Site icon Motherhood.co.th Blog

ระวัง! 6 โรคที่จะตามมากับ “การใช้สมาร์ทโฟน” นาน ๆ

การใช้สมาร์ทโฟนนาน ๆ

หากคุณใช้สมาร์ทโฟนนานเกินไป ให้ระวัง 6 โรคที่จะตามมา

ระวัง! 6 โรคที่จะตามมากับ “การใช้สมาร์ทโฟน” นาน ๆ

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ “การใช้สมาร์ทโฟน” กลายเป็นเป็นอวัยวะส่วนที่ 33 ต่อชีวิตประจำวันของคนเราไปแล้ว นอกจากจะใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังสามารถรับข้อมูลข่าวสาร บันเทิงต่าง ๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ถ่ายรูป บันทึกวิดีโอ แชท ฯลฯ ได้จากมือถือเพียงเครื่องเดียว จนทำให้เราต้องอยู่กับโทรศัพท์เป็นเวลานาน จนส่งผลเสียต่อโรคต่าง ๆ ตามมา ซึ่งมีโรคอะไรบ้างตามไปดูกัน

เช็กด่วน! โรคที่มากับการใช้โทรศัพท์มือถือนาน ๆ

1. โรคนิ้วล็อก

โรคนี้พบมากในผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วล็อก กำมือ งอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดออกนิ้วใดนิ้วหนึ่งจะเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อกไว้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำข้อต่อยึดและเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของนิ้วยึดแข็ง ทำให้พิการได้

2. โรค Text Neck Syndrome

ขณะที่เราใช้สมาร์ทโฟนบ่อย ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม จนกล้ามเนื้อบริเวณคอบาดเจ็บเรื้อรัง คนที่เป็นมากอาจมีอาการชารุนแรงถึงขั้นปวดร้าว ตั้งแต่ต้นคอ บ่า และไหล่เรื้อรังและมีอาการมืออ่อนแรง ซึ่งบางรายอาจลุกลามจนทำให้ข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกบริเวณคอเสื่อมได้ เพราะการโน้มคอ ก้มศีรษะมาด้านหน้าและห่อไหล่ทั้งสองข้าง ฉะนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าหรือพฤติกรรมให้เหมาะสม

3. โรควุ้นในตาเสื่อม

เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออยู่หน้าจอสมาร์ทโฟนมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด

การใช้สมาร์ทโฟน - วุ้นตาเสื่อม

4. โรคโนโมโฟเบีย

โรคโนโมโฟเบีย หรือโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร จัดเป็นโรคกลัว ทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ อาการโดยทั่วไปที่สามารถเช็กได้ง่ายๆ คือ เกิดอาการเครียด วิตกกังวล ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ เมื่อไม่มีโทรศัพท์ อยู่ในจุดอับสัญญาณ หรือแบตเตอรีหมด นอกจากนี้ ยังแสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต ขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา ถ้าสังเกตตัวเองว่ามีอาการพวกนี้มากเกินไปในแต่ละวันควรรีบปรึกษาแพทย์เป็นการด่วน

5. โรคความเครียด – วิตกกังวล

ในการใช้สมาร์ทโฟนเล่นเกมมาก ๆ หรือเสพข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จนมากเกินไป อาจทำให้เราเกิดความเครียดในแบบที่เราไม่รู้ตัว วิธีรักษาโรคเครียดคือ เราต้องผ่อนรับรู้ข่าวสาร หรือเล่นเกมที่เหมาะสมไม่หักโหมจนเกินไป เพราะถ้ามากจนเกิดไป นอกจากโรคเครียดแล้วอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

6. โรคสมาธิสั้น

ผู้ใหญ่และเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือนานจนเกินไป แล้วเปลี่ยนไปทำอะไรสักอย่างจะไม่สามารถทำอย่างใจจดใจจ่อได้ จะทำได้แค่เพียงไม่เกิน 5 นาทีก็อาจจะต้องเปลี่ยนมาหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดู เพราะกลัวว่าจะมีอะไรเข้ามาหรือไม่ ซึ่งถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่

ซื้อประกันสุขภาพที่ไหนดี เมื่อโรคมาเยือน

จริงอยู่ที่ว่า การเข้ามาของสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายและสะดวกมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย หากรู้จักใช้ให้เป็น ใช้ให้พอเหมาะ ก็จะเกิดประโยชน์กับผู้ใช้ แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ภัยร้ายจากโทรศัพท์มือถือที่เราต้องรู้และระมัดระวัง ควรใช้ให้ในแบบพอเหมาะ อย่างพอดีก็จะได้ไม่เกิดโรคได้ แต่ถ้ามีโรคตามมาหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ การมีประกันสุขภาพไว้ก็ถือว่า เป็นอีกตัวช่วยที่ดีเมื่อโรคภัยไข้เจ็บตามมา นอกจากจะได้รับความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุมแล้ว ยังสามารถนำสิทธิไปลดหย่อนทางภาษีได้อีกด้วย หากยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อประกันสุขภาพที่ไหนดี ลองมาเลือกชมกันก่อนได้ที่ Rabbit finance กับบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ให้คุณได้พิจารณาความคุ้มครองและเบี้ยประกันที่เหมาะสมที่สุด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th