Site icon Motherhood.co.th Blog

Reye’s Syndrome โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยาบางตัว

Reye's Syndrome

Reye's Syndrome อีกอาการแทรกซ้อนจากไวรัสและการแพ้ยาแอสไพริน

Reye’s Syndrome โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยาบางตัว

เวลาที่ลูกป่วยไข้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็พยายามหาหยูกยามารักษาอย่างดีที่สุด แต่บางทีอาจไม่ทันคิดว่าลูกน้อยจะแพ้ยาได้ และ Reye’s Syndrome ก็เป็นหนึ่งในโรคแทรกซ้อนที่เกิดมาจากอาการแพ้ยาบางชนิดที่ใช้บำบัดรักษาอาการป่วยอย่างอื่น แต่จะเป็นยาตัวไหนและมีไว้ใช้รักษาโรคอะไร มาติดตามกันต่อในบทความนี้ได้เลยค่ะ

เด็กอาจมีอาการเพราะแพ้ยาแอสไพรินที่กินเข้าไปตอนเป็นไข้หวัด

Reye’s Syndrome (กลุ่มอาการเรย์) เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและตับ ผู้ป่วยมักจะอาเจียนอย่างต่อเนื่อง กระสับกระส่าย หมดสติ อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้ เป็นภาวะเจ็บป่วยที่พบได้ไม่มาก มักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กถึงอายุไม่เกิน 16 ปี

สาเหตุของ Reye’s Syndrome

มักพบอาการในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อมาจากไวรัส เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส ลำไส้อักเสบ เป็นต้น การใช้ยาแอสไพริน  (Aspirin) เพื่อบรรเทาไข้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังไม่ทราบกลไกการทำงานของโรคที่แน่ชัด

ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี แม้จะไม่มีประวัติการใช้ยาแอสไพรินก็อาจะมีอาการเรย์ซินโดรมได้ ซึ่งพิสูจน์พบว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของกรดไขมันโดยการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้มักไม่มีอาการแสดง แต่อาการจะกำเริบขึ้นมาเองเมื่อได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้น

ส่วนในเด็กโตที่ก็ยังสามารถพบอาการได้แต่ก็น้อยมาก มักจะมีปัจจัยมาจากการสัมผัสสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า หรือทินเนอร์

เด็กเล็กและวัยรุ่นไม่ควรใช้ยาแอสไพรินอยู่แล้วถ้าแพทย์ไม่แนะนำให้เอง

อาการของผู้ป่วย

โดยปกติแล้วอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมักจะปรากฎภายใน 3-5 วันหลังติดเชื้อไวรัส หรืออาจจะนานจนถึง 3 สัปดาห์ในบางราย โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้

เด็กจะมีอาการอาเจียนไม่หยุด

ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจจะอาเจียนอย่างต่อเนื่อง ชักเกร็ง หมดสติ แขนขาอ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ โรคนี้ทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติ มีการสะสมไขมันตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดการคั่งของแอมโมเนียในหลอดเลือดทำให้เกิดภาวะสมองบวม และความดันในกะโหลกศีรษะสูงมากกว่าปกติ เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น หากพ่อแม่พบว่าลูกมีอาการป่วยโดยเฉพาะอาการที่รุนแรง ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

การวินิจฉัยกลุ่มอาการเรย์

ภาวะนี้ยังไม่มีวิธีตรวจหาโรคแบบเฉพาะเจาะจง แต่เบื้องต้นแพทย์จะนำเลือดไปตรวจและตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ตรวจระดับความเป็นพิษในเลือด ตรวจการทำงานของตับ รวมทั้งตรวจหาความบกพร่องของการสังเคราะห์กรดไขมัน หรือความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารด้วย นอกจากนั้นแพทย์อาจจะตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมด้วยวิธีต่อไปนี้

การรักษากลุ่มอาการเรย์

แพทย์จะเน้นรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเป็นหลัก เพื่อควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นไปกระทบกระเทือนถึงสมอง โดยอาจใช้หลายวิธีรวมกันและคอยดูแลอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

บางรายก็จะมีอาการชัก ถึงขั้นหมดสติไปได้

ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการเรย์

ผู้ป่วยในภาวะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถหายเป็นปกติได้ แม้บางรายอาจจะมีอาการเสียหายของสมองที่เกิดจากอาการบวม โดยในผู้ป่วยรายที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงก็อาจทำให้สมองเสียหายอย่างถาวรได้ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยมาก นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น สูญเสียการได้ยินหรือการมองเห็น มีปัญหาด้านการกลืนอาหารหรือการเคลื่อนไหว ความจำสั้น เป็นต้น

การป้องกันกลุ่มอาการเรย์

เนื่องจากยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เราจึงสามารถทำได้เพียงหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการ ดังนี้

ได้รับรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนกลุ่มอาการเรย์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับลูกหลังจากการเป็นไข้หวัด อิสุกอิใส หรือโรคอื่นๆที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกันไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นในการใช้ยา โดยเฉพาะกับยาแอสไพรินไม่ควรให้ลูกใช้เด็ดขาดจนกว่าเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่จริงๆ และยังต้องเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อยาต่างๆจากร้านขายยาให้ลูกกินเองด้วย

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th