ตุ่มขาวในปาก พ่อแม่จะดูแลทารกอย่างไร
แม้ว่าทารกจะยังเล็กอยู่ การดูแลสุขภาพของช่องปากก็ยังถือว่าสำคัญ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสังเกตเห็น “ตุ่มขาวในปาก” ของทารกกันมาบ้าง ตุ่มที่ว่านี้คืออะไร มีอันตรายต่อทารกหรือไม่ และควรจะจัดการกับมันอย่างไรดี ติดตามอ่านได้ในบทความวันนี้เลยค่ะ
ตุ่มขาวในปากคืออะไร?
หากลูกน้อยของคุณมีตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองปนขึ้นบนแนวเหงือกหรือบนเพดานของปาก มันก็น่าจะเป็น Epstein pearl หรือตุ่มสีขาวในปาก ซึ่งเป็นซีสต์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Gingival cyst ที่มีในทารกแรกเกิด
Epstein pearl นั้นพบได้ทั่วไป เกิดขึ้นในอัตรา 60 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ของทารกแรกเกิด และยังพบมากในบรรดาทารกที่:
- เกิดจากแม่ที่มีอายุมาก
- คลอดเลยวันครบกำหนดคลอด
- มีน้ำหนักแรกคลอดสูง
แม้ว่า Epstein pearl อาจดูผิดปกติ แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ผู้คนสมัยโบราณในไทยนิยมเรียกตุ่มสีขาวนี้ว่า “หละ” และมีความเชื่อว่าทำให้ทารกไม่ดูดนม
Epstein pearl มีอาการอย่างไร?
Epstein pearl จะไม่ทำให้ทารกเกิดอาการใด ๆ เลย คุณอาจสังเกตเห็นพวกมันตามเหงือกหรือเพดานปากของลูกน้อย Epstein pearl มีลักษณะเหมือนก้อนกลมสีขาวเหลืองขนาดประมาณ 1-3 มิลลิเมตร บางครั้งพวกมันก็ดูเหมือนกับฟันที่กำลังจะขึ้นมา
อะไรเป็นสาเหตุของ Epstein pearl?
ตุ่มสีขาวในปากพวกนี้เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังของปากเด็กติดค้างในระหว่างกระบวนการพัฒนา ในขณะที่ปากยังคงพัฒนาและฟอร์มรูปร่าง ผิวที่ติดอยู่นี้สามารถเติมเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในผิวหนัง เคราตินคือสิ่งที่อยู่ภายในและทำให้มองเห็นเป็นตุ่มสีขาว
การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นในครรภ์และไม่สามารถป้องกันได้ หากลูกของคุณเกิดมาพร้อมกับตุ่มพวกนี้ มันก็ไม่ได้เป็นสัญญาณของอาการอะไร หรือสิ่งที่คุณเคยทำหรือไม่ได้ทำในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์
จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรือไม่?
ตุ่มสีขาวนั้นไม่เป็นอันตราย แต่หากลูกน้อยของคุณแสดงอาการปวดหรือหงุดหงิดคุณควรปรึกษาแพทย์ เพราะว่าตุ่มสีขาวนั้นพบได้บ่อยมาก ดังนั้นแพทย์จึงสามารถระบุการผดขึ้นมาของตุ่มหล่านี้ได้ตามลักษณะที่ปรากฏ
แพทย์อาจตรวจปากเพื่อตรวจหาสัญญาณของฟันแถมที่ไม่มีรากฟัน (Natal teeth) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของลูกน้อย ฟันชนิดนี้คือฟันที่เกิดมาพร้อมกับเด็กบางคน พวกมันค่อนข้างหายาก แต่มันจะดูเหมือนกับตุ่มสีขาวบนเหงือก
บางกรณีอาจจะเป็นการติดเชื้อยีสต์ชนิดหนึ่ง ที่อาจทำให้เกิดการตุ่มสีขาวขนาดเล็กหรือการเคลือบด้วยสีขาวในปากของทารก แพทย์จึงจะตรวจหาสาเหตุของตุ่มสีขาวที่พบกันต่อไป
ตุ่มสีขาวในปากนี้มีแนวโน้มที่จะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด แต่อาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือน หากคุณยังคงสังเกตเห็นพวกมันอยู่หลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ และดูเหมือนว่าพวกมันจะไม่เล็กลงบ้างเลย ก็ให้นัดพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าตุ่มสีขาวเหล่านั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น
รักษาให้หายได้หรือไม่?
ตุ่มสีขาวพวกนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ในหลายกรณี พวกมันจะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์หลังคลอด แรงเสียดทานในปากของลูกน้อยจากการดูดนมจากเต้า การป้อนจากขวดนม หรือการใช้จุกนมหลอก จะช่วยให้ตุ่มเหล่านี้เกิดการสลายและยุบลงอย่างรวดเร็ว
สมัยโบราณคนนิยมรักษาโดยการขยี้ออกหรือใช้เข็มบ่งออก ซึ่งการใช้เข็มอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้ หากเข็มที่ใช้ไม่สะอาด หรือการพาไปกวาดยาเพราะเชื่อว่าจะช่วยกำจัดเชื่อโรคได้ก็ไม่ควรทำเช่นกัน
ผู้ใหญ่สามารถเป็นแบบเดียวกันได้หรือไม่?
ตุ่มสีขาวในปากจะเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่สามารถพัฒนาซีสต์ในช่องปากที่มีลักษณะคล้ายกับตุ่มสีขาวพวกนี้ได้ ซีสต์ดังกล่าวในผู้ใหญ่มักจะอยู่ใกล้กับรากของฟันที่ตายหรือถูกฝังอยู่ พวกมันมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ เว้นแต่ว่าพวกมันจะติดเชื้อ เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้น คุณอาจรู้สึกเจ็บปวดและบวมรอบซีสต์ก้อนนั้น
ซีสต์ในช่องปากบางครั้งเติบโตขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป หากพวกมันมีขนาดใหญ่พอ พวกมันอาจสร้างแรงกดดันต่อฟันของคุณ ซึ่งนำไปสู่ความอ่อนแอของขากรรไกร แต่ซีสต์เหล่านี้สามารถกำจัดออกได้โดยผ่านขั้นตอนการผ่าตัด แพทย์ยังสามารถกำจัดเนื้อเยื่อรากฟันที่ตายแล้วออกไปด้วย ซึ่งมันจะช่วยลดโอกาสที่ซีสต์จะกลับมา
ตุ่มสีขาวในปากาอาจดูน่ากลัวสำหรับพ่อแม่มือใหม่ แต่พวกมันไม่เป็นอันตราย พวกมันมักจะหายไปเองหนึ่งหรือสองสัปดาห์หลังคลอด และก็ไม่ควรทำให้เกิดความเจ็บปวด ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณแสดงอาการไม่สบาย อาจมีสิ่งอื่นเกิดขึ้นมากกว่า ในกรณีนี้คุณควรติดต่อแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาทันที
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th