9 ความกังวลของคนท้อง ที่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากขนาดนั้น
เหล่าแพทย์ได้ออกมาแชร์ถึง “ความกังวลของคนท้อง” ที่ใหญ่ที่สุดหลายเรื่อง ซึ่งมันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเป็นจะต้องรู้สึกกังวลไปตลอดการตั้งครรภ์ของคุณ เพราะทั้งหมดนี้คือสิ่งใหม่และไม่อาจคาดเดาได้ สิ่งที่คุณต้องการก็คืออยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ แล้วรู้อะไรไหม มันก็มักจะเป็นไปเช่นนั้นนั่นแหละ มาดูกันว่าแพทย์ได้อธิบายข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้คุณประสาทเสียที่สุดในช่วงตั้งครรภ์ อ่านต่อดูสิคะ แล้วคุณจะถอนหายใจอย่างโล่งอก
1. ฉันต้องแท้งแน่เลย
การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ส่งผลให้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง และน้อยกว่าร้อยละ 20 ที่จะสิ้นสุดลงที่การแท้งบุตร จำไว้ว่าการแท้งบุตรส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เมื่อผู้หญิงหลายคนมักไม่รู้ว่าพวกเขากำลังตั้งครรภ์และไม่รู้ว่าพวกเขาแท้งลูกหรือไม่ หลังจากที่แพทย์สามารถเห็นการเต้นของหัวใจ ปกติจะอยู่ในช่วงประมาณ 6-8 สัปดาห์ ความเสี่ยงของการแท้งบุตรจะลดลงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ และโอกาสครั้งที่สองของการแท้งลูกนั้นน้อยมาก น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์เสียอีก
แล้วการแทงบุตรคืออะไร ? บ่อยครั้งก็เป็นเพราะความผิดปกติของโครโมโซมที่ป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์พัฒนาตามปกติ และการแท้งบุตรนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยสิ้นเชิง ไม่ใช่เพราะสิ่งที่คุณทำหรือไม่ได้ทำ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยไม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และลดการบริโภคคาเฟอีน โดยตั้งเป้าหมายที่ 200 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า หรือดื่มกาแฟวันละหนึ่งถ้วยเท่านั้น
2. อาการแพ้ท้องเป็นสิ่งไม่ดี ลูกในท้องได้รับสารอาหารไม่พอ
ขอโทษด้วยที่ต้องเปรียบเทียบแบบนี้ แต่ลูกในท้องเป็นเหมือนพยาธิที่ดีมากจริง ๆ เขาจะดูดซับเอาอาหารทั้งหมดจากที่คุณให้มา ดังนั้นแม้ว่าคุณจะมีชีวิตอยู่วัน ๆ กับแครกเกอร์และน้ำผลไม้เท่านั้น คุณก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ถ้าคุณไม่ได้ป่วยจนถึงจุดที่ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง อาการแพ้ท้องจะไม่ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการหรือส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
กินอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ การกินเป็นมื้อเล็ก ๆ มักจะส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารของคุณน้อยกว่าการกินมื้อใหญ่ และการกินบ่อย ๆ จะทำให้คุณไม่หิวมากด้วย ซึ่งก็คือเมื่อผู้หญิงรู้สึกคลื่นไส้มากที่สุด และหากคุณพบว่าตัวเองนั่งพิงโถส้วมอย่างต่อเนื่องเกินไปแล้ว แพทย์อาจจะสั่งยาแก้คลื่นไส้ที่ปลอดภัยต่อเด็กในท้องให้ และผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถที่จะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายหลังจากนั้นประมาณ 16 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญที่ลูกน้อยของคุณจะต้องเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นกัน
3. ฉันอาจจะดื่มหรือกินอะไรที่อันตรายต่อลูกในท้อง
