโอดีนเพิ่มลงไป ก่อนส่งจำหน่ายไปยังผู้บริโภค

เด็กที่อยู่ตามพื้นที่ธุรกันดารก็ยังคงขาดสารไอโอดีนอยู่

สาเหตุของโรคขาดสารไอโอดีน

ต่อมไทรอนด์ (Thyroid gland) ถือเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีลักษณะเป็นกลีบ 2 กลีบ รูปทรงคล้ายปีกผีเสื้อ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร หนักประมาณ 30 กรัม อยู่ด้านหน้าของหลอดลม บริเวณใต้ลูกกระเดือกลงมาเล็กน้อย ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ตามท่าทางการกลืนของหลอดอาหาร

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของระบบประสาท ระบบสมอง และระบบเนื้อเยื่อของร่างกายด้วยฮอร์โมนไทร๊อกซิน (Thyroxine) โดยอาศัยสารไอโอดีนช่วยในการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ ต่อมไทรอยด์เองสามารถดึงเอาไอโอดีนมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อมาเก็บกักไว้ภายในตัวมันเองได้ ทำให้มีปริมาณไอโอดีนในต่อมสูงมากกว่าที่มีในเลือดกว่า 30 เท่า

หากร่างกายขาดสารไอโอดีนจะทำให้ระบบประสาท ระบบสมอง และระบบกล้ามเนื้อไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ อัตราการเผาผลาญพลังงานจะมีน้อยลง ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า สมองทึบ ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย นอกจากนั้นอาการที่เด่นชัดคือ เกิดภาวะต่อมไทรอยด์บวมโต 4-5 เท่า ของขนาดปกติ หรือที่เรียกกันว่าคอพอก หากเกิดในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ หากขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้แท้ง ทารกพิการแต่กำเนิด ปัญญาอ่อน ร่างกายแคระแกร็น

สารไอโอดีนคืออะไร

ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบมากในทะเล รวมถึงพบในพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล จากการละลายและชะล้างจากพื้นดินลงไปสู่ทะเล แต่จะพบได้น้อยในดินและแหล่งน้ำจืด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่หุบเขาและห่างไกลจากทะเล จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชากรในพื้นที่เหล่านี้มักเกิดภาวะร่างกายขาดสารไอโอดีน

การได้รับสารที่ยับยั้งการดูดซึมไอโอดีนก็เป็นสาเหตุในวัยผู้ใหญ่ได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน

  1. สภาพภูมิประเทศ มักพบได้ในประชากรที่อาศัยในพื้นที่ที่ห่างไกลจากทะเล จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล เนื่องมาจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ความรู้ และการศึกษาที่เข้าไปไม่ถึง
  2. สภาพเศรษฐกิจ สาเหตุหลักมาจากปัจจัยความยากจนที่ไม่สามารถซื้ออาหารทะเลมารับประทานได้
  3. การคมนาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ทุรกันดานที่การคมนาคมเข้าไปไม่ถึงทั้งทางบกหรือทางน้ำ ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะได้รับสารไอโอดีน
  4. พฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบรับประทานอาหารทะเล ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการขาดสารไอโอดีนได้ง่าย
  5. ร่างกายได้รับสารบางชนิด มักเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อกระบวนการดูดซึมไอโอดีนของร่างกายเข้าสู่กระแสเลือด และที่ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น กำมะถัน ไธโอชัยแอนเนท ที่ส่งผลต่อการดูดซึมไอโอดีนของต่อมไทรอยด์

อาการของโรค

อาการของโรคขาดสารไอโอดีนั้นสามารถแบ่งออกได้ตามช่วงอายุต่าง ๆ ดังนี้

1. มารดาและทารกในครรภ์

แม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะการขาดสารไอโอดีนหรือได้รับปริมาณไอโอดีนไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้เกิดอาการแท้งหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ รวมถึงตัวแม่เองก็มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย

2. ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิดในช่วง 0-2 ปี หลังจากการคลอดที่เกิดจากภาวะการขาดสารไอโอดีนขณะอยู่ในครรภ์ และการขาดสารไอโอดีนหลังการคลอดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มักมีร่างกายผิดปกติหลังคลอด เกิดอาการคอพอก ภาวะฮอร์โมนไทรอกซินต่ำ จะเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และทางร่างกาย ปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น

