Site icon Motherhood.co.th Blog

14 สิ่งที่คุณแม่ควรรู้เพื่อให้ทารกน้อยปลอดภัย

คุณแม่ ส่วนใหญ่ที่มีลูกที่อายุต่ำกว่าหนึ่งขวบมักจะเอาของอย่างผ้าห่ม ตุ๊กตาของเล่น หรือของอื่นๆไว้ในเปลเด็กร่วมกับทารก อย่างไรก็ตาม นี่เป็นสิ่งที่อันตรายและอาจเสี่ยงรัดคอลูกจนขาดอากาศหายใจ

motherhood ได้รวบรวมลิสท์ของต่างๆที่คุณแม่ควรโน๊ตไว้ให้ดีเพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อย

อย่าเอาอะไรที่ไม่จำเป็นใส่ในเปล

อย่าคิดว่าเจ้าตัวเล็กจะเอาแต่นอนเฉยๆ ไม่ขยับไปมา อันที่จริง คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษเลยแหละกับของที่ที่จะเอาใส่ในเปลนอนของลูก อย่างเช่น ไม่ควรจะมีหมอนหรือผ้าห่มสำรองในเปล เพราะนั่นอาจเสี่ยงรัดคอลูกจนขาดอากาศหายใจ

ใช้แกนกระดาษทิชชู่เวลาที่เลือกของเล่นให้ลูก

ก่อนจะซื้อของเล่นอะไรให้กับลูก สำคัญมากที่คุณต้องเช็คให้ดีก่อน ทริคก็คือ ลองเอาของเล่นใส่ในแกนกระดาษทิชชู่ ถ้ามันใส่ได้ มีโอกาสที่เจ้าตัวเล็กอาจจะเผลอกลืนเข้าไปจนติดคอ อย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า

อย่าปล่อยลูกทิ้งไว้คนเดียว

เวลาที่ลูกเผลอหลับไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถลุกไปทำอย่างอื่นได้ เราไม่ได้อยากจะทำให้คุณแม่มือใหม่ต้องกลัวนะ แต่เราขอเตือนไว้ก่อนว่าความไม่ระวังนี่แหละที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณแม่อาจต้องเตรียมเบบี้มอนิเตอร์คุณภาพสูงที่สามารถบันทึกภาพและเสียงไว้เพื่อคอยสังเกตลูก

จัดของในบ้านให้ปราศจากอันตราย

การจัดบ้านเพื่อเน้นความปลอดภัยของลูกควรจะเริ่มเตรียมการตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะเกิด มีหลายสิ่งที่ลูกสามารถเอาเข้าปากได้ หัวมุมแหลมของโต๊ะที่อาจเป็นอันตราย และหลายๆอย่างที่อาจแตกหักได้ เตรียมตัวไว้ก่อนจะดีกว่ารอให้เกิดปัญหา

ค่อยๆให้ลูกทานอาหารแข็งทีละชนิด

หลังจากผ่านช่วง 6 เดือน คุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มตื่นเต้นเพราะเจ้าตัวเล็กจะเริ่มทานอาหารแข็งได้แล้ว ทว่าอย่าเพิ่งเร่งรีบเกินไป เพราะการทานอาหารบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ อย่างเช่น นม ไข่ ถั่ว ปลา กุ้งหรือปู หรือแม้แต่ข้าวสาลี คุณหมอแนะนำว่าให้ทารกลองทานอาหารทีละชนิดอย่างน้อย 4 – 5 วัน ก่อนเปลี่ยนให้ลูกลองอาหารอย่างอื่น การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาต่อมรับรถสำหรับอาหารแต่ละชนิดได้

อาหารทุกอย่างต้องผ่านการอุ่นร้อน

แค่เอาขวดนมหรือที่ใส่อาหารอุ่นในน้ำร้อนก็พอแล้ว การใช้ไมโครเวฟเป็นอะไรที่มากเกินไป เพราะอาจร้อนจนเป็นอันตรายต่อลูกได้ ถ้าเป็นอาหารอย่างนม ลองหยดดูบนหลังมือดูก่อนเพื่อตรวจอุณหภูมิ ระวังอย่าให้ร้อนเกินไป

สร้างเปลนอนที่ปลอดภัยสำหรับลูก

กฏข้อแรกก็คือ อย่าให้เปลนอนแน่นจนเกินไป เจ้าตัวเล็กไม่ได้ต้องการเครื่องนุ่งห่มอะไรมากมายขนาดนั้น กฏข้อสอง ให้เด็กนอนคว่ำเสมอ เจ้าตัวเล็กจะปรับท่าการนอนได้เอง เมื่อลูกขยับตัวได้ (รอจนครบ 1 ปี) จึงค่อยให้ลูกนอนหงาย

เตรียมเบอร์ฉุกเฉินไว้ใกล้ๆมือ

ติดเบอร์ฉุกเฉินไว้บนตู้เย็นหรือข้างเตียงนอน เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเตรียมเบอร์ไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่ายจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดการกับสถานการณ์เร่งด่วนได้ดีขึ้น เบอร์ที่ควรเตรียมไว้เช่น เบอร์ของกุมารแพทย์ โรงพยาบาล และอื่นๆ

คอยระวังเวลาที่ต้องให้ลูกนั่งในรถ

กฏข้อแรกที่ควรทำ (แม้แต่เวลาที่ขับคนเดียว) นั่นก็คือห้ามใช้มือถือระหว่างขับรถ กฏข้อที่สองที่สำคัญรองลงมานั่นก็คือที่นั่งเด็กเล็ก คุณต้องดูให้แน่ใจว่าที่นั่งถูกติดตั้งอย่างดีและถูกต้อง ไม่ใช่แค่ติดแบบหลวมๆ

เรียนรู้วิธีให้นมลูก

การให้นมลูกที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเรียนรู้ก่อนออกจากโรงพยาบาล และต่อให้มีคนอื่นสอน เรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องใช้เวลากว่าจะเชี่ยวชาญ การให้นมลูกที่ผิดวิธีอาจทำให้เกิดบาดแผลและเกิดการติดเชื้อได้ คุณแม่อาจจำเป็นต้องใช้ตัวช่วยอย่างแผ่นป้องกันหัวนม

ตั้งเวลานอนของคุณให้ตรงกับเวลานอนของลูก

สำหรับคุณแแม่มือใหม่ ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องการนอนไม่พอ การเป็นแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณแม่บางคนอาจมีอาการซึมเศร้าตามมาเพราะขาดการนอนอย่างเพียงพอ ทางแก้ก็คือ พยายามหลับให้ตรงกับเวลานอนของลูก การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มเวลานอนให้กับคุณแม่และช่วยให้กะปรี้กะเปร่าขึ้น

อาบน้ำให้ทารก

การอาบน้ำให้ลูกจำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างสูงสุด คุณแม่ห้ามละสายตาเด็ดขาด ผิวของเด็กบอบบางมาก ทำให้จำเป็นต้องใช้น้ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ก่อนอาบน้ำให้ลูก ลองหย่อนข้อศอกลงในน้ำเพื่อวัดอุณหภูมิก่อน และคอยจับลูกให้มั่นเพื่อกันไม่ให้เกิดอันตราย

เชื่อสัญชาตญาณตัวเอง

เชื่อกันว่าหัวใจของแม่นี่แหละรู้ดีที่สุดว่าอะไรดีที่สุดสำหรับลูก ดังนั้น ถ้าเกิดรู้สึกว่ามีอะไรที่ไม่ถูกต้อง คุณแม่ควรเชื่อสัญชาตญาณและควรจะระวังไว้ก่อน

***

ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th

หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood