Site icon Motherhood.co.th Blog

Bell’s Palsy เด็กๆก็เป็นได้นะ พ่อแม่ควรรู้ไว้

เด็กก็เป็น Bell's Palsy ได้

คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เคยทราบว่าเด็กๆก็มีโอกาสเป็น Bell's Palsy ได้เช่นกัน

Bell’s Palsy เด็กๆก็เป็นได้นะ พ่อแม่ควรรู้ไว้

ในยุคสมัยนี้มีโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆเกิดขึ้นแทบทุกวัน ซึ่ง Bell’s Palsy ก็เป็นหนึ่งในนั้น โรคนี้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเคยพบเจอคนรอบตัวมีอาการหรือแม้แต่คนมีชื่อเสียงในสังคม แต่ไม่ใช่จะมีแค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่สามารถเป็นโรคนี้ได้ เด็กๆเองก็เป็นได้ และก็ยังมีคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านที่อาจจะยังไม่มีข้อมูลของโรคนี้มาก่อนด้วยซ้ำ หากลูกเราเป็นจะรู้ได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้นะคะ

Bell’s Palsy คือโรคอะไร?

Bell’s Palsy หรือโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือจะเรียกว่าโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบก็ได้เช่นกัน เป็นภาวะที่เส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) ที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าถูกทำลายและสูญเสียการทำงาน ทำให้เกิดอาการใบ้หน้าเบี้ยวครึ่งซีก หนังตาและมุมปากตก มีน้ำลายไหลจากมุมปาก เป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกเพศและเชื้อชาติ รวมไปถึงเด็กๆด้วยเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสังเกตลักษณะและอาการของโรคให้ดี เพราะมันอาจจะเกิดขึ้นกับลูกของเราวันใดวันนึงก็ได้

โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก กล้ามเนื้อซีกนึงมีความอ่อนแรง

ลักษะของโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ หรือโรคอัมพาตเบลล์ คือการที่กล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงลงชั่วคราว เป็นโรคซึ่งเกิดจากการบวมและอักเสบของประสาทใบหน้าหรือประสาทเฟเชียล (Facial Nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7  (Cranial Nerve VII)

หน้าที่ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7

ซึ่งเส้นประสาทนี้จะมีลักษณะเป็นคู่ คือ มีทั้งด้านซ้ายไว้ควบคุมใบหน้าซีกซ้าย และมีด้านขวาไว้ควบคุมใบหน้าซีกขวา หากเป็นโรคชนิดนี้ในระดับที่ไม่รุนแรงนัก จะแสดงอาการออกมาน้อย การอักเสบจะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ของใบหน้าซีกนั้น แต่ถ้ามีอาการมากจะก่อให้เกิดอาการอัมพาตของใบหน้าซีกนั้นทั้งซีก โดยทั่วไปอาการจะเกิดกับเส้นประสาทเพียงแค่ซีกเดียว มีโอกาสที่จะเกิดอาการได้มากพอกันทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ไม่มีการคาดการณ์ได้ว่าในแต่ละคนหรือแต่ละผู้ป่วยจะเกิดอาการขึ้นกับเส้นประสาทของใบหน้าซีกใด แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นพร้อมกันในทั้งสองซีกของใบหน้านั้นพบได้แค่ 1% เท่านั้น

สาเหตุของโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ

ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักจะเริ่มต้นที่พบว่าตนเองมีอาการปากเบี้ยว และน้ำลายไหลซึมจากมุมปาก นอกนั้นจะยังมีอาการปิดตาไม่สนิทหรือลืมตาลำบาก ลิ้นไม่รับรสชาติอาหาร สาเหตุนั้นพบได้หลายประการ เช่น การได้รับอุบัติเหตุที่เส้นประสาท การมีเนื้องอก แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดจะเกิดจากการติดเชื้อ และเชื้อที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือ เริม (Herpes) กับไวรัสจากไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ติดเชื้อเหล่านี้จะต้องเกิดโรคใบหน้าเบี้ยว การจะเป็นโรคนี้ขึ้นกับการตอบสนองของต่อการติดเชื้อไวรัส

อาการของผู้ป่วยโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ตามที่ได้ให้ข้อมูลไปแล้วในเบื้องต้นว่าเส้นประสาทคู่ที่ 7 นี้จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา และหู อาการจะเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ภายใน 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักจะมีอาการดังนี้

อาการมุมปากตก บังคับกล้ามเนื้อหน้า ปากและตาข้างนึงไม่ได้ คืออาการหลัก

การรักษาโรคประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ

แพทย์จะให้ยาลดการอักเสบเพื่อให้โรคหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะการให้ยาสเตอรอยด์ภายใน 3 วันนับจากวันที่มีอากการ โดยให้เพรดนิโซโลน 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวผู้ป่ววย  1 กิโลกรัม ให้อยู่ทั้งหมด  6 วัน แล้วจึงลดขนาดของยาลง และหยุดยาภายใน 10 วัน ทั้งนี้ การให้ยาต้านไวรัสรวมกับยาเพรดนิโซโลนพบว่าจะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นด้วย

ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการปิดตา น้ำตาน้อย ซึ่งจะทำให้ตาแห้งจนเกิดแผลถลอกที่แก้วตาได้ ดังนั้นการดูแลตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เบื้องต้นจะต้องหยอดน้ำตาเทียมให้ผู้ป่วยในช่วงกลางวัน และหยอดสารหล่อลื่นในเวลากลางคืน ในช่วง 1-2 วันแรกจะตองปิดตาให้สนิทเพื่อป้องกันการเกิดแผล ซึ่งอาจจะใช้เทปหรือผ้าปิดให้สนิทและทายาหล่อลื่นอย่างเพียงพอก่อน

จะช่วยลูกได้อย่างไรบ้าง

ลูกอาจจะมีปัญหาในการรับประทานอาหาร การอาบน้ำ หรือแม้แต่กระพริบตา การที่อยู่ๆใบหน้าเป็นอัมพาตไปซะครึ่งซีกแบบนี้ทำให้เขาปรับตัวลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียน เพื่อนๆของลูกอาจจะยังไม่เข้าใจ อาจจะล้อหรือยิ่งซักถามไปตามความอยากรู้อยากเห็นประสาเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจกับลูกว่าอาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แล้วมันจะหายไปได้ภายในไม่กี่เดือน หรืออาจจะลองขอความร่วมมือคุณครูของลูกให้ช่วยอธิบายอาการของลูกให้เพื่อนๆในชั้นเรียนฟัง ก็จะเป็นการเสริมความรู้ให้เด็กๆในอีกทางหนึ่ง ด้วยความที่ใบหน้าผิดแปลกไปจากปกติ ลูกอาจจะรู้สึกสูญเสียความมั่นใจ เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะเรียกความมั่นใจของเขาให้กลับคืนมา

นอกจากนี้จะต้องเน้นย้ำกับลูกในการปกป้องตาตัวเองจากการระคายเคืองอยู่เสมอ ให้เขาพกยาหยอดตาไว้หยอดตามต้องการ พกแว่นตา แว่นกันแดด หรือที่ปิดตาก็จะช่วยปกป้องตาจากการรบกวนได้ในระดับหนึ่ง

ยาอะเซตามิโนเฟนและไอบูโพรเฟนสามารถนำมาให้ลูกใช้กับอาการปวดหูหรือปวดกรามได้ แต่อย่าให้เขาใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด การใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามใบหน้าก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน

ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ ก็ต้องบำบัดด้วยการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า

บริหารกล้ามเนื้อหน้าเพื่อบำบัด

คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกระตุ้นลูกให้หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าเพื่อเป็นการบำบัดอาการตามคำแนะนำของนักบำบัดด้วย ให้ลูกนั่งหน้ากระจกในขณะที่ทำการบริหารใบหน้า เขาจะได้เห็นความเคลื่อไหวของตัวเอง

ระวังเพิ่มเติมเวลารับประทานอาหาร

พยายามให้ลูกเคี้ยวอาหารด้วยทั้งสองข้างของปาก การเคี้ยวแบบนี้จะช่วยให้สามารถคงวิธีการเคี้ยวแบบปกติไว้ได้เมื่อสามารถขยับได้เป็นปกติเหมือนก่อน และไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะมันจะไปบริหารกล้ามเนื้อผิดส่วน และทำให้ทรมานจากการที่เส้นประสาทต่อกันผิด (Synkinesis)

คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลูกฝึกฝนในการขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นประจำหลังจากผ่านสัปดาห์ที่สองไปแล้ว เพราะอาการจะเริ่มดีขึ้นมาเล็กน้อย พอที่จะเริ่มทำท่าบริหารได้ แต่การกลับมาเป็นปกติจะต้องรออย่างต่ำ 3-6 เดือน ระหว่างที่ฝึกกล้ามเนื้อก็ให้กำลังใจเขาไปด้วยว่าจะสามารถหายได้อย่างแน่นอน

 

อ่านบทความสำหรับแม่แด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th