ผู้หญิงทุกวันนี้รู้สึกกดดันอย่างมากที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องเมื่อพวกเขาพบว่ากำลังตั้งครรภ์ นอกจากเรื่องพื้นฐานอย่างการทานอาหารเพื่อสุขภาพและการรับวิตามินก่อนคลอดแล้ว วันนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังกังวลเกี่ยวกับคำถามที่ว่า “อันนี้ปลอดภัยสำหรับลูกไหม” ไปเสียทุกอย่าง แต่การทนทุกข์ทรมานจากการตัดสินใจทุกครั้งจะทำให้คุณเป็นบ้า ซึ่งนั่นไม่จำเป็นเลย แพทย์ควรร่างรายการสิ่งต้องห้ามให้คุณในการฝากครรภ์ครั้งแรก โปรดจำไว้ว่าไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามกฎและแนวทางพวกนั้นได้เป๊ะทุกข้อ
แม้แต่ความเสี่ยงจากสิ่งต่าง ๆ เช่น การกินชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือการทำสีผมในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งแพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ จะมีอยู่น้อยมาก เราก็แค่เพิ่มความระวังนิดหน่อยเท่านั้น
4. ความเครียดจะทำร้ายลูกในท้อง
ไม่ว่าจะเพราะฮอร์โมนที่ผันผวน ความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น และการวางแผนสำหรับต้อนรับทารกน้อย สามารถทำให้ผู้หญิงเครียดได้ทั้งนั้น แต่การไปเครียดกับความเครียดที่มีของคุณนั้นไร้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะการทำงานหนักในวันทำงาน มันจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณเลย
การวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าความเครียดที่ไม่สม่ำเสมอ (ร่างกายของคุณคุ้นเคยกับมันได้เมื่อเวลาผ่านไป) มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์น้อยที่สุด ในขณะที่การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าความเครียดที่รุนแรง เช่น ตกงานหรือมีคนตายในครอบครัว สามารถเพิ่มความเสี่ยงของทารกต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น คลอดก่อนกำหนด ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีที่คุณใช้จัดการกับสถานการณ์
หากคุณรู้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเครียดมาก ลองหาทางแก้ไขและหาวิธีที่จะเรียกคืนความสงบเมื่อสิ้นสุดวันอันวุ่นวาย อาจเขียนในบันทึกประจำวันของคุณเพื่อเป็นการระบาย หรือพูดคุยกับสามีของคุณ หรือเข้านอนเร็วขึ้นสัก 1 ชั่วโมง
5. ลูกอาจมีความผิดปกติ
เช่นเดียวกับคุณแม่หลายคน คุณแทบจะกลั้นหายใจระหว่างการทดสอบก่อนคลอดทุกครั้ง ด้วยหวังว่าผลลัพธ์จะพิสูจน์ว่าลูกของคุณมีสุขภาพที่ดีและกำลังพัฒนาไปอย่างดี โอกาสที่ลูกของคุณจะคลอดออกมาพร้อมความผิดปกติมีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงความผิดปกติที่ร้ายแรงอีกนับพัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งปลีกย่อยและไม่สำคัญ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเล็บเท้าหรือข้อบกพร่องของหัวใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หายไปทันทีหลังคลอดโดยไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพใด ๆ
แม้ว่าการทดสอบการคัดกรองจะแทงผลมาว่าผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีปัญหา ในหลายกรณี การทดสอบที่ตามมายืนยันว่าทุกอย่างยังคงเรียบร้อยดี วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลทารกในครรภ์ คือการรับประทานวิตามินและกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ และรับประทานวิตามินก่อนคลอดทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงของอาการทางสมองและกระดูกสันหลัง นอกจากนี้คุณควรพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับข้อกังวลที่คุณมี
6. จะลดน้ำหนักหลังคลอดไม่ลง
ผู้หญิงตั้งครรภ์แทบทั้งโลกกลัวว่าหลังคลอดจะลดน้ำหนักไม่ลง แน่นอนว่าคงไม่เหมือนดาราดังที่กลับมาตัวทันทีที่พวกเขาถูกปล่อยออกจากห้องคลอด ในความเป็นจริง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงร้อยละ 14-20 จะเก็บน้ำหนักจากการตั้งครรภ์เอาไว้บางส่วน
