Site icon Motherhood.co.th Blog

หยุดปลูกฝัง “Toxic masculinity” ผ่านการเลี้ยงดูลูกของคุณ

Toxic masculinity ไม่ดียังไง

หยุดบ่มเพาะ Toxic masculinity ผ่านการเลี้ยงลูกของคุณได้แล้ว

หยุดปลูกฝัง “Toxic masculinity” ผ่านการเลี้ยงดูลูกของคุณ

“Toxic masculinity” อาจจะยังดูเหมือนเป็นคำศัพท์ใหม่ในสังคมไทย แต่หลายคนคงเคยได้ยินใช่ไหม ? ‘ไม่เอาน่าลูก ไม่ร้องไห้นะ เป็นลูกผู้ชาย หนูต้องทำได้’ คำพูดพวกนี้เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากปากของพ่อหรือแม่ แต่คำถามก็คือ ลูกชายของเราจะไม่เป็นผู้ชายกระนั้นหรือหากเขาร้องไห้ให้กับบางเรื่อง ? มันทำให้เขามีความเป็นผู้ชายน้อยลงหรือ ? พ่อแม่ควรทราบเอาไว้ว่าเพศไม่ได้เป็นตัวกำหนดบทบาททางความรู้สึกของเด็กเลย

หยุดความเป็นพิษนี้ไว้ก่อนที่มันจะทำลายทุกคน

Toxic masculinity คืออะไร ?

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะความเป็นชายเป็นพิษนี้มีปรากฏใช้ในทางวิชาการและการพูดคุยในสื่อเกี่ยวกับความเป็นชาย เพื่อสื่อถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมบางประการที่เกี่ยวข้องกับการส่งผลร้ายต่อสังคมและต่อตัวผู้ชายเอง ในหลายครั้งก็เป็นลักษณะของผู้ชายที่ส่งเสริมการครอบงำ การลดคุณค่าของผู้หญิง การกีดกันทางเพศ และความเกลียดชังผู้หญิง

แนวคิดเชิงลบเกี่ยวกับความเป็นชายนี้ยังให้ความสำคัญอย่างมากกับ ‘ความเป็นชาย’ โดยยึดโยงมันไว้กับ

ผู้ชายที่แสดงลักษณะเหล่านี้ไม่เพียงพออาจขาดความเป็น ‘ชายแท้’ ตามค่านิยมของภาวะความเป็นชายเป็นพิษ การรับรู้เหล่านี้เกี่ยวกับการเป็นผู้ชายได้รับการสนับสนุนจากบรรดาชายหนุ่มอยู่ตลอดเวลา

ความเป็นชายที่เกินจริงนี้กำลังทำร้ายเด็ก ๆ ของเรา

ภาวะความเป็นชายเป็นพิษอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตกับลูกชายของคุณ

ลูกของคุณอาจรู้สึกกดดันกับการเผชิญหน้าและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าการเป็นผู้ชายควรต้องเป็นอย่างไร และในบางครั้งเขาก็ไม่สามารถทำตามความคาดหวังเหล่านั้นได้

สมาคมจิตวิทยาอเมริกันกล่าวถึงผลเสียของการกระทำต่อคุณลักษณะของผู้ชายที่เกินจริงเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ผู้ชายและเด็กชายที่ถูกกดดันให้ปฏิบัติตามลักษณะเหล่านี้มักจะได้รับผลเสียและอาจเผชิญกับความยากลำบาก เช่น

ในขณะที่สังคมกำลังก้าวไปสู่การบรรลุเป้าหมายแห่งความเท่าเทียมกันทางเพศ สิ่งสำคัญคือต้องปลดปล่อยลูกชายของคุณจากการติดอยู่ในความเป็นชายที่เป็นพิษ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเสริมสร้างศักยภาพให้กับเด็กผู้หญิงตัวน้อย

สิ่งที่สำคัญมากคือสุขภาพจิตและอารมณ์ของบุตรหลานของคุณ ปล่อยให้พวกเขาแสดงด้านที่อ่อนไหวให้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาต้องการ แทนที่จะเก็บไว้ภายในตัวเองและสั่งสมไว้จนเป็นผลเสียต่อสุขภาพ

เราทำอะไรได้บ้างในฐานะพ่อแม่ ?

