Site icon Motherhood.co.th Blog

8 ของเล่นอันตราย ที่อาจส่งผลเสียกับเจ้าตัวน้อย

8 ของเล่นอันตราย ที่อาจส่งผลเสียกับเจ้าตัวน้อย!!

8. ของเล่นที่มีใบพัด

เฮลิคอปเตอรฺ์และของเล่นอื่นๆที่มีใบพัดเหมาะกับผู้เล่นที่เริ่มเข้าสูช่วงวัยรุ่น เด็กเล็กๆไม่สามารถควบคุมของเล่นชนิดนี้ได้ดีนักและอาจเผลอเอานิ้วไปโดนใบพัดจนได้รับบาดเจ็บ

7. ของเล่นชุดคุณหมอ

เด็กเล็กจะต้องอยากใช้อุปกรณ์ดังกล่าวกับตัวเองไม่ก็กับเพื่อนคนอื่น และ “วิธีทางการแพทย์” ที่เด็กๆเล่นอาจจบลงด้วยการเจอชิ้นส่วนขนาดเล็กเข้าไปติดอยู่ในโพรงจมูกหรือช่องทางหายใจของเจ้าตัวแสบ นอกจากนั้น การเล่นแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะใช้อุปกรณ์ของจริงอย่างหลอดฉีดยา กรรไกร และยาเม็ด

6. ห่วงยางช่วยทรงตัวในน้ำ

ห่วงยางช่วยทรงตัวไม่ได้เป็นตัวการันตีความปลอดภัยในน้ำได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์เนื่องจากเด็กอาจหลุดออกจากห่วงยางหรือพลิกคว่ำในน้ำ มากไปกว่านั้น ของเล่นชนิดนี้บางยี่ห้อมีสารเคมีตกค้างที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังและปัญหาอื่นๆ

5. ของเล่นที่มีแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ทรงกลมขนาดเล็กดูเหมือนลูกอม และเด็กๆอาจจะอยากลองชิมมัน ไซส์และรูปร่างของมันทำให้ง่ายต่อการกลืนลงท้อง และสารลิเธียมที่อยู่ด้านในอาจทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษและแผลไหม้

4. ปืนของเล่น

เด็กๆมักจะลืมไปว่าระยะประมาณไหนถึงจะปลอดภัยสำหรับการใช้ปืนของเล่น ผลก็คือ ของเล่นที่ต้องบรรจุกระสุน ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือของเหลวอื่นๆ กลายเป็นของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับช่วงบริเวณใบหน้าได้ โดยเฉพาะกับดวงตา

3. ของเล่นที่มีส่วนประกอบเป็นแม่เหล็ก

ของเล่นประเภทนี้ ที่จริงแล้ว เหมาะกับเด็กที่่อายุมากกว่า 14 ปีขึ้นไป เด็กเล็กๆมักจะพยายามที่จะกัดเอาส่วนที่เป็นแม่เหล็กออกมา ทำให้หลายคร้ังของเล่นชนิดนี้หลุดเข้าไปอยู่ในท้อง เมื่ออยู่ด้านในร่างกาย ของเล่นชนิดนี้จะเกาะติดกัน อาจทำให้เกิดอันตรายกับบริเวณผนังลำไส้ได้

2. ลูกโป่งอัดอากาศ

ลูกโป่งอาจจะแตกระหว่างเล่นเกมหรือระหว่างที่เป่าลม ทำให้เด็กทารกหลายคนกลัวหรืออาจถึงขั้นหูหนวก ระหว่างที่กลัว เด็กอาจสูดเอาเศษยางของลูกโป่งเข้าไปในจมูกจนทำให้เกิดอาการสำลัก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอีเว้นท์ที่มีลูกโป่งในงานถึงถูกจำกัดให้เฉพาะเด็กที่อายุมากกว่า 8 ขวบขึ้นไป

ส่วนของสปินเนอร์อาจหลุดระหว่างที่กำลังหมุนซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ มีเคสที่เด็กเล็กกลืนเอาบางส่วนของของเล่นเข้าไป นอกจากนี้ ของเล่นชนิดนี้ยังทำให้เด็กสมาธิสั้น ซึ่งอาจนำไปปสู่ปัญหาด้านผลการเรียน ในหลายรัฐของอเมริกา การใช้สปินเนอร์ในโรงเรียนถูกห้ามในทางกฏหมาย

***

ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th

หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood