Site icon Motherhood.co.th Blog

ให้นมลูกครั้งแรกต้องเตรียมตัวยังไงนะ? ประเภทของน้ำนมแม่ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้จัก

BP5T8A Bottles of breast milk in refrigerator

นมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม การให้ลูกดื่ม น้ำนมแม่ เป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการในอนาคตของลูก

คุณแม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำนมแม่ เพื่อที่จะสามารถดูแลเขาได้อย่างดีเยี่ยม

3 ประเภทนมแม่ที่ควรต้องแยกให้ออก:

1. Colostrum (น้ำนมเหลือง)

โคลอสตรุ้มเป็นนมแรกเริ่มที่เต้านมจะผลิตออกมาในช่วงหลายวันหลังจากคลอดลูก นมประเภทนี้จะมีความหนาแน่น มีสีเหลืองอมน้ำตาลและค่อนข้างเข้มข้น นอกจากนั้นยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีปริมาณแอนติบอดี้ส์สูง ป้องกันทารกน้อยจากอาการป่วย โคลอสตรุ้มทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแรกที่สามารถต่อสู้กับอาการติดเชื้ออย่าง ท้องร่วง ไข้หวัด และปอดบวมที่อาจเกิดขึ้นในทารก

2. Foremilk (นมส่วนหน้า)

นมส่วนหน้าจะถูกผลิตในช่วงแรก นมชนิดนี้มีสารแลคโตสและโปรตีน มีเนื้อค่องข้างบาง เหลว มีน้ำเยอะ ช่วยดับกระหายให้กับทารก เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อของน้ำนมเหลวจนเกินไป คุณแม่ควรจะทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้นมที่ออกมามีคุณภาพดี ตัวอย่างอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้แก่ นม อินทผลัม อัลมอนด์ หัวไชเท้าขาว และอาหารเสริมเพิ่มน้ำนม

3. Hindmilk (นมส่วนหลัง)

นมส่วนหลังมีเนื้อแน่น หนา และมีสีค่อนข้างเหลือง นี่เป็นนมที่ให้ช่วงสุดท้ายของการให้นมลูก นมชนิดนี้จะทำให้เจ้าตัวน้อยอิ่มสบายเนื่องจากมันมีปริมาณพลังงานที่ทารกต้องใช้เพื่อเจริญเติบโตค่อนข้างมาก

การให้นมแม่ นอกเหนือจากประโยชน์ในเรื่องของการป้องกันโรคแล้ว มันยังช่วยในเรื่องของการพัฒนา IQ ของทารก งานวิจัยสองงานจาก ม.เคมบริดจ์ อังกฤษและ ม.ฟลินเดอส์ ออสเตรเลีย ระบุว่า การที่แม่ให้ลูกดื่มนมจากเต้าจะช่วยให้ทารกสามารถพัฒนา IQ ได้ราว 7 – 10 จุดเหนือกว่าระดับ IQ ของเด็กธรรมดา

มากไปกว่านั้น ยังมีงานศึกษาจากฮอลแลนด์ที่ออกมาบอกว่านมของแม่มีสาร Docosahexanoic Acid และ Arachidonic Acid ซึ่งช่วยพัฒนาระบบประสาทซึ่งสารสองตัวนี้ไม่มีอยู่ในนมผงสำเร็จรูป

***

ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th

หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood