Site icon Motherhood.co.th Blog

Dyspraxia คืออะไร ? ทำไมเราไม่เคยได้ยิน ?

Dyspraxia คืออะไร

มีหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับภาวะ Dyspraxia

Dyspraxia คืออะไร ? ทำไมเราไม่เคยได้ยิน ?

ประมาณ 6-10 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนกำลังต่อสู้กับความผิดปกติทางระบบประสาทที่เรียกว่า “Dyspraxia” ซึ่งมักส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหว แต่น้อยคนมากที่จะรู้ว่ามันคืออะไร หรือมีผลต่อเด็กอย่างไร Motherhood จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นค่ะ

กลุ่มอาการบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) แบ่งเป็นหลายชนิดตามความบกพร่องทางทักษะด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เด็กที่มีอาการเหล่านี่แสดงอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ซึ่ง Dyspraxia ก็เป็นหนึ่งในนั้น

คือความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานระหว่างสมองกับอวัยวะเป้าหมาย

Dyspraxia คือความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานระหว่างสมองกับอวัยวะเป้าหมาย เป็นภาวะที่เซลล์ประสาทในสมองที่ควบคุมทักษะด้านกล้ามเนื้อและความรู้สึกไม่เชื่อมต่อและทำกันร่วมกันได้อย่างแม่นยำ จัดเป็นคำศัพท์ที่ค่อนข้างใหม่ซึ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1980 ในสหราชอาณาจักร ก่อนหน้านั้นมันถูกเรียกว่า Clumsy Child Syndrome ซึ่งเป็นชื่อที่น่ากลัวและมีคำอธิบายที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมันเป็นภาวะที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในวัยผู้ใหญ่ได้ด้วย

และมันมักจะถูกเรียกว่าภาวะซ่อนเร้นและก็ไม่มีความสอดคล้องกันมากนัก อีกทั้งยังดูไม่เหมือนกันในผู้ป่วยแต่ละคน และมีปัญหามากมายที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังไม่มียารักษา แต่อาการโดยทั่วไปแล้ว เด็กอาจใช้งานช้อนส้อมหรือดินสอลำบาก ไม่สามารถผูกเชือกรองเท้าได้ด้วยตนเอง พูดติดขัด เคลื่อนไหวลูกตาลำบาก ร่างกายไวต่อแสง การสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่น เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่มีภาวนี้จะดูไม่แตกต่างกันมากนัก และพวกเขามักจะต่อสู้กับมันอย่างเงียบ ๆ เพราะครู โค้ช และเพื่อน ๆ ไม่เข้าใจว่าการทำงาน “ง่าย ๆ” ให้สำเร็จนั้นยากเพียงใด ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการใด ๆ หรือทั้งหมดต่อไปนี้

เด็กที่มีภาวะนี้ทักษะกล้ามเนื้อมักมีปัญหา

เกิดอะไรขึ้นในห้องเรียนกับเด็กที่มีภาวะ Dyspraxia ?

เด็กอาจได้รับความเข้าใจอย่างไม่ถูกต้องว่าเขาเป็นเด็กขี้เกียจ ท้าทาย ไม่ใส่ใจ และไม่มีความพร้อมกับการเรียน ถึงแม้เด็กคนนั้นจะฉลาดมาก แต่หากเขาขาดทักษะด้านกล้ามเนื้อและทักษะการวางแผนอย่างมาก ดังนั้ในขณะที่เขาสามารถทำคณิตศาสตร์ระดับสูงในหัวได้อย่างเต็มที่ เขาก็ไม่สามารถสื่อสารความคิดของเขาบนกระดาษออกมาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ความเร็วในการประมวลผลของพวกเขายังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้น การทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือการจัดระเบียบความคิดของเขาเพื่อเขียนอะไรสักหนึ่งย่อหน้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และปฏิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาหลายขั้นตอนจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เด็กที่มีภาวะนี้ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการจัดระเบียบการเคลื่อนไหวของตัวเอง พวกเขาต้องใช้ความสามารถในการรับรู้เพื่อนั่งบนเก้าอี้อย่างเหมาะสม เพื่อจับปากกา และขยับมือไปในทิศทางที่ถูกต้อง ดังนั้น พวกเขาจึงไม่มีพื้นที่สมองเหลือมากพอที่จะคิดเกี่ยวกับคำสั่งและทำตามสิ่งที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เมื่อครูมอบหมายงาน เด็กมักจะจำเพียงแค่คำสั่งแรกและครั้งสุดท้ายที่ได้รับ แต่ไม่ใช่อะไรที่อยู่ระหว่างนั้น แต่ด้วยความที่เด็กบางคนก็ฉลาดมาก พวกครูจึงคิดว่าเขาไม่สนใจคำแนะนำของครู พวกครูกลับเห็นเด็กที่ท้าทายแทนที่จะเป็นเด็กผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้และต้องการความช่วยเหลือ

บางทีครูไม่เข้าใจว่ามันคือภาวะที่ต้องได้รับการดูแล

การต่อสู้ที่ซ่อนอยู่สามารถทำให้เกิดผลที่มองเห็นได้

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของอาการที่ซ่อนเร้นคือการทำให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับความบกพร่องที่มี พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนพบว่าตัวเองอธิบายอาการของลูกให้ครูฟังซ้ำ ๆ โดยเสนอคำแนะนำให้ครูเกี่ยวกับวิธีการดูแลบุตรหลานของตน และปลอบโยนพวกเขาเมื่อพวกเขารู้สึกพ่ายแพ้เพราะ “ดีที่สุด” ของพวกเขายังไม่ใช่สิ่งที่ดีพอ และพวกเขาถูกเยาะเย้ยที่ทำบางสิ่งบางอย่างผิดต่อหน้านักเรียนทั้งชั้น การที่ผู้ใหญ่โดยเฉพาะครูตอบสนองต่อเด็กส่งผลอย่างมากต่อปฏิกิริยาของเพื่อน ๆ น่าเสียดายที่การกลั่นแกล้งโดยครูและนักเรียนเป็นเรื่องปกติ

เด็กเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ เมื่ออายุมากขึ้นความล่าช้าในการประมวลผลและการทำงานของพวกเขาจะชัดเจนมากขึ้น และอาจถูกมองเป็นเรื่องตลกหรือถูกรังแก ซึ่งส่งผลต่อความนับถือตนเอง

สิ่งที่เรามักจะได้ยินซ้ำ ๆ จากคือผู้ปกครองของเด็กหลายคนที่มีอาการคือ “ฉันอยากให้คนอื่นเข้าใจว่าลูกของฉันพยายามหนักแค่ไหน” และ “ลูกของฉันเป็นคนที่จิตใจดีและเอาใจใส่มากที่สุดที่ฉันรู้จัก”

คนที่มีภาวะนี้ต้องทำงานหนักขึ้นสิบเท่าเพื่อให้เชี่ยวชาญงานพื้นฐาน เช่น คาดเข็มขัดนิรภัยหรือผูกเชือกรองเท้า และพวกเขาทำเพราะไม่อยากถูกล้อว่าแตกต่าง พวกเขาจะพยายามทำมันจนกว่าจะทำได้ และนำความเพียรพยายามเช่นนั้นมาสู่ทุกสิ่งที่ทำ

เนื่องจากพวกเขาต้องต่อสู้ทุกวัน พวกเขาจึงเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่เผชิญกับความทุกข์ยาก พวกเขารู้ดีว่ารู้สึกอย่างไรที่ต้องถูกเลือกให้แตกต่าง และไม่ต้องการที่จะเห็นใครต้องรู้สึกอับอายหรือหมดหนทาง

เด็กจะพยายามเพื่อเอาชนะในสิ่งที่เขาทำไม่ได้

มาทำให้เสียงของเราได้ยินกันเถอะ

คาดว่าหกเปอร์เซ็นต์ของประชากรมีภาวะนี้จากการเปรียบเทียบพบว่า 1.85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก และคาดว่า 2.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นโรคสมาธิสั้น แต่แทนที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเปิดเผย หลายคนพูดถึงเรื่องนี้ภายในประตูที่ปิดตายเท่านั้น ไม่ว่าพวกเขาจะอายหรือไม่ต้องการดึงดูดความสนใจของตัวเองหรือลูก ๆ แต่พวกเขากำลังทำให้ทุกคนเสียประโยชน์ในระยะยาว

มันไม่ควรถูกปกปิดเป็นความลับอีก ในฐานะคนดัง เช่น นักแสดงอย่าง Daniel Radcliff และ Cara Delevingne นักร้องอย่าง Mel B. และ Cher รวมถึง Richard Branson มหาเศรษฐีหลายพันล้าน และเชฟ Jamie Oliver ล้วนเคยแบ่งปันการวินิจฉัยโรคและการต่อสู้กับมันต่อสาธารณะ พวกเราก็ควรเช่นกัน การมีภาวะนี้ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวในอนาคต แต่เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงลักษณะนิสัยและความอุตสาหะของบุคคล

เด็กที่มีภาวะนี้มักจะมีอารมณ์ขันซึ่งช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นเรื่องนี้ไปได้ พวกเขามีมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับโลก เก่งในการแก้ปัญหา และมีความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้ลูกของคุณจมอยู่กับความอับอายที่เขามีภาวะเช่นนี้อีกเลย

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th