Site icon Motherhood.co.th Blog

พังผืดใต้ลิ้น ปัญหาของทารกน้อยที่มักถูกมองข้าม

ปัญหาพังผืดใต้ลิ้น

พ่อแม่หลายคนไม่เคยเอะใจว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น

พังผืดใต้ลิ้น ปัญหาของทารกน้อยที่มักถูกมองข้าม

สำหรับทารกที่คลอดใหม่ ๆ นั้น หากไม่ได้มีปัญหาสุขภาพอื่นใด แพทย์ก็จะให้เข้าเต้าของแม่เพื่อกินนมแม่ได้ทันที แต่ในขณะกินนมนั้น เราอาจจะพบปัญหา พังผืดใต้ลิ้น” ที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้ หากไม่ได้สังเกตและปล่อยไว้ ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อทารกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งสร้างปัญหาต่อตัวคุณแม่ด้วย มาติดตามกันนะคะว่าเรื่องของพังผืดใต้ลิ้นจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรได้บ้าง

การมีพังผืดใต้ลิ้นทำให้มีปัญหาในการดูดนม

พังผืดใต้ลิ้นคืออะไร?

พังผืดใต้ลิ้น (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) คือเยื่อบาง ๆ ที่ยึดบริเวณด้านล่างของโคนลิ้นติดไว้กับพื้นล่างของช่องปาก ใกล้ ๆ บริเวณนี้จะมีกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และระบบน้ำเหลืองที่ส่งไปเลี้ยงยังลิ้น ถ้าเยื่อดังกล่าวมีความหนาหรือมีขนาดที่สั้นเกินไป จะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลิ้นทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้การดูดนมแม่เป็นไปได้ยากขึ้น เพราะการดูดนมแม่ต้องใช้ลิ้นแลบออกมาและรีดน้ำนมจากบริเวณลานนมเข้าปาก เมื่อทารกบางรายดูดนมแม่ตามปกติไม่ได้ก็จะใช้เหงือกในการดูดนมแทน ซึ่งจะทำให้แม่เกิดความเจ็บปวด หัวนมแตกและเป็นอุปสรรคต่อการให้นมแก่ทารกในครั้งต่อไป ในส่วนของทารกเอง เมื่อเขาดูดนมแม่ลำบาก จะส่งผลให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้น ในขณะที่ทารกบางรายก็อาจจะขอดูดนมตลอดเวลาเพราะได้น้ำนมไม่พอ ก็ยิ่งทำให้แม่มีปัญหาหัวนมแตกและเจ็บมากขึ้นไปอีก

อาการแบบนี้ แปลว่าทารกมีพังผืดใต้ลิ้น

อาการในส่วนของคุณแม่

เราจะเห็นได้ว่าการรณรงค์เรื่องนมแม่ทำให้เราพบปัญหาของภาวะพังผืดใต้ลิ้นได้เร็วขึ้น มิเช่นนั้นแล้วเราอาจจะไม่รู้ว่าลูกกำลังมีปัญหา จนถึงเวลาที่เด็กเริ่มหัดพูด จะเกิดปัญหาพูดไม่ชัด ไม่ว่าตัว ร.เรือ ล.ลิง และตัวควบกล้ำต่าง ๆ เพราะเด็กกระดกลิ้นได้ไม่ค่อยดี

เด็กที่มีพังผืดใต้ลิ้นอาจจะมีปลายลิ้นหยักคล้ายหัวใจ

จำเป็นต้องรักษาหรือไม่?

การรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้นในอดีตนิยมใช้การผ่าตัด ซึ่งทารกทุกรายจำเป็นต้องดมยาสลบ พ่อแม่ของทารกน้อยจึงเกิดความวิตกกังวลกันเป็นอย่างมาก แม้ทางการแพทย์เราจะมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็กทารกก็ตาม แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ อีกทั้งทารกจะต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลต่ออย่างน้อย 2-3 วัน

ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด โดยในทารกต่ำกว่า 4 เดือนหรือฟันยังไม่ขึ้นนั้นสามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ ทารกไม่จำเป็นต้องงดนมก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดเพียง 5-10 นาที หลังผ่าตัดทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันทีและสามารถกลับบ้านได้เลย แผลหลังผ่าตัดไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาด้วยวิธีการเฉพาะ แผลผ่าตัดสามารถหายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์ และพบภาวะติดเชื้อที่แผลน้อยมาก จากนั้นเมื่อลูกถึงวัยที่ต้องหัดพูด หัดออกเสียง ก็จะสามารถทำได้ดีเป็นไปตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย

แต่เนื่องจากพังผืดเกิดในทารกแรกเกิดมีแนวโน้มที่จะยืดออกเองได้ จึงยังไม่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนในการรักษาขณะที่เป็นทารกแรกเกิด หากพบว่าทารกยังไม่มีปัญหาในการดูดนมแม่ แพทย์ก็จะทำการนัดมาตรวจเป็นระยะ หากพังผืดสามารถยืดออกได้เองก็ไม่ต้องทำการรักษา หากไม่ยืดออกก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

การรักษาสมัยนี้ไม่ต้องวางยาสลบแล้ว กลับบ้านได้เลย

ผ่าตัดแล้วลิ้นของลูกจะเป็นอย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยว่าเมื่อผ่าตัดแล้วลิ้นของลูกจะยาวขึ้นได้หรือไม่ ความเป็นจริงคือไม่ แต่จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นเป็นไปตามปกติ ไม่ติดอยู่กับพื้นล่างของช่องปากเหมือนแต่ก่อน เพราะเป็นการตัดเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากออกให้พอเหมาะ

พังผืดใต้ลิ้นกับปัญหาในการพูดและการออกเสียง

นอกจากปัญหาการดูดนมแม่ที่จะเกิดขึ้นกับทารกที่มีพังผืดใต้ลิ้นนั้น ในระยะยาวหากทารกเริ่มโตขึ้นจนถึงวัยหัดพูดโดยที่ยังมีพังผืดยึดอยู่ใต้ลิ้นและยึดเลยมาถึงบริเวณ บางรายอาจจะพบปัญหาพูดไม่ได้ พูดช้า หรือพูดไม่ชัด โดยเฉพาะกับการออกเสียงตัวควบกล้ำ ร.เรือ ล.ลิง อาจจะส่งผลถึงการเข้าสังคมกับเพื่อนหรือเกิดการถูกล้อเลียนได้

ปัญหาเรื่องพังผืดใต้ลิ้นคุณพ่อคุณแม่อยากชะล่าใจนะคะ เพราะมันส่งผลต่อการได้รับสารอาหารของลูก หากเขาดูดนมได้น้อย น้ำหนักตัวก็น้อยตามไปด้วย อีกทั้งหากปล่อยไว้นานก็จะมีปัญหาในการออกเสียงด้วยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th