พยายามทำน้ำหนักให้อยู่ในช่วงน้ำหนักที่แนะนำ นั่นคือประมาณ 11 ถึง 15 กิโลกรัมสำหรับผู้หญิงน้ำหนักปกติ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่น้ำหนักขึ้นมากกว่าน้ำหนักที่แนะนำ มีโอกาสน้อยที่จะเอามันออกในเวลาต่อมา อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการเพิ่มการเผาผลาญและช่วยให้คุณแม่ผอมลง เมื่อแพทย์ของคุณให้ไฟเขียว คุณก็เริ่มออกกำลังกายที่เหมาะสมได้เลย
7. อาจจะเกิดภาวะที่ยุ่งยากอย่างครรภ์เป็นพิษหรือเบาหวาน
ความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษมีเพียง 5-8 เปอร์เซ็นต์ มันพบมากในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 18 ปีหรือมากกว่า 35 ปีเช่นเดียวกับในผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูง แต่ถ้าคุณมีปัจจัยเหล่านี้แพทย์ของคุณจะคอยเฝ้าดูคุณอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มต้น และจะสามารถพบอาการได้ทันทีหากมันเกิดขึ้นจริง ภาวะครรภ์เป็นพิษยังไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาจนกระทั่งช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ และในบางกรณีมันเกิดขึ้นช้ามากจนมีผลเสียต่อสุขภาพเล็กน้อย ไม่มีวิธีใดที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ให้แน่ใจว่าคุณได้รับการตรวจครรภ์ก่อนคลอดเป็นประจำ
ส่วนภาวะเบาหวานตอนตั้งครรภ์ คือสภาวะที่ร่างกายของคุณไม่สามารถแปรรูปน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นมันจึงสะสมอยู่ในกระแสเลือดซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ การเปลี่ยนแปลงอาหารอย่างง่าย ๆ เช่น จำกัดการทานคาร์โบไฮเดรตจากแป้งของคุณ โดยปกติแล้วการทำเช่นนี้จะช่วยคุมโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
8. การมีเซ็กซ์จะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว
หลังจากที่ทารกออกมาแล้ว มันเป็นการยากที่จะจินตนาการว่า “ตรงนั้น” จะกลับเข้าสู่สภาพปกติอย่างไร แต่คุณเพียงแค่ต้องให้เวลากับร่างกายของคุณเพื่อรักษาตัวมันเอง และความต้องการทางเพศที่จะค่อย ๆ ฟื้นฟูขึ้นมาด้วย และพนันได้เลยว่าในช่วง 2-3 เดือน คุณและสามีจะอยากนอนพักผ่อนมากกว่าจะคิดถึงเรื่องนั้นอยู่แล้ว
เมื่อแพทย์ให้ไฟเขียวกับคุณ ให้เริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป มันอาจจะรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวนักใน 2-3 ครั้งแรก แต่ร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ด้วยความสามารถที่เหลือเชื่อในการเยียวยาตัวเอง มีรายว่าผู้หญิงมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ กลับเข้าสู่สภาพปกติภายใน 6 เดือนหลังคลอด และเมื่อช่วงเวลาที่เจ็บปวดผ่านไปและกล้ามเนื้อของคุณกลับคืนสู่ความแข็งแรง คุณแม่คนใหม่จำนวนมากก็จะพบว่าชีวิตเซ็กส์ดีขึ้นหลังจากมีลูก
9. การคลอดเป็นสิ่งที่ยากและเจ็บปวด
ถึงจุดหนึ่งคุณจะเครียดกับการคลอดแน่นอน แต่คุณควรตระหนักว่าผู้หญิงได้ทำสิ่งนี้มาช้านานแล้ว และทุกวันนี้คุณสามารถทำเรื่องอย่างอื่นที่สร้างความเจ็บปวดได้มากมาย ควรอ่านข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการกับความเจ็บปวดระหว่างคลอด เข้าร่วมคลาสเกี่ยวกับการคลอดอย่างลามาซ หรือถามเคล็ดลับจากคนรอบตัวก็ได้ คุณยังสามารถวางแผนการคลอดร่วมกับแพทย์ได้เช่นกัน
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่กังวลไปในทิศทางไหน สิ่งงสำคัญที่สุดคือการมีแพทย์ที่คุณไว้ใจและสามารถพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความกลัวที่คุณมี และความประสงค์ของคุณในห้องคลอดนะคะ ขอให้คุณแม่และลูกน้อยทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th