ต่อไปนี้เป็นวิธีที่คุณสามารถทดลองเลี้ยงลูกโดยไม่ต้องส่งต่อความเป็นชายที่เป็นพิษ

1. กระตุ้นลูกของคุณให้แสดงด้านที่อ่อนไหวของเขา

โดยปกติผู้ชายจะไม่ค่อยแสดงความรู้สึกเพราะมองว่านั่นคือจุดอ่อน สิ่งนี้ทำให้พวกเขาเก็บมันไว้ข้างในและทำตัวเหมือนไม่มีอารมณ์ การพยายามระงับความรู้สึกอาจส่งผลเสียต่อลูกชายของคุณ มันส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน โกรธ หรือซึมเศร้า

น่าเศร้าที่คนเป็นลูกชายไม่เคยได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริงตั้งแต่แรกเริ่มที่จะรู้สึกและแสดงอารมณ์ของพวกเขาออกมา พ่อต้องสอนลูกว่าการก้าวร้าวและไม่แสดงออกไม่ใช่เรื่องปกติ

ความก้าวร้าวและการไม่แสดงอารมณ์ไม่ใช่เรื่องที่ปกติเลย

2. หยุดบอกลูกชายว่า ‘ทำตัวให้แมน ๆ หน่อย’

เป็นเรื่องธรรมดาที่สุดที่เรามักจะได้ยินพ่อบอกกับลูกชายของเขา โดยสื่อว่าผู้ชายนั้นก้าวร้าว ไร้อารมณ์ และร้องไห้ไม่ได้ พ่อแม่จำเป็นต้องรู้ว่าลูกของพวกเขาอาจเจ็บปวดในกระบวนการเช่นนี้จากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นลูกผู้ชาย การขอให้ลูกชายของคุณทำตัว ‘แมน’ เป็นทางลัดที่ขาดความรับผิดชอบของการเลี้ยงดู โดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเขาต้องการอะไร

โดยทั่วไปแล้ว ลูกชายจะได้รับแรงบันดาลใจจากพ่อแม่ของพวกเขาให้เล่นกีฬาของลูกผู้ชายหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมผจญภัย เพียงเพื่อให้พวกเขาสามารถแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความเป็นลูกผู้ชาย แต่สิ่งที่พ่อแม่ไม่รู้คือการไม่ตระหนักว่า ความกดดันอย่างไม่หยุดยั้งในการ ‘ทำตัวแมน ๆ’ จะทำให้ความเป็นตัวของตัวเองของลูกชายหายไป

3. หยุดตั้งข้อสังเกตที่ไม่เหมาะสม

เด็กชายก็มีความรู้สึก ให้เขาระบายมันออกมา

‘ดูสาว’ ‘ร้องไห้เหมือนผู้หญิง’ หยุดใช้คำพูดเหล่านี้กับลูกชายของคุณ เมื่อพวกเขาแสดงความอ่อนแอหรือร้องไห้เพื่อระบายความรู้สึกของพวกเขา การดูถูกดูหมิ่นปัญหาของลูกชายจะไม่ช่วยแก้ปัญหา และจะทำให้สถานการณ์แย่ลง อย่าเพิ่งคิดถึงแต่ตัวเอง คิดถึงลูกด้วย

สอนลูกชายว่าการร้องไห้ไม่ใช่เรื่องของผู้หญิงหรือความอ่อนแอ สิ่งที่ทำได้คือปลอบประโลม สนับสนุน และปล่อยให้เขาพูดถึงปัญหาที่มีแทน

4. สอนเขาให้มีความเมตตา ความเอาใจใส่ และเคารพผู้อื่น

ความเท่าเทียมกันทางเพศจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อเรายังคงแสดงความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตา ให้แก่กันโดยไม่คำนึงถึงเพศของพวกเขา และอย่างที่เราทราบกันดี ทุกอย่างเริ่มต้นได้ที่บ้าน

คุณแม่และคุณพ่อควรเริ่มแสดงพฤติกรรมเชิงบวกเหล่านี้ให้ลูกเห็นเมื่อพวกเขายังเด็ก เพื่อที่พวกเขาจะเติบโตขึ้นมามีความเห็นอกเห็นใจและมีความเมตตาต่อผู้อื่น

สอนลูกให้ทำงานโดยไม่ต้องแบ่งแยกเพศ

สอนลูกชายของคุณให้เคารพทุกคนและทำงานร่วมกัน โดยไม่แบ่งแยกหรือเกี่ยงว่างานใดเป็นหน้าที่ของเพศใด สิ่งนี้จะส่งผลอย่างมากต่อทัศนคติของเด็กผู้ชายที่มีต่อผู้หญิงทุกคนในระยะยาว

สุดท้ายนี้ จงรักและปฏิบัติต่อลูกชายและลูกสาวของคุณเหมือนเดิม เป็นพ่อแม่ที่ให้การสนับสนุนเพราะพวกเขาต้องการคุณเสมอ จำไว้ว่าครอบครัวที่มีความสุขและปรองดองเริ่มต้นที่ตังคุณเอง

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th