To-do list คุณแม่มือใหม่ มีอะไรที่คุณต้องทำบ้าง
ในการเตรียมตัวสำหรับสมาชิกใหม่และรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ การมี “To-do list คุณแม่มือใหม่” นั้นจะช่วยให้คุณติดตามรายการที่คุณต้องทำประจำสัปดาห์ เพื่อให้ระยะเวลา 9 เดือนของคุณผ่านไปได้โดยไม่ต้องคิดมาก ติดตามลิสท์ของเรากันค่ะ
สัปดาห์ที่ 1
ขอแสดงความยินดีด้วย หลังจากที่พยายามกันมาสักพัก ความเป็นไปได้เริ่มมีให้เห็นแล้ว และนี่คือสิ่งแรกที่คุณต้องทำ
- บันทึกวันของการมีรอบเดือนครั้งล่าสุดเอาไว้ หรือสองครั้งล่าสุดยิ่งดี
- ทำประวัติสุขภาพของครอบครัว รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโครโมโซม กับคู่ของคุณ
- เลิกสูบบุหรี่ และหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
สัปดาห์ที่ 2
- ลดปริมาณการบริโภคคาเฟอีน
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณสามารถใช้ได้ตอนตั้งครรภ์
- เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ให้ครบหมู่
- ปรึกษาแพทย์เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสม
สัปดาห์ที่ 3
- ศึกษาอาการของคนท้องในช่วงแรก
- หาซื้อที่ตรวจครรภ์
- เรียนรู้ว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่คนท้องควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยง
สัปดาห์ที่ 4
- ตรวจครรภ์ซ้ำอีกครั้งให้แน่ใจ
- แจ้งข่าวดีกับครอบครัวและคนสนิท
- นัดแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์
สัปดาห์ที่ 5
- เลือกซื้อหนังสือเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
- ดาวน์โหลดแอพที่ช่วยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
- ซื้อสมุดบันทึกไว้ใช้บันทึกอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอีก 8 เดือนข้างหน้า
- ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
- หากคุณทำประกันสุขภาพ ให้พูดคุยกับตัวแทนประกันของคุณ เพื่อดูว่าแพทย์และโรงพยาบาลในท้องถิ่นใดที่รวมอยู่ในแผนประกันที่คุณทำไว้บ้าง
สัปดาห์ที่ 6
- หากคุณเลี้ยงแมว ก็ถึงเวลาให้คู่ของคุณทำหน้าที่เปลี่ยนทรายแมวแทน ปัญหาของทรายแมวกับแม่ท้องคือ มันสามารถปนเปื้อนด้วย Toxoplasma ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในขี้แมว มักทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ แต่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงสำหรับทารกในครรภ์ รวมถึงการติดเชื้อที่ตาและปัญหาการมองเห็น รวมถึงสมอง ตับ และม้ามเสียหาย
- หาสูตรป้องกันอาการแพ้ท้องเตรียมไว้
- เริ่มตัดสินใจว่าคุณชอบแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วยมากพอที่จะให้ทำคลอดด้วยหรือไม่ ถ้าไม่ชอบ จะได้มองหาแพทย์ทำคลอดคนใหม่แต่เนิ่น ๆ
สัปดาห์ที่ 7
- ทำตารางนัดหมายสำหรับการไปตรวจครรภ์ครั้งแรก ซึ่งจะมีขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 8-12
- ลิสท์คำถามที่คุณสงสัยเพื่อถามแพทย์ในการตรวจครรภ์
- เคลียร์บ้านให้ปลอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี เช่น DEET ที่มีมากในยาฆ่าแมลง
สัปดาห์ที่ 8
- ช็อปปิ้งบราใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบราสำหรับตั้งครรภ์หรือบราทั่วไปที่ใหญ่ขึ้นและมีเนื้อสัมผัสนิ่ม
- เริ่มฝึกบริหารกล้ามเนื้อ Kegels ทุกวัน เพื่อช่วยในการคลอดแบบธรรมชาติ
- เลือกซื้อยาลดกรดที่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์
- ทำนัดกับหมอฟันล่วงหน้า เพื่อปรึกษาปัญหาฟันที่อาจเกิดระหว่างตั้งครรภ์
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองที่ทำได้ในช่วงไตรมาสแรกของครรภ์
สัปดาห์ที่ 9
- เริ่มทำงบสำหรับเรื่องลูก
- เริ่มทำ To-do list สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมให้ลูกก่อนคลอด
- ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้าน หาแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้แทนแบบสารเคมี
- รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- เดินออกกำลัง หรือออกกำลังกายระดับปานกลางเป็นเวลา 30 นาที ทำให้เป็นกิจวัตร
สัปดาห์ที่ 10
- ล้างมือสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันติดหวัด
- ลองใช้วิธีบำบัดแบบธรรมชาติกับปัญหาอาหารไม่ย่อย
- เริ่มช็อปปิ้งชุดคุลมท้อง
- ทบทวนกฎการลาดคลอดของบริษัทที่คุณทำงาน
- หากคุณเคยผ่าคลอดมาแล้ว แต่อยากคลอดธรรมชาติในครั้งนี้ หากแพทย์ที่ผ่าคลอดให้ไม่สะดวกที่จะทำ ให้ลองปรึกษาแพทย์ท่านอื่น
สัปดาห์ที่ 11
- บำรุงผิวหน้าท้อง สะโพก และต้นขาของคุณทุกวัน เพื่อป้องกันอาการคันเพราะผิวแห้งขณะผิวยืดตัว
- หลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อนในอ่างอาบน้ำ ซาวน่า ห้องสตีม โยคะร้อน หรืออะไรก็ตามที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิร่างกายของคุณให้สูงกว่า 38.8 องศา
- เข้ารับการตรวจคัดกรองประจำไตรมาสแรก แพทย์จะได้ตัดสินผลการตรวจได้อย่างฟันธง
- ฟังเสียงหัวใจของทารกจาก Doppler
สัปดาห์ที่ 12
- ซื้อหมอนสำหรับหนุนทอนท้อง
- อย่าลืมยืดกล้ามเนื้อและอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย เพราะเอ็นและข้อต่อของคุณจะคลายตัวมากกว่าเดิมในช่วงนี้
- จนกว่าจะคลอด ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายใด ๆ ที่ต้องการให้คุณนอนราบบนหลังของคุณ
- หากเป็นครรภ์แฝด แพทย์จะสามารถสังเกตเห็นทารกอีกคนในการตรวจอัลตราซาวด์ครั้งถัดไป
สัปดาห์ที่ 13
- คิดชื่อลูกเตรียมไว้
- เริ่มนอนตะแคงข้างได้แล้ว
- หารายชื่อกุมารแพทย์
- แบ่งการรับประทานอาหารให้เป็นมื้อที่เล็กลงและบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันอาการเสียดท้อง
- พิจารณาการยืมชุดคลุมท้องจากเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว
สัปดาห์ที่ 14
- แจ้งกับผู้บังคับบัญชาที่ทำงาน
- เริ่มถ่ายรูปท้องที่ค่อย ๆ โตขึ้นเก็บไว้
สัปดาห์ที่ 15
- หาที่ฝึกโยคะสำหรับคนท้อง
- หากคุณอายุมากกว่า 35 ให้นัดแพทย์เพื่อตรวจน้ำคร่ำ
สัปดาห์ที่ 16
- รับแคลเซียมให้เพียงพอ จะผลิตภัณฑ์นมแบบไขมันต่ำหรืออาหารเสริม
- พูดคุยกับญาติหรือเพื่อนสนิทถึงประสบการณ์ในการคลอด
สัปดาห์ที่ 17
- รับมือกับอาการหลง ๆ ลืม ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ด้วยการจดโน้ตและตั้งเตือนจากแอพต่าง ๆ
- ลงทะเบียนคอร์สอบรมเกี่ยวกับการคลอด เช่น ลามาซ
- เปิดบัญชีสำหรับออมเงินให้ลูก
- ซื้อเครื่องพ่นไอน้ำติดในห้องนอน เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกที่มีในช่วงท้อง
สัปดาห์ที่ 18
- ตรวจสอบเก้าอี้โต๊ะทำงานของคุณ เพื่อดูว่ามีเก้าอี้ที่ซัพพอร์ทได้ดีกว่าหรือที่วางเท้าที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
- สามารถตรวจสอบเพศของทารกได้แล้ว ถ้าคุณต้องการรู้ก่อน
สัปดาห์ที่ 19
- เริ่มมองหาเฟอร์นิเจอร์สำหรับเด็ก
- หากอยากคลอดเองที่บ้าน ก็เริ่มศึกษาได้แล้ว
สัปดาห์ที่ 20
- เตรียมรองเท้าส้นแบนที่เหมาะกับการสวมใส่ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะคุณต้องใส่ไปอีก 4 เดือน
- เริ่มศึกษาอาการครรภ์เป็นพิษว่ามีอาการเช่นไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
สัปดาห์ที่ 21
- ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เตรียมไว้ก่อน
- ถึงเวลาที่ต้องปรับขนาดบราอีกครั้ง
สัปดาห์ที่ 22
- รู้เพศทารกแล้ว ลองพิจารณาชื่อให้ลูกอีกครั้ง
- ป้องกันเส้นเลือดขอด โดยหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานซึ่งอาจส่งผลให้เลือดรวมกันที่ขา
สัปดาห์ที่ 23
- ซื้อชุดคลุมท้องเพิ่ม
สัปดาห์ที่ 24
- มองหาสถานรับเลี้ยงเด็กเอาไว้ล่วงหน้า หากคุณต้องกลับไปทำงานหลังคลอด
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจหาเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 25
- อัพเดทข้อมูลสุขภาพกับตัวแทนประกัน และใส่รายชื่อผู้รับผิดชอบเป็นผู้ปกครองที่คุณต้องการ
สัปดาห์ที่ 26
- พูดคุยกับกุมารแพทย์ที่สนใจ ค้นหาว่าแพทย์ในย่านที่อยู่อาศัยมีใครบ้างที่รวมอยู่ในประกันสุขภาพ และพูดคุยกับตัวแทนประกันเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
- หากต้องการเดินทางไปที่ไหนในช่วงนี้ ให้ทำเลย ก่อนที่จะต้องงดเมื่อเข้าไตรมาสที่สาม
- เข้ารับการตรวจกลูโคส เพื่อเช็คเบาหวาน
สัปดาห์ที่ 27
- หากวางแผนทำห้องแยกให้ลูก ควรเริ่มคิดเรื่องการตบแต่งได้แล้ว
- เริ่มมองหาดูลา หากต้องการใช้บริการ
สัปดาห์ที่ 28
- พบแพทย์ตามนัดทุก ๆ 2 สัปดาห์
- ให้คุณพ่อฟังสัมผัสการเตะของเจ้าตัวน้อยจากในท้อง
- หากนิ้วของคุณบวม ให้ถอดแหวนออกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจนกระทั่งหลังคลอด
- คุณอาจได้รับการฉีดตรวจ RhoGAM ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรุ๊ปเลือดของคุณและคู่
สัปดาห์ที่ 29
- หากคุณอาศัยในบ้านที่ถูกสร้างมานานมาก ให้คู่ของคุณทดสอบว่าสีที่ใช้ทาบ้านนั้นมีสารตะกั่วหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เอาออก
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูกและริดสีดวง
สัปดาห์ที่ 30
- ซื้อคาร์ซีทและรถเข็นเตรียมไว้
- จัดกระเป๋าเตรียมไปคลอด และของคู่คุณด้วย
- เรียนรู้อาการของการคลอดก่อนกำหนด
- เริ่มออกกำลังในแบบที่ช่วยเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อการคลอด
สัปดาห์ที่ 31
- รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
- หากต้องการจ้างพยาบาลมาช่วยดูแลเด็ก ให้ขอคำแนะนำได้แล้ว
- วางแผนลาคลอด
- เตรียมชุดปฐมพยาบาลสำหรับเด็ก
สัปดาห์ที่ 32
- วางแผนการดูแลลูกหรือสัตว์เลี้ยง ในระหว่างที่คุณไปคลอด
- ไปตัดผม
- เริ่มพบแพทย์ทุกสัปดาห์จนกว่าจะคลอด
สัปดาห์ที่ 33
- หาความรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิด
- เคลียร์รถให้พร้อมสำหรับการรับทารกน้อย
- ติดตั้งคาร์ซีทโดยดูข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อความมั่นใจในการติดตั้ง
สัปดาห์ที่ 34
- ซื้อหาของใช้จำเป็นที่คุณต้องใช้หลังคลอด
- พบปะกับกุมารแพทย์ที่คุณสนใจ เพื่อตัดสินใจเลือก
สัปดาห์ที่ 35
- หากคุณตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนม ให้เริ่มปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่
สัปดาห์ที่ 36
- ทบทวนแผนในการคลอดกับแพทย์ ดูลา พยาบาลผดุงครรภ์ หรือคนที่เกี่ยวข้อง
- พักผ่อนให้มากเข้าไว้
สัปดาห์ที่ 37
- หากคุณมีลูกอยู่แล้ว เตรียมเขาให้พร้อมรับกับการมาของน้องคนใหม่
- วางแผนสำหรับ 2-3 สัปดาห์แรกของคุณกับลูกน้อย ด้วยการทำอาหารและแช่แข็งมื้อเย็นที่อยู่ได้ 2-3 วัน
- ตุนผ้าอ้อมสำเร็จรูปและนมผง
- ซักเสื้อผ้าเด็กอ่อนและฟูกเตรียมไว้
สัปดาห์ที่ 38
- ตรวจสอบเรื่องการเงินและประกันสุขภาพให้ถี่ถ้วน
- ตัดสินใจเลือกชื่อลูกอย่างจริงจัง
สัปดาห์ที่ 39
- ฝึกซ้อมเทคนิคการหายใจระหว่างคลอดที่คุณไปอบรมมา
- สรุปงานและสร้างบันทึกช่วยจำสำหรับคนที่เข้ามารับผิดชอบงานแทนคุณ ทำล่วงหน้าเผื่อว่าคุณจะคลอดก่อนวันที่กำหนดเอาไว้แต่แรก
สัปดาห์ที่ 40
- เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอาการน้ำเดิน
- นับการเจ็บท้องเตือน
- ซื้อแผ่นเจลประคบเย็น 2-3 ชุดเตรียมไว้ สำหรับประคบฝีเย็บหลังกลับจากโรงพยาบาล
สัปดาห์ที่ 41
- ทำสควอท เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอด
- พักผ่อนให้มาก ๆ
สัปดาห์ที่ 42
- เดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อคลอด
มีรายละเอียดมากมายที่คุณพ่อคุณแม่จะหลงลืมไม่ได้ในการเตรียมตัวสำหรับการมาของทารกน้อยนะคะ ช่วย ๆ กันดูรายละเอียดพวกนี้ให้ดี ทำในสิ่งที่สมควรทำในระยะเวลาของมัน แล้วทุกอย่างจะดีเองค่ะ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th