3. เด็กและวัยรุ่น

หากเกิดภาวะการขาดสารไอโอดีนในช่วงที่กำลังมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาทางด้านร่างกาย เด็กมักมีอาการคอพอก ฮอร์โมนไทรอกซินต่ำ ร่างกายแคระแกร็น ซูบผอม สติปัญญาไม่พัฒนาเท่าที่ควร

4. ผู้ใหญ่

ภาวะขาดสารไอโอดีนในวัยผู้ใหญ่ทำให้มีอาการคอพอก ฮอร์โมนไทรอกซินต่ำ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย เชื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง เสียงแหบ ท้องผูก ทนหนาวไม่ได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ได้ง่าย

ทางรัฐก็จัดเกลือเสริมไอโอดีนให้พื้นที่ห่างไกลเสมอ

วิธีตรวจลำคอเพื่อหาภาวะขาดสารไอโอดีน

1. สังเกตตำแหน่งต่อมไทรอยด์ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง จากนั้นให้กลืนน้ำลายเพื่อสังเกตการเคลื่อนไหวของต่อมไทรอยด์ โดยให้ผู้เข้ารับการตรวจนั่งท่าปกติ หันหน้าไปข้างหน้าและเงยคางเล็กน้อย
2. แพทย์จะหันหน้าเข้าหาผู้รับการตรวจ ใช้นิ้วหัวแม่มือจับกลีบไทรอยด์ กดนิ้วหัวแม่มือและค่อย ๆ ดันไปด้านขวา กดเบา ๆ แล้วผลักต่อมไทรอยด์เล็กน้อย ในช่วงนี้ถ้าให้กลืนน้ำลายร่วมด้วยจะเห็นอาการได้ชัดเจนขึ้น
3. ใช้นิ้วคลำกลีบต่อมไทรอยด์ โดยใช้นิ้วมือสัมผัสกับต่อมด้านใน นิ้วที่เหลือสัมผัสด้านนอกต่อมที่ด้านข้างลำตัวผู้เข้ารับการตรวจ
4. แพทย์อาจใช้วิธีอ้อมไปอยู่ด้านหลังผู้ตรวจ และใช้วิธีคลำกลีบไทรอยด์ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่น ๆคลำกลีบของต่อมทีละข้าง

นอกจากการตรวจสอบด้วยวิธีการคลำต่อมไทรอยด์แล้ว แพทย์ยังสามารถตรวจด้วยวิธีอื่น ได้แก่

การแบ่งระดับอาการคอพอก

ระดับอาการคอพอกที่พบได้จากการคลำตรวจ

การรักษาภาวะขาดสารไอโอดีน

1. ให้สารไอโอดีนร่วมกับอาหารและน้ำดื่ม โดยให้สารไอโอดีนทีละน้อยอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน ในรูปของเกลือที่ปรุงอาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ

2. การให้สารไอโอดีนที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

3. การรับประทานอาหารทะเล ทั้งอาหารทะเลที่เป็นพืชและสัตว์ เช่น สาหร่ายทะเล 100 กรัม จะพบสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม ปลาทะเล 100 กรัม จะมีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม

4. การผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคอพอกมาก ลักษณะคอบวมโตจนมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและการกลืนกินอาหาร รวมถึงมีผลต่อระบบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบาก แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น และทำการให้สารไอโอดีนเพิ่มอย่างสม่ำเสมอ

ปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

เด็กวัยเรียนต้องได้รับไอโอดีน 120 ไมโครกรัม

อาหารที่อุดมด้วยไอโอดีน

เมื่อต้องการซื้อเกลือเสริมไอโอดีนให้สังเกตฉลากที่มี คำว่า “เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน” อยู่บนบรรจุภัณฑ์ และตรวจสอบว่ามีเลขอย.กำกับด้วยทุกครั้ง หากปรุงอาหารด้วยเกลือเสริมไอโอดีน และรับประทานอาหารทะเลเป็นครั้งคราว โอกาสก็จะเกิดภาวะขาดสารไอโอดีนก็แทบไม่มีเลยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th