Site icon Motherhood.co.th Blog

โรค RSV เชื้อที่เด็กติดได้เพราะถูกหอมแก้ม

ทำความรู้จักโรค rsv

เชื้อไวรัส rsv สามารถติดได้ผ่านทางการหอมแก้มเด็กจริงหรือ

โรค RSV เชื้อที่เด็กติดได้เพราะถูกหอมแก้ม

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก อาจจะเคยได้ยินชื่อของ “โรค RSV” กันมาบ้าง อาจจะทราบมาแค่ผิวเผินว่ามันคือโรคที่ติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส หรือที่มีดราม่ากันอยู่บ่อย ๆ ว่าลูกติดเชื้อโรคมาเพราะถูกหอมแก้ม ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เชื้อโรคชนิดนี้ติดต่อได้อย่างที่คนพูดกันหรือไม่ และจะป้องกันให้ลูกน้อยได้อย่างไร Motherhood หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ

โรค RSV คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยจะมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล คนทุกเพศทุกวัยสามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้

ทำความรู้จักกับโรคที่มาจากเชื้อไวรัส rsv ให้มากขึ้นดีกว่า

อาการของโรค RSV

โดยปกติผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน ผู้ใหญ่หรือเด็กโตมักพบอาการคล้ายไข้หวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ไวรัส RSV พัฒนาไปสู่โรคขั้นรุนแรงได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้ โดยปกติ อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็กโตและผู้ใหญ่จะดีขึ้นหลังได้รับการรักษาเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ในเด็กเล็กและทารกหลังสัมผัสกับเชื้อไวรัสในช่วง 2-8 วัน อาจเกิดอาการที่รุนแรงมากกว่า โดยพบอาการได้ดังนี้

สำหรับเด็กหรือทารกที่มีอาการดังนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

สาเหตุหลักเกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ ในประเทศไทยมักพบเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ไวรัสจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านทางการไอหรือการจาม

กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส RSV ที่มีอาการรุนแรงได้สูง ได้แก่ เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดและหัวใจ ผู้ที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนแออัด หรือผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป

การวินิจฉัยการติดเชื้อ

การวินิจฉัยจะเริ่มจากการตรวจทางกายภาพของผู้ป่วยก่อน จากนั้นจะใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อฟังเสียงหวีดในระบบทางเดินหายใจ เสียงการทำงานของปอด หรือเสียงผิดปกติจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย และแพทย์อาจใช้วิธีต่อไปนี้ร่วมในการวินิจฉัย

การดูดน้ำมูกทำให้จมูกลูกโล่งขึ้น

การรักษาการติดเชื้อ

ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการและประคับประคองให้หายใจได้ดีขึ้น แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล การดูแลและรักษาอาการที่บ้าน ทำได้ดังนี้

ในกรณีที่ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็กอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์อาจใช้วิธีการรักษารูปแบบอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ป่วยที่เป็นทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กเล็ก ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า ซึ่งจะส่งผลดังนี้

ระยะยาวเด็กอาจะเป็นหอบหืดได้หากมีภาวะแทรกซ้อน

ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไร

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่คุณพ่อคุณแม่สามาระแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อให้แก่ลูกได้ ดังนี้

ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องระวังเรื่องสุขภาพของลูกให้มากที่สุดไว้ก่อนนะคะ หมั่นสอนให้เขารักษาความสะอาดของตัวเองอยู่เสมอ ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนจะรับประทานอาหารหรือของว่าง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกับผู้ที่มีเชื้อหวัดด้